ยาน Parker Solar Probe พบลมสุริยะตีกลับหาดวงอาทิตย์เป็นครั้งแรก

NASA ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการศึกษาดวงอาทิตย์ จึงทำให้เกิดโครงการของยาน Parker Solar Probe ขึ้นตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2009 โดยใช้งบประมาณสูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาสหรัฐ ตีเป็นเงินไทยประมาณเกือบ 5 หมื่นล้านบาท ยาน Parker Solor Probe มีขนาดเทียบเท่ารถยนตร์คันหนึ่ง มีน้ำหนักเพียง 658 กิโลกรัม มีภารกิจคือ การเข้าไปสำรวจชั้นบรรยากาศรอบนอกของดวงอาทิตย์ ในระยะ 6 ล้านกิโลเมตร เเละทำการเข้าใกล้พิ้นผิวให้มากที่สุด โดยจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถึง 700,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีกำหนดการในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ นานถึง 7 ปีเพื่อศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ดวงอาทิตย์ เเละ ลมสุริยะให้มากขึ้น ล่าสุดได้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ยาน Parker solar probe ส่งกลับมาถึงปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นเกี่ยวกับลมสุริยะ

Parker Solar Probe

ลมสุริยะ คือกลุ่มอนุภาคที่วิ่งออกมาจากดวงอาทิตย์ เเละอนุภาคเหล่านี้จะเป็นอนุภาคที่มีประจุ จึงทำให้มันวิ่งตาม เส้นเเรงเเม่เหล็ก โดยสิ่งที่กำหนดให้อนุภาคนี้วิ่งออกมาจากดวงอาทิตย์ก็คือ Magnetic Field Line ที่กล่าวมาข้างต้น คือสิ่งที่เรารับรู้กันมาตลอด ถือเป็นเรื่องปกติเกี่ยวกับลมสุริยะ เเต่จากข้อมูลล่าสุดจากยาน Parker Solar Probe ได้เผยให้เราเห็นถึงปรากฎการณ์ใหม่ๆ โดยปกติเเล้ว ไม่ว่าอย่างไร อนุภาคที่ไหลไปตามเส้นเเรงเเม่เหล็ก มันก็ควรจะไหลไปในทิศทางตรงกันข้ามกับเเหล่งกำเนิด ซึ่งก็คือดวงอาทิตย์ แต่ทีมนักฟิสิกส์จาก University of California, Berkeley ได้ตีพิมพ์ Paper 3 ตัวลงในวารสาร Nature พูดถึงพฤติกรรมของเส้นแรงแม่เหล็กที่ได้จากข้อมูลของยาน Parker Solar Probe

ทั้งหมดนี้ เป็นการนำข้อมูล จากกการที่ยานได้บินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในช่วงปี 2018 ซึ่งในขณะนั้นดวงอาทิตย์ยังปล่อยอนุภาคต่างๆ ออกมาน้อย ยาน parker solar probe ได้ใช้อุปกรณ์ magnetometer บนยานสัมผัสเเละสร้างเป็นแบบจำลองของเส้นเเรงเเม่เหล็กในระยะใกล้ดวงอาทิตย์ พบว่ามีเส้นเเรงที่พาเอาอนุภาคลมสุริยะ ตีกลับเข้าไป 180 องศา จากนั้นก็ค่อยพัดกลับออกมา ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

พฤติกรรมนี้เเตกต่างจากการปั่นป่วนของเส้นเเรงเเม่เเหล็ก เเบบ Turbulence ปกติ เพราะเราจะทราบกันอยู่เเล้วว่าอัตราการไหลของลมสุริยะเเต่ละจุดไม่เท่ากัน เมื่อลมสุริยะเจอกับสนามเเม่เหล็กของดาวอื่นๆ ก็จะเกิดการปั่นป่วน เเต่การที่อยู่ดีๆ เส้นเเรงเเม่เหล็กจะตีกลับ 180 องศานั้น เป็นเรื่องที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น

Parker Solar Probe

ทฤษฎีที่ดีที่สุดที่เรามีในการอธิบายเรื่องนี้ก็คือ Magnetohydrodynamics ของ Hannes Alfvén ซึ่งนำกลศาสตร์ของไหลมาอธิบาย ปรากฏการณ์การเกิด Switchbacks นี้ จึงน่าจะสอดคล้องกับพฤติกรรมในเชิง Magnetohydrodynamics นักฟิสิกส์ได้ตั้งความหวังว่าในปี 2020 นี้ ยาน Parker Solar Probe จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการที่ตัวยานยิ่งอยู่ใกล้ โอกาสที่จะได้ศึกษาปรากฏการณ์ Switchbacks ของเส้นแรงแม่เหล็กนี้ก็จะเยอะขึ้นทำให้เราเข้าใจมันมากขึ้นว่าเกิดจากอะไรกันแน่ และสุดท้ายเราก็จะสามารถเข้าใจพฤติกรรมของมันมากขึ้น

นอกเหนือจากการที่ยาน parker solar probe ได้พบปรากฏการณ์ Switchbacks ที่กล่าวถึงแล้วนั้น ยังมีอีกหลาย ๆ การค้นพบที่ยาน Parker Solar Probe ได้ส่งข้อมูลมา เช่น Zodiacal Light แสงที่เกิดจากฝุ่นในระบบสุริยะนั้นถ้าอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาเกินไปจะไม่ปรากฏเพราะความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้อนุภาคของฝุ่นพวกนี้เปลี่ยนสถานะไปหมด ซึ่งระยะห่างที่จะไม่มีฝุ่นนั้นก็คือประมาณ 3.5 ล้านไมล์จากดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์คือ ดาวฤกษ์ดวงเดียวที่มนุษย์เราได้ศึกษาอย่างใกล้ชิด จากการส่งยานทั้งสองไปสำรวจ ทั้งยาน parker solar probe เเละ ยาน Voyager2 ที่ตอนนี้ได้เดินทางไปจนถึงสุดขอบระบบสุริยะเเล้ว ข้อมูลที่ยานทั้งสองได้ส่งกับมานั้น จะมีส่วนช่วยสำคัญอย่างมาก ในการที่มนุษย์เรา จะสามารถเข้าใจดวงอาทิตย์ ศูนย์กลางของระบบสุริยะที่เราอาศัยอยู่ได้ ถ้าเพื่อนๆ ชอบบทความดีดีอย่างนี้ ก็อย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะครับ