หลุมดำหมุนด้วยความเร็วแสงอาจส่งผลถึงอวกาศ

เพื่อนๆเชื่อไหมว่าในจักรวาลเรานั้นมีขุมพลังงานปริศนาที่เรียกว่า “หลุมดำ” โดยล่าสุดมีการตรวจพบหลุมดำในระบบดาวคู่ 4U 1630-47 ที่หมุนตัวด้วยความเร็วใกล้เคียงกับอัตราความเร็วแสง ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้พบโดยดาวเทียม “แอสโทรแซต” ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราขององค์การนาซา
.

ซึ่งถือว่าเป็นหลุมดำที่มีความเร็วสูงแห่งล่าสุดจากที่เคยค้นพบมา วันนี้พวกเรา eduHUB จะพาเพื่อนมารู้จักกับหลุมดำที่เพิ่งค้นพบนี้ แต่ก่อนจะไปรับฟังเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก Chatbee แอพหาคนรู้ใจใกล้คุณ โหลดเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
.

เพื่อนๆหลายคนอาจจะยังมีคำถามมากมายเกี่ยวกับหลุมดำ งั้นเรามาทำความรู้จัก “หลุมดำ” หกันก่อนดีกว่า จริงๆแล้วหลุมดำก็คือ บริเวณของอวกาศและเวลา ที่อยู่ภายใต้ของแรงโน้มถ่วงมหาศาล ที่ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้กระทั่งแสง ทำให้เราไม่สามารถที่จะมองเห็นใจกลางของหลุมดำได้
.

แต่อย่างไรก็ตามเราจะสามารถเห็นมวลและแสงที่วนอยู่รอบๆหลุมดำได้ ในบริเวณหลุมดำจะมีพื้นที่ที่เรียกว่า ขอบฟ้าเหตุการณ์ ซึ่งมันก็คือพื้นผิวในกาลอวกาศที่สามารถระบุตำแหน่งที่ไม่สามารถย้อนกลับได้  ถ้ามีวัตถุหลุดเข้าไปในบริเวณนี้ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าแสงจึงจะสามารถหลุดออกจากบริเวณนี้ได้
.

ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีทางที่วัตถุจะมีความเร็วกว่าแสง วัตถุนั้นจึงต้องหายอย่างลึกลับเข้าไปอยู่ในนั้นตลอดกาล เรื่องราวกำเนิดมันจะเกิดขึ้นเมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาได้หมดอายุและแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ที่มีอำนาจทำลายล้างสูงที่สุดเอาไว้เบื้องหลัง
.

ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เองทำให้เกิดหลุมดำ เรานั้นไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ เพราะว่ามันไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ
.

และล่าสุดนักดาราศาสตร์ได้ตรวจพบหลุมดำในระบบดาวคู่ 4U 1630-47 ที่มีความพิเศษตรงที่หมุนตัวด้วยความเร็วใกล้เคียงกับอัตราความเร็วแสง ที่ค้นพบโดยดาวเทียม “แอสโทรแซต” ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราขององค์การนาซา
.

สำหรับใครที่อาจจะสงสัยว่าเจ้ากล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราคืออะไรเราจะอธิบายให้เพื่อนๆฟัง กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรามันก็คือ กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ถูกส่งไปยังอวกาศโดยกระสวยอวกาศโคลัมเบียจากศูนย์อวกาศเคนเนดี เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
.

ซึ่งมันทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สำหรับสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในอวกาศภายนอก ที่จะโคจรรอบโลกเพื่อสังเกตุการณ์ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลออกไป รวมถึงดาราจักร และวัตถุในอวกาศ เพื่อช่วยให้มนุษย์ได้เข้าใจเกี่ยวกับจักรวาลมากขึ้น
.

จากรายงานการค้นพบหลุมดำระบุว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราสามารถตรวจจับการปะทุรังสีเอกซ์ที่ผิดปกติ ซึ่งส่งออกมาจากหลุมดำที่ค้นพบล่าสุดได้ โดยเกิดจากกลุ่มฝุ่นและก๊าซที่ตกลงไปในหลุมดำ และยังทราบว่าหลุมดำดังกล่าวหมุนด้วยความเร็วถึงระดับ 0.9 จากมาตรวัดอัตราเร็วที่เริ่มต้นตั้งแต่ระดับ 0 และสิ้นสุดที่ระดับ 1
.

โดยทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ระบุว่า อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ อยู่ที่ราวๆ 3 แสนกิโลเมตรต่อวินาที เป็นขีดจำกัดความเร็วที่สุดของจักรวาล โดยวัตถุต่างๆ รวมถึงหลุมดำก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวไปได้ด้วยความเร็วเกินกว่านี้
.

แต่หลุมดำที่พบค้นล่าสุด นับได้ว่ามีความเร็วใกล้เคียงกับแสงเป็นอย่างมาก ถ้าเทียบกับทฤษฏีของไอน์สไตน์แล้ว การหมุนด้วยความเร็วระดับนี้ของมันอาจจะทำให้ห้วงอวกาศปั่นป่วนได้ ถ้าการคาดการณ์นี้ถูกต้อง จะเป็นการที่กลุ่มก๊าซจะเข้าไปในหลุมดำปริมาณมาก อาจจะป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การก่อตัวของดาราจักรต่างๆ 
.

ศ. มาร์ก มอริส ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหลุมดำประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแอนเจลิส เขาได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “หลุมดำไม่อาจจะหมุนด้วยความเร็วระดับที่ทำให้ขอบฟ้าเหตุการณ์หดตัวลง จนมาถึงระดับของภาวะเอกฐานได้ เพราะนั่นเท่ากับว่าหลุมดำเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของมันออกมา แต่ในจักรวาลนี้ไม่มีภาวะเอกฐานที่เปลือยเปล่าปราศจากสิ่งปกปิดห่อหุ้มดำรงอยู่”
.

หรือก็คือ แม้หลุมดำจะสามารถหมุนตัวได้ด้วยความเร็วสูง แต่ก็มีขีดจำกัดของความเร็วดังกล่าวอยู่อีกนอกเหนือไปจากความเร็วแสง เอาเป็นว่าเรามาลองลุ้นกันวาผลกระทบจากความเร็วของหลุมดำที่พบนี้จะส่งผลกระทบถึงโลกไหม ซึ่งในอนาคต นักดาราศาสตร์จะต้องหาคำตอบที่ชัดเจนกว่านี้ได้อย่างแน่นอน สำหรับเรื่องราวของหลุมดำมีเพียงเท่านี้ ก่อนจะไปขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก Chatbee แอพหาคนรู้ใจใกล้คุณ โหลดเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป