เราอาจจะได้ยินหรือเห็นภาพเทคโนโลยีขนส่งบางส่วนที่ชื่อว่า “Hyperloop หรือ ไฮเปอร์ลูป” โดยเป็นเทคโนโลยีการขนส่งที่เริ่มมีการพูดถึงเป็นวงกว้างตั้งแต่มีการคิดออกแบบมา รวมทั้งเทคโนโลยีนี้ยังถูกเอาไปใส่ในภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่างเรื่อง King Man
.
ตั้งแต่ปี 2013 ที่เริ่มมีการพูดถึงเจ้าไฮเปอร์ลูปนี้มาจนถึงตอนนี้ปี 2020 ความสำเร็จของเจ้าระบบขนส่งความเร็วสูงเริ่มใกล้เข้ามาแล้วทุกทีๆ เมื่อเริ่มการทดสอบระบบขนส่งที่มีคนโดยสารไปด้วยเป็นครั้งแรกของโลก แต่จะเป็นอย่างไร eduHUB จะพาเพื่อนๆมาติดตามดูกัน แต่ก่อนจะไปรับฟังเรื่องราวสนุกๆ ในวันนี้ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก Chatbee แอพหาคนรู้ใจใกล้คุณ โหลดเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
.
ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับเจ้า Hyperloop หรือ ไฮเปอร์ลูป กันก่อนดีกว่า โดยเจ้า ไฮเปอร์ลูป คือเทคโนโลยีการขนส่งด้วยการเดินทางผ่านท่อสูญญากาศ โดยจะใช้ Pod หรือ แคปซูล เป็นพาหนะ และจะขับเคลื่อนด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าในการเดินทางด้วยความเร็วสูง โดยคาดการณ์ว่าสามารถเดินทางได้ 1,200 กิโลเมตร / ชั่วโมง
.
ผู้ริเริ่มทฤษฏีมีชือว่า Elon Musk หรือที่คนไทยรู้จักในนาม Iron Man ในโลกความเป็นจริง และทฤษฏีของเขาเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2013 โดยเขาตั้งเป้าว่าจะพัฒนาระบบนี้ให้มีความเร็วสูงสุดที่ 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อย่นระยะเวลาการเดินทางในอนาคต
.
โดยเขาพัฒนาแนวคิดมาจากรถไฟแม็กเลฟ รถไฟความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในการสร้างแรงยกตัวให้รถไฟวิ่งไปโดยที่ลอยอยู่เหนือรางแทนการใช้ล้อ ในทางทฤษฎีนี้จะช่วยให้ผู้คนสามารถเดินทางระหว่างสนามบินฮีทโธรว์และสนามบินแกตวิคในกรุงลอนดอน ระยะทาง 72.42 กิโลเมตร ภายในเวลาเพียง 4 นาที
.
อีกทั้งเขาไม่คิดที่จะหวงไอเดียเลย ซึ่งทำให้ผู้ที่สนใจเจ้า ไฮเปอร์ลูป นี้ สามารถนำทฤษฏีนี้ไปต่อยอดได้โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์อีกด้วย และ Elon Musk ได้จัดตั้งบริษัทของเขาขึ้นมา มีชื่อว่า The Boring Company รวมทั้งยังมีบริษัทอื่นๆ ที่สนใจนำทฤษฏีของเขาไปต่อยอด นั่นก็คือ บริษัท Hyperloop Transportation Technology และบริษัท Virgin Hyperloop one ซึ่ง 3 บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ได้ร่วมมือกันพัฒนาไฮเปอร์ลูปนี้อย่างเป็นทางการ
.
ในปี 2020 นี้ บริษัท Virgin Hyperloop one ที่ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2014 จนถึงตอนนี้ได้ประสบความสำเร็จในการทดลองการขนส่งโดยมีผู้โดยสารในแคปซูล หรือเรียกอีกแบบคือ Pod (พ็อด) เป็นครั้งแรกของโลก
.
โดยการทดลองล่าสุดที่ในทะเลทรายรัฐเนวาดา เป็นการใช้พ็อดวิ่งในอุโมงสูญญากาศด้วยความเร็วสูงที่มีผู้โดยสารทั้งหมดสองคนที่เป็นพนักงานของบริษัท ได้แก่ ซารา ลุคยัน และ จอช เกียเกล ผลจากการทดสอบคือ สามารถเดินทางไปตามทางวิ่งยาว 500 เมตร โดยใช้เวลา 15 วินาที ด้วยความเร็วสูงสุด 172 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
.
ซารายังได้บรรยายถึงความรู้สึกหลังการทดสอบว่า “รู้สึกตื่นเต้นทั้งกายและใจ” และจอช ยังได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น และ ไม่รู้สึกเหมือนการนั่งรถไฟเหาะตีลังกาเลย แม้ในช่วงการเร่งความเร็วจะรู้สึกถึงพลังมากกว่าการเดินทางไปตามทางวิ่งที่ยาวกว่า แต่ทั้งสองก็ไม่ได้รู้สึกไม่สบายหรือคลื่นไส้แต่อย่างใด
.
นอกจากนี้ทางบริษัทกำลังสำรวจความเป็นไปได้ในการสร้างเทคโนโลยีนี้ในประเทศต่างๆ เช่น การเดินทางไปมาระหว่างนครดูไบกับกรุงอาบูดาบี ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยใช้เวลาเพียง 12 นาที เมื่อเทียบกับการขนส่งมวลชนที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางกว่า 1 ชั่วโมง
.
นอกจากนี้ จอร์จ จีเจิล รองประธานอาวุโสฝ่ายวิศวกรรมของไฮเปอร์ลูปวัน ได้พูดถึงข้อกังวลเรื่องผลกระทบต่อร่างกายของผู้โดยสาร ไฮเปอร์ลูปที่จะบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าด้วยความเร็ว 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นความเร็วกว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 747 ถึง 30%
.
เขาได้กล่าวไว้ว่า “ประสบการณ์ของผู้โดยสารจะไม่แตกต่างไปจากการเดินทางด้วยเครื่องบินทั่วไป ไม่มีการคลื่นไส้อาเจียน หรือแม้กระทั่งคนชราหรือสัตว์เลี้ยงก็สามารถเดินทางได้” และ ลี สโตน นักวิจัยจากนาซาอาเมสกล่าวว่าการเดินทางด้วยความเร็ว 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเราสามารถแม้กระทั่งดื่มเครื่องดื่มหรือทำอะไรก็ได้ที่เราต้องการ เปรียบเสมือนกับการอยู่บนรถบัส
.
ซึ่งจากการวิเคราะห์ของนักวิชาการส่วนใหญ่ ได้วิเคราะห์ไว้ว่า การที่จะสร้างระบบไฮเปอร์ลูปนั้นจะต้องคำนึงถึงอะไรหลายๆอย่าง ทั้งเส้นทางการวางอุโมงและการขออนุญาติต่างๆเพื่อที่จะสร้างเครือข่ายอุโมงขนาดใหญ่สำหรับเส้นทางต่างๆ
.
ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนเตือนว่าเร่งความเร็วของแคปซูลอาจทำให้เกิดแรง G ในระดับที่ทำให้ผู้โดยสารเป็นอันตรายได้ แม้ว่าบริษัทผู้ผลิตไฮเปอร์ลูปจะมั่นใจว่าการเดินทางจะปลอดภัยและให้ความรู้สึกไม่ต่างจากการขึ้นลิฟต์หรือเครื่องบิน
.
ยังไงก็ตามเจ้าไฮเปอร์ลูปนี้ก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำยุคก็จริง ๆและระบบทั้งหมดก็สามารถที่จะมีแหล่งผลิตที่ไหนก็ได้บนโลก แต่ในตอนนี้ถึงแม้ความสำเร็จใกล้เข้ามาแล้ว แต่เจ้าไฮเปอร์ลูปในยังคงรับผู้โดยสารได้จำนวนน้อยและยังมีข้อจำกัดในการรับผู้โดยสารจำนวนมากอยู่
.
จึงทำให้คนบางส่วนมองว่า ทฤษฎีนี้อาจจะไม่คุ้มในเชิงธุรกิจ และอาจจะเป็นเทคโนโลยีที่รองรับเฉพาะคนที่จ่ายไหวเท่านั้น แต่ในท้ายที่สุดแล้วเจ้าไฮเปอร์ลูปก็ยังคงเป็นการเดินทางในอนาคตอย่างหนึ่ง ซึ่งยังอยู่ในช่วงศึกษาและคิดค้น เมื่อสำเร็จ ไฮเปอร์ลูปจะสามารถทำให้การเดินทางเราอาจจะสะดวกสบายรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และอาจจะเป็นอีกหนึ่งการขนส่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในอนาคตเลยก็ว่าได้
.
สำหรับเรื่องราวของการทดสอบใช้ไฮเปอร์ลูปครั้งแรกของโลกก็มีเพียงเท่านี้ ก่อนจะไป ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก Chatbee แอพหาคนรู้ใจใกล้คุณ โหลดเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป