
และแล้วนาซาก็ได้พบเรื่องราวความน่าตื่นเต้นอีกครั้ง เมื่อดาวเทียม Solar Dynamics Observatory หรือเรียกสั้นๆว่า SDO ได้พบว่าเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2563 ที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์มีการปล่อยเปลวสุริยะที่มีพลังงานสูงสุดออกมาซึ่งมันเป็นการปล่อยพลังงานครั้งใหญ่ในรอบ 3 ปี ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เกิดจะการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ 11 ปี เป็นวัฏจักรเรียกว่า Solar cycle
.
วันนี้พวกเรา eduHUB จะพาเพื่อนๆทุกคน ไปทำความรู้จักกับ Solar cycle ที่รอบนี้มันปล่อย โซล่าแฟลร์ (Solar flare) ออกมามากที่สุด แต่ก่อนจะไปรับชม อย่าลืม กด Like กด Share และกด Like เพจ eduHUB กันก่อนนะคะ
.

ตามที่ได้เกริ่นไปว่าดวงอาทิตย์อันเป็นดาวฤกษ์และเป็นศูนย์กลางรวมถึงเป็นศูนย์รวมพลังงานในระบบสุริยะ ได้มีการปลดปล่อยพลังงานออกมาครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 3 ปีนี้ ซึ่งการค้นพบครั้งนี้คือดาวเทียมที่มีหน้าที่เฝ้าสังเกตการณ์ของนาซาอย่าง SDO นั้นได้จับภาพการปล่อยพลังงานครั้งยิ่งใหญ่ของดวงอาทิตย์ออกมา ซึ่งเรียกว่าปรากฎการณ์นี้ว่า โซลาร์แฟลร์
.
ปรากฎการณ์โซลาร์แฟลร์นั้นเกิดจากการที่บริเวณจุดมืด (Sun spot) ของดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณอื่น เกิดพลังงานสนามแม่เหล็กและทำให้รังสีมีการปะทุขึ้นมา โดยมีความรุนแรงอยู่ในระดับกลาง ยังไม่ถึงกับรุนแรงมากพอที่จะส่งผลกระทบกับโลกหรือส่งผลกระทบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆในระบบสุริยะ การเกิดปรากฎการณ์โซลาร์แฟลร์ ในครั้งนี้เป็นสัญญาณบอกนักดาราศาสตร์ทุกคนที่เฝ้าศึกษาดวงอาทิตย์ว่า ดวงอาทิตย์กำลังเข้าสู่วัฏจักรรอบใหม่
.

วัฏจักรที่ว่านี้คือ “วัฏจักรสุริยะ” หรือว่า Solar cycle จากการศึกษาของนักดาราศาสตร์ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันที่เฝ้าสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์มาเป็นระยะเวลานานพบว่า ใน 1,000 ปีที่ผ่านมานั้นดวงอาทิตย์ของเรา ได้มีปรากฎการณ์คล้ายๆกันเกิดขึ้นกลายเป็นวัฏจักร
.
ซึ่งวัฏจักรจะเกิดขึ้นในทุกๆ 11 ปี และการที่วัฏจักรสุริยะนี้เกิดขึ้นทุกๆ 11 ปี มันช่างบังเอิญกับการที่โลก ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน นักดาราศาสตร์บางคนจึงเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า การโคจรของดาวเคราะห์มาเรียงตัวกันเป็นแนวเดียวกันนี้จะมีอิทธิพลต่อการเกิดวัฏจักรสุริยะหรือไม่
.

หากเพื่อนๆลองเทียบพลังงานและอิทธิพลของดาวเคราะห์เล็กๆ ทั้ง 3 ดวง กับดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ดวงใหญ่ที่มีพลังงานสูงที่สุดในระบบ เพื่อนๆอาจจะคิดว่า อิทธิพลของดาวเคราะห์ ไม่ได้ส่งผลอะไรกับดวงอาทิตย์มากนัก ถ้าคิดแบบนั้น คิดผิดแล้วละค่ะ การที่ดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงมาเรียงตัวกันนั้น มันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์
.
ซึ่งทางนักดาราศาสตร์เองก็ได้สร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อหาเหตุผลว่ามันมีผลกระทบต่อดวงอาทิตย์อย่างไร จากแบบจำลองที่สร้างขึ้นนั้นพบว่าแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ที่มาเรียงตัวกันนั้นมันจะไปเพิ่มแรงบีบอัดในสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ ซึ่งจะทำให้สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์นั้นเกิดการแปรปรวนเล็กน้อยจนเกิดความไม่เสถียร และความไม่เสถียรนั้นเองก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพลังงานบนดวงอาทิตย์
.

เหตุการณ์ที่เกิดในวัฏจักรสุริยะแต่ละครั้งนั้นเราสามารถสังเกตได้จากจำนวนจุดมืดบนดวงอาทิตย์มีจำนวนลดน้อยลงจนบางครั้งแทบไม่มีเลย ซึ่งในช่วงนั้นเองจะเกิดการกลับขั้วของสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ จนกลายเป็นปรากฎการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ลมสุริยะ หรือ โซลาร์แฟลร์ ที่เรานั้นสามารถสังเกตและนำมาเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเมื่อเกิดปรากฎการณ์เหล่านี้แสดงว่าดวงอาทิตย์กำลังถึงรอบเปลี่ยนวัฏจักรใหม่
.
สำหรับการพบโซลาร์แฟลร์ในครั้งล่าสุดนี้เป็นสัญญาณว่าเรากำลังเข้าสู่วัฏจักรสุริยะรอบใหม่ นั่นก็คือรอบที่ 25 ในช่วงแรกของการเริ่มวัฏจักรใหม่นั้น จุดมืดบนดวงอาทิตย์จะยังคงมีน้อยอยู่และมีการปะทุของรังสีในอัตราที่เบาบาง
.

จนเมื่อระยะเวลาผ่านไปถึงช่วงกลางวัฏจักรสุริยะ จะพบว่า เริ่มมีจุดมืดบนดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้น และเกิดการเคลื่อนไหวทางแม่เหล็กไฟฟ้ามากขึ้นจนถึงมากที่สุด หลังจากนั้นทุกการเคลื่อนไหวทางแม่เหล็กไฟฟ้าจะค่อยๆลดลง จุดมืดบนดวงอาทิตย์ก็ลดลง จนถึงจุดที่น้อยที่สุด เพื่อเข้าสู่ช่วงปลายของวัฏจักร
.
นักดาราศาสตร์จึงใช้การเปลี่ยนแปลงในข้อนี้เป็นตัววัดว่าตอนนี้วัฏจักรดวงอาทิตย์ถึงระยะไหนแล้ว ซึ่งพวกเขาจะนับจากการเปลี่ยนแปลงในการเพิ่มจำนวนและลดจำนวนจุดมืดบนดวงอาทิตย์ และในทุกๆครั้ง ที่จุดมืดบนดวงอาทิตย์วนรอบมามีจำนวนลดลงอีกครั้งนั้น ก็จะครบ 11 ปีพอดี และพอดีกันกับที่ดาวเคราะห์โคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกันและเรียงตัวกัน
.

จะเห็นได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันช่างมีอิทธิพลต่อกันในระบบสุริยะ ซึ่งการที่เกิดเหตุการณ์หรือปรากฎการณ์บนท้องฟ้าเเต่ละครั้งมันมีเหตุผลของมันอยู่ เสมอและมันย่อมส่งผลกระทบให้กับโลกของเราอย่างแน่นอน และนี่ก็คือสาเหตุที่ว่าทำไมนักดาราศาสตร์ต้องคอยเฝ้าสังเกตการณ์ของวัฏจักรสุริยะ เพราะปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการวนรอบวัฏจักรนั้นมันจะส่งผลถึงโลกของเราด้วย
.
ซึ่งการปลดปล่อยพลังงานของดวงอาทิตย์เมื่อครบรอบวัฏจักรนั้นมันมีผลกระทบต่อดาวเทียมต่างๆที่ลอยเคว้งในอากาศ ทำให้ระบบจีพีเอส ระบบโทรคมนาคม ระบบการจ่ายไฟฟ้าบนโลกนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการที่เราสามารถพยากรณ์การเกิดวัฏจักรของสุริยะได้นั้นก็จะทำให้เราสามารถวางแผนในการป้องกันเรื่องราวที่จะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้
.

และนี่ก็คือเรื่องราวของปรากฎการณ์โซลาร์แฟลร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนผ่านรอบของวัฏจักรสุริยะในแต่ละรอบ เรื่องราวของวันนี้ก็ทำให้เพื่อนๆได้รู้จักดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น และถ้าหากเพื่อนๆมีเรื่องราวอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับดวงอาทิตย์อยากให้พวกเรามานำเสนอก็สามารถมา Comment พูดคุยกันได้เลยนะคะ สำหรับวันนี้มีเพียงเท่านี้ ก่อนจะไปอย่าลืม กด Like กด Share และกด Like เพจ eduHUB กันก่อนนะคะ