ดวงจันทร์ปริศนาเข้ามาโคจรใกล้โลก

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีประกาศจากนาซาว่าพบวัตถุคล้ายดวงจันทร์เข้ามาโคจรในบริเวณใกล้กับโลกของเราแถมยังมาโคจรรอบโลกของเราอีกด้วย หรือว่าวัตถุปริศนานี้จะคือดวงจันทร์ดวงที่ 2 ของโลกกันแน่ วันนี้พวกเรา eduHUB จะพาเพื่อนๆมาทำความรู้จักกับวัตถุนี้กัน แต่ก่อนจะไปรับชม อย่าลืมกด Like กด Share และกดติดตามด้วยนะคะ 

ครั้งหนึ่งนานมาแล้วในยุคที่จักรวาลเริ่มที่จะกำเนิดทุกสิ่งทุกอย่างในเอกภพ โลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมๆกับดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลก แต่ในอดีตนั้นนักดาราศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานว่า ดวงจันทร์ของโลกนั้นอาจจะมี 2 ดวง แต่ด้วยแรงเหวี่ยงที่รุนแรงของอนุภาพการระเบิดในครั้งที่กำเนิดจักรวาลทำให้ดวงจันทร์ทั้ง 2 ดวงนั้นชนกันและหลอมรวมกันกลายเป็นดวงเดียวกันจนกลายเป็นดวงจันทร์ที่เรามองเห็นยามค่ำคืนในทุกวันนี้

สมมติฐานที่เหล่านักดาราศาสตร์ได้ทำการสำรวจนั้นพบว่ามีความเป็นไปได้ที่ดวงจันทร์ของโลกจะเคยมี 2 ดวงมาก่อน โดยทั้ง 2 มีขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งดวงหนึ่งมีขนาดเล็กและเย็นตัวลงแล้ว ส่วนอีกดวงหนึ่งเป็นดวงใหญ่ยังมีพลังงานเเละความร้อนรวมถึงลาวาใต้ผิวดิน เมื่อดวงจันทร์ทั้ง 2 ดวงโคจรมาเจอกันและเกิดการชนกันด้วยพลังงานบางอย่าง ก็ให้เกิดการหลอมรวมกันกลายเป็นหนึ่ง โดยดวงเล็กที่เย็นตัวแล้ว

เมื่อเกิดการจนจึงกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเกาะอยู่บนดวงจันทร์ดวงใหญ่ และดวงจันทร์ดวงใหญ่เมื่อเกิดการกระแทกที่รุนแรงจนทำให้ลาวาใต้พื้นดินทะลักออกมาเคลือบเศษวัตถุที่กระจัดกระจายจากการชน จนกลายเป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น สมมติฐานนี้เพื่อนๆบางคนอาจคิดว่ามันเกิดขึ้นจริงหรือเปล่า หรือว่านักดาราศาสตร์แค่คิดกันไปเอง

มีการสนับสนุนสมมติฐานนี้ด้วยโครงการ Apollo ต่างๆของนาซาที่ขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์และเก็บตัวอย่างหินบนดวงจันทร์กลับมายังโลกเพื่อทำการวิเคราะห์พบว่าหินบนดวงจันทร์นั้นมีสารที่เรียกว่า ครีป (Kreep) ที่ประกอบด้วย โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุกลุ่มแรร์เอิร์ท โดยครีปเป็นสารที่เกิดขึ้นมาเพื่อทำให้แมกมาคงอยู่ในสภาพของเหลว เป็นสารต้านการตกผลึกของแมกมา ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานของนักดาราศาสตร์ที่เราได้บอกไปข้างต้นว่ามีลาวาและแมกมาออกมาหลังจากการชนกันของดวงจันทร์ 2 ดวง

อย่างไรก็ตามเร็วๆนี้ นาซาได้มีการยืนยันถึงการค้นพบวัตถุปริศนาที่มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์มาโคจรรอบโลก โดยโคจรโลกเป็นวงรี มีเส้นผ่านศูนย์กลาง  37-91 เมตร พบจากการใช้กล้องสำรวจดาวเคราะห์น้อย Pan-STARRS1 ที่ตั้งอยู่บน ฮาเลอาคาลา ในฮาวาย พวกเขาได้ตั้งชื่อเจ้าวัตถุปริศนาว่า 2016 HO3 และยังค้นพบอีกว่ามันได้โคจรรอบโลกมานานมากแล้ว โดยอยู่ไกลจากโลกของเรามากกว่าดวงจันทร์ถึง 38-100 เท่า

2016 HO3  มีการโคจรเป็นวงรี ซึ่งก่อนหน้านี้มีวัตถุคล้ายๆกันโคจรรอบโลกคู่กันกับ 2016 HO3  แต่วัตถุนั้นได้หลุดจากวงโคจรของโลกไปแล้ว เหลือเพียงเเค่ 2016 HO3  ที่ยังเกาะติดโลกของเราอย่างแน่นหนา นาซ่าจึงได้มีการศึกษา 2016 HO3  และพบว่า มันได้โคจรรอบโลกในลักษณะที่คล้ายคลึงกับดาวเทียม และคงรักษาระยะห่างจากโลกเป็นอย่างดี และระยะห่างจากโลกก็ถือว่ายังห่างอยู่มากเกินกว่าจะเป็นดวงจันทร์ของโลกได้

ดังนั้นเมื่อนาซาได้เปรียบเทียบกับคุณสมบัติของดวงจันทร์แล้วจึงสถาปนาให้ 2016 HO3  เป็นเพียงแค่ ดาวกึ่งบริวาร ซึ่งคุณสมบัติที่ทำให้ 2016 HO3  ไม่ได้เป็นดวงจันทร์หรือดาวบริวารของโลกนั้นเพราะว่ามันมีระยะห่างจากโลกมากเกินไป ดังนั้นตอนนี้โลกเราก็ยังคงมีดวงจันทร์เพียงเเค่หนึ่งดวงเท่าเดิม ส่วน 2016 HO3  นั้นก็เป็นเพียงแค่ดาวกึ่งบริวารที่มีสถานะเป็นดาวเคราะห์น้อยเพียงเท่านั้น 

เอาเป็นว่าวัตถุปริศนาที่นาซาพบว่ามันโคจรอยู่รอบโลกนั้น มันก็เป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าวันใดก็ตาม ที่มันเข้ามาใกล้โลกมากขึ้นกว่านี้ ไม่แน่ว่าในอนาคต มันอาจจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นดวงจันทร์ดวงที่ 2 ของโลกก็เป็นไปได้

สำหรับเรื่องราวดีๆที่เรานำมาฝากเพื่อนๆก็มีเพียงเท่านี้ แล้วเพื่อนๆละคะอยากให้โลกมีดวงจันทร์สองดวงหรือปล่าว ถึงวันนั้นถ้ามีดวงจันทร์สองดวงจริง น่าจะมีผลอะไรสักอย่างกับโลกของเราแน่ๆ เพื่อนๆคิดเห็นยังไงกับเรื่องนี้บ้างอย่าลืมมาคอมเม้นพูดคุยกันนะคะ และสุดท้ายอย่าลืมกด Like กด Share และกดติดตามพวกเราด้วยนะคะ