
หนึ่งในดวงจันทร์ที่นักดาราศาสตร์หลายคนฟันธงว่าน่าจะเป็นไปได้ที่จะมีสภาพเเวดล้อมที่เหมาะกับการดำรงอาศัยของสิ่งมีชีวิตนั่นก็คือดวงจันทร์ ยูโรปา ดวงจันทร์ที่เป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี แต่อย่างไรก็ดีอุปสรรคอันใหญ่โตและเป็นความท้าทายของนักดาราศาสตร์นั่นก็คือดวงจันทร์ยูโรปาที่ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง
.
ซึ่งภายใต้น้ำแข็งนั่นเองคือมหาสมุทรที่หลายคนบอกไว้ว่ามันน่าจะมีสิ่งมีชีวิต โดยนาซาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ส่งยานอวกาศสำรวจลำใหม่ไปศึกษาสภาพใต้แผ่นน้ำแข็ง ซึ่งภารกิจนี้จะเป็นอย่างไร จะประสบความสำเร็จไหม วันนี้พวกเรา eduHUB จะพาเพื่อนๆไปรับชมกัน แต่ก่อนจะไปรับชมอย่าลืมกด Like กด Share และกดติดตามด้วยนะคะ
.

ดวงจันทร์ยูโรปาเป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่มีพื้นผิวเป็นน้ำเเข็งและความเรียบเนียน มีรอยแตกและมีเส้นรอยแยก มีรอยโดนอุกกาบาตพุ่งชนบ้าง แต่ข้างใต้ชั้นน้ำเเข็งของดวงจันทร์ยูโรปา นักดาราศาสตร์บนโลกคาดว่าน่าจะเป็นมหาสมุทรที่เป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต
.
ซึ่งในอดีตยังไม่เคยมียานอวกาศลำไหนที่ได้ลงไปสำรวจบนดวงจันทร์แห่งนี้ จนต่อมาได้มีการส่งยานอวกาศไปโคจรใกล้ๆเพื่อสำรวจ เช่นยานกาลิเลโอ ที่ได้เดินทางไปสำรวจดาวพฤหัสบดี หรือยานวอยเอเจอร์ ที่โฉบไปศึกษาดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ซึ่งก็ได้คำตอบว่าภายใต้ผิวน้ำเเข็งที่เรียบเนียน ยูโรปามีชั้นของมหาสมุทรอยู่ข้างใต้จริงๆ ซึ่งแผ่นน้ำเเข็งก็เปรียบเสมือนกับแผ่นเปลือกธรณีของโลก ซึ่งมันจะมีการชนกันและม้วนตัวกลับลงไปกลายเป็นเนิน ภูเขา เหมือนพื้นดินทั่วไป
.

ด้วยคุณสมบัติที่น่าค้นหาบวกกับความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ภายใต้แผ่นเปลือกน้ำแข็ง จึงเป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์คาดหวังว่า ในสักวันหนึ่งมนุษย์เราอาจจะไปสร้างอาณานิคมในบริเวณใต้มหาสมุทรเเห่งนี้ได้ นาซาจึงไม่รอช้า สร้างยานอวกาศสำรวจดวงจันทร์ยูโรปาขึ้นมา เพื่อที่จะวิเคราะห์องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างของแผ่นน้ำเเข็ง สภาพแวดล้อมใต้แผ่นน้ำแข็ง
.
ซึ่งในการทำภารกิจในครั้งนี้ยานอวกาศจะไม่สามารถบินโคจรหรือลงจอดบนดวงจันทร์ยูโรปาได้โดยตรง เพราะว่าดาวพฤหัสบดีมีสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มข้นสูงมากๆ หากวัตถุอะไรเข้าไปใกล้อาจะทำให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของยานลำนั้นเสียหายไปได้ ดังนั้นครั้งนี้นาซาคิดมาเป็นอย่างดีว่าจะส่งยานสำรวจบินโฉบไปโฉบมา โดยจะใช้การโฉบถึง 45 ครั้ง เพื่อให้ยานอวกาศส่งสัญญาณไปยังพื้นผิวดาวและส่งข้อมูลองค์ประกอบของพื้นผิวดาวส่งกลับไปยังโลก
.

ยานสำรวจลำนี้ที่นาซาได้ส่งไปสำรวจนั้นมีชื่อว่า “ยูโรปา คลิปเปอร์” ซึ่งมีกำหนดการจะส่งขึ้นไปในปี ค.ศ.2022-2025 เพื่อสำรวจความรู้เกี่ยวกับพื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปา ภายใต้ชื่อภารกิจที่ว่า “ยูโรปา แลนเดอร์” การส่งยูโรปาคลิปเปอร์ไปสำรวจในครั้งนี้นาซามีเป้าหมายสูงสุดที่จะศึกษาสภาพของดวงดาวและสภาพของทะเลใต้แผ่นน้ำเเข็ง โดยคาดหวังว่าอาจจะพบสิ่งมีชีวิตบางชนิด และอาจจะพบสภาวะแวดล้อมที่เหมาะกับการดำรงชีวิตของมนุษย์
.
โดยกลไกการทำงานของยูโรปาคลิปเปอร์ที่ทางนาซาได้คำนวนและศึกษามานั้น จะต้องใช้หุ่นยนต์ที่ใช้ในการละลายน้ำเเข็ง ตัดน้ำเเข็งและเจาะแผ่นน้ำแข็งในบริเวณเปลือกน้ำเเข็งของดวงจันทร์ยูโรปา หลังจากนั้นจะต้องดำน้ำลงไปใต้แผ่นน้ำแข็งลงไปยังทะเลด้านล่าง เพื่อสำรวจองค์ประกอบต่างๆในทะเลใต้แผ่นน้ำแข็ง แต่สิ่งที่นักดาราศาสตร์และวิศวกรกังวัลนั้น ไม่ใช่ความหนาวเย็นของน้ำเเข็ง แต่พวกเขากลัวความเค็มของน้ำทะเลที่น่าจะเค็มกว่าน้ำทะเลของโลก ซึ่งมันอาจมีผลทำให้อุปกรณ์บางอย่างนั้นเสียหายได้ นอกจากนี้ยังต้องกังวลในเรื่องของน้ำทะเลที่น่าจะมีกรดซัลฟูริกผสมอยู่ ดังนั้นการออกแบบอุปกรณ์ทุกอย่างของยานยูโรปาคลิปเปอร์จึงต้องสร้างให้มันเเข็งแรงทนทานต่อสภาพอากาศ และต่อปฏิกิริยาทางเคมี รวมถึงแรงดันต่างๆ
.

อย่างไรก็ตามด้วยปัญหาต่างๆที่ยานยูโรปา คลิปเปอร์จะต้องเจอนี้ ก็มีทีมนักวิทยาศาสตร์ เควิน แฮนด์ นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ของเจพีเอล และเพื่อนร่วมทีมได้เสนอความคิดกันว่า จะง่ายกว่าไหมถ้าเราใช้การสำรวจโดยใช้รถโรเวอร์วิ่งบนแผ่นน้ำเเข็งด้านใต้ โดยวิ่งแบบกลับหัว เพื่อนพอจะนึกออกไหมคะว่า แผ่นน้ำเเข็งที่เคลือบอยู่บนทะเล มันจะมีช่องว่างอยู่ ระหว่างแผ่นน้ำแข็งและทะเล
.
จากความเสี่ยงที่นาซ่าได้วิเคราะห์ถึงความอันตรายในน้ำทะเลว่าจะมีผลต่ออุปกรณ์อย่างมากมาย ทำให้แฮนด์และเพื่อนเกิดไอเดียว่าถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องลองไปใต้น้ำ ให้ใช้รถโรเวอร์วางสำรวจทางด้านใต้ของน้ำแข็งแบบกลับหัว ซึ่งการสำรวจในลักษณะนี้จะมีข้อดีอีกอย่างก็คือ เราจะสามารถบังคับทิศทางได้ดีกว่าการสำรวจใต้น้ำ และอาจจะได้มุมมองการค้นหาที่กว้างกว่าการไปสำรวจใต้น้ำ
.

หลักการนี้จึงเป็นที่มาของ บรูอี ยานโรเวอร์ที่จะไปทำหน้าที่วิ่งสำรวจใต้แผ่นน้ำเเข็ง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้นำไปทดสอบในการวิ่งสำรวจบนทะเลสาบที่เป็นน้ำเเข็งในรัฐอลาสกา โดยมีการออกแบบล้อให้เกาะติดกับพื้นผิวน้ำแข็ง ซึ่งในขณะนี้ บรูอี กำลังอยู่ในช่วงทดลอง ซึ่งกำลังจะทดลองไปที่ความลึกมากขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในอนาคต การทดสอบของบรูอี จะประสบผลสำเร็จและขึ้นไปพร้อมกับยานยูโรปา คลิปเปอร์ เพื่อไปสำรวจถึงความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะขึ้นไปสร้างอาณานิคมบนนั้นได้
.
และนี่คือเรื่องราวของการสำรวจใต้ทะเลของยูโรปาที่เกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพื่อนๆคิดว่าการสำรวจในครั้งนี้ จะมีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติมากแค่ไหน มาคอมเมนท์พูดคุยกันนะคะ สำหรับวันนี้เรื่องราวของการสำรวจดวงจันทร์ยูโรปาก็มีเพียงเท่านี้ แต่ก่อนจะไปอย่าลืมกด Like กด Share และกดติดตามด้วยนะคะ