ใครคือเจ้าของดวงจันทร์

รูปธงชาติที่เรียกได้ว่า เป็นธงชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุด น่าจะเป็นรูปธงชาติสหรัฐฯ ที่ปักอยู่บนดวงจันทร์ และมี บัซ อัลดริน ยืนอยู่ข้างๆ สำหรับใครที่รู้เรื่องประวัติศาสตร์โลก คงจะทราบว่า ไม่เกิน 100 ปีมานี้ การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งปักธงชาติของตัวเองไว้ในดินแดนหนึ่งนั้น เป็นการประกาศว่าดินแดนส่วนนั้นเป็นของ ประเทศที่เป็นเจ้าของธงชาติผืนนั้น ดังนั้นแล้ว ประเทศสหรัฐฯ ได้ขยายอาณานิคมบนดวงจันทร์เป็นที่เรียบร้อยแล้วใช่หรือไม่ ทุกครั้งที่ผู้คนรู้ว่าฉันเป็นทนายฝึกหัด และสอนเกี่ยวกับ กฎหมายทางอวกาศ คำถามหนึ่งที่ฉันมักจะได้ยินบ่อยก็คือ บอกหน่อยซิ ว่าใครเป็นเจ้าของดวงจันทร์ แน่นอนว่า การอ้างความเป็นเจ้าของ

ดินแดนส่วนใหม่นั้นเป็นดินแดนของชาวยุโรป ซึ่งรวมถึงบางประเทศที่ไม่ได้อยู่ในยุโรปด้วย(อเมริกา) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ โปรตุเกส สเปน ดัตช์ ฝรั่งเศส และอังกฤษ ที่ได้สร้างอาณานิคมอย่างยิ่งใหญ่ การที่ประเทศเหล่านั้นได้ไปปักธงในที่ต่างๆ เป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนและรวดเร็วว่า ดินแดนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของชาตินั้นๆ

อย่างไรก็ตาม นักบินอวกาศย่อมมีหน้าที่ที่สำคัญมากกว่า การที่จะคำนึงถึงกฎการขยายอาณานิคมเหล่านั้น โชคดีที่ปัญหานี้ได้ถูกแก้ไข ก่อนที่จะมีภารกิจนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ที่เริ่มมีการพิชิตอวกาศ สหรัฐฯคิดมาก่อนแล้วว่า ถ้าคนทั่วโลกได้เห็นธงชาติสหรัฐฯบนดวงจันทร์ อาจจะมีคำถามต่างๆเกิดขึ้น ดังนั้นแล้ว คำตอบง่ายๆที่ว่า สหรัฐฯเป็นเจ้าของดวงจันทร์หรือไม่นั้น ก็คือ ไม่ใช่ หรือแม้กระทั่งนาซ่าเองก็ไม่ได้เป็นเจ้าของดวงจันทร์เช่นกัน

คำตอบนี้ได้มีขึ้นตั้งแต่ ปี1967 ในสนธิสัญญาเกี่ยวกับอวกาศ ที่จัดทำขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และโซเวียต รวมถึงชาติอื่นๆด้วย สองประเทศมหาอำนาจในขณะนั้นได้เห็นร่วมกันว่า การล่าอาณานิคมที่มีขึ้นบนโลกนั้น นำมาซึ่งความทรมานและความขัดแย้งต่างๆมากมาย ดังนั้น พวกเขาจึงมีความตั้งใจที่จะไม่ทำให้ความโหดร้ายดังกล่าวเกิดขึ้นอีกครั้งจากการขึ้นไปเยือนดวงจันทร์ จากความเห็นนี้ จึงทำให้ดวงจันทร์กลายเป็น “ทรัพย์สินร่วมของประชาคมโลก” ที่ทุกประเทศสามารถเข้าถึงได้

ข้อตกลงนี้ได้เกิดขึ้นสองปีก่อนที่จะมีการไปเหยียบดวงจันทร์ ดังนั้นการที่ธงชาติสหรัฐฯ อยู่บนดวงจันทร์จึงไม่ได้เป็นการแสดงออกถึงอำนาจอธิปไตยของสหรัฐฯ แต่ต้องยกเครดิตให้กับวิศวกรและคนที่จ่ายภาษีในอเมริกาที่ทำให้อาร์มสตรอง อัลดริน และนักบินอีกท่านหนึ่ง ไมเคิล คอลลิน ที่ทำให้ภารกิจนี้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้พวกเขายังกล่าวว่า การมาในครั้งนี้เพื่อมนุษยชาติ อีกหนึ่งคำพูดที่มีชื่อเสียง จากนีล อาร์มสตรอง คือ “ก้าวเล็กๆของมนุษยชาติ” ไม่ใช่ ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของอเมริกา แต่เป็นของ มนุษยชาติ

ยิ่งไปกว่านั้นสหรัฐฯและนาซ่าได้มีข้อตกลงร่วมกัน ในการแชร์ตัวอย่างก้อนหินที่เก็บมาจากดวงจันทร์ และตัวอย่างดินให้กับประเทศอื่นๆ มีทั้งที่ให้ไปกับทางกระทรวงต่างประเทศของประเทศนั้นๆหรืออนุญาติให้นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก สามารถมาพูดคุยและวิเคราะห์กันได้ ซึ่งในช่วงสงครามเย็น ก็ยังคงอนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์จากโซเวียตมีสิทธิเหล่านี้

ดังนั้น ก็ถือว่าปิดคดีได้แล้ว ไม่ต้องมีทนายสำหรับอวกาศ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับดวงจันทร์ เพราะว่าสถานะทางกฎหมายแล้ว ดวงจันทร์ถือเป็น ทรัพย์สินรวมของประชาคมโลก สนธิสัญญาเกี่ยวกับอวกาศนอกโลก ก็ได้ถูกปล่อยเอาไว้ ไม่ได้มีรายละเอียดเพิ่มเติม และเนื่องจาก ตั้งแต่ปี 1972 ก็ไม่ได้มีมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์อีกเลย สิทธิต่างๆก็เลยเป็นเพียงแค่ทางทฤษฎีเท่านั้น

จนกระทั่ง สองสามปีที่ผ่านมา เมื่อมีหลายๆโครงการที่จะกลับไปดวงจันทร์ อย่างน้อยก็สองบริษัทในอเมริกา ที่มีทุนหนา และมีแพลนที่จะขุดหาทรัพยากรแร่ธาตุจากดาวเคราะห์น้อย เป็นที่น่าสนใจ มีโน้ตจากกรีก กล่าวว่า ภายใต้สนธิสัญญาทางอวกาศ ที่เกี่ยวกับดวงจันทร์รวมถึงสิ่งอื่นๆ ในอวกาศ เช่น ดาวเคราะห์น้อย ว่าทุกอย่างนั้นอยู่ในตะกร้าเดียวกัน ที่ไม่มีสิ่งไหนเป็นทรัพย์สินหรืออยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐใดรัฐหนึ่ง ข้อห้ามที่สำคัญอันหนึ่ง จากเนื้อหาภายในสนธิสัญญาในการครอบครองพื้นที่ใหม่คือ การปักธงชาติ ที่ไม่ได้หมายถึงการแสวงประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติ บนดวงจันทร์และดาวอื่นๆ ได้มีการโต้เถียงในประเด็นนี้ ซึ่งยังไม่มีข้อตกลงออกมา

จากผลของการถกเถียงกันนั้น สรุปได้ถึงสองทางออกหลักๆ คำถามแรกคือ คุณต้องการที่จะทำการขุดดาวเคราะห์จริงๆหรือ ประเทศอย่างสหรัฐฯ แบะลักเซมเบิร์ก มีความเห็นตรงกันว่า ดวงจันทร์เป็นทรัพย์สินของประชาคมโลก ซึ่งหมายความว่า แต่ละประเทศสามารถที่จะให้นักธุรกิจเอกชนที่มีใบอนุญาต สามารถทำการขุดและหาผลประโยชน์ได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็คงเหมือนกับกฎหมายทางทะเล ที่กล่าวว่า ไม่ได้เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง ประชากรไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด สามารถที่จะตกปลาได้ และถ้าใครตกปลาได้ ไม่ว่าจะอยู่ในน่านน้ำได้ ผู้ที่ตกได้ ก็มีสิทธิขาด ถือว่าเป็นเจ้าของปลานั้น

ในขณะเดียวกัน รัสเซีย บราซิล และเบลเยี่ยมมีความเห็นตรงกันข้าม พวกเขามองว่าดวงจันทร์ และดาวอื่นๆนั้น เป็นทรัพย์สินของมนุษย์ทุกคน ดังนั้นผลประโยชน์ต่างๆที่ได้มา ก็ควรที่จะถูกแบ่งให้ทุกคน หรือไม่ก็ควรมีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมา เพื่อที่จะแบ่งผลประโยชน์ให้กับประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างเป็นธรรม ก็คือไม่ว่าใครจะเป็นคนขุด ได้ผลประโยชน์มาอย่างไร ก็ควรแบ่งให้กับประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างเท่ากัน เป็นยังไงกันบ้างคะเพื่อนๆ ทีนี้รู้กันแล้วหรือยังว่าใครเป็นเจ้าของดวงจันทร์ สุดท้ายนี้ หากถูกใจคลิปของพวกเราอย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะคะ