เราเคยเห็นแต่ยานอวกาศที่มีรูปร่างรูปทรงกรวย หรือมีรูปทรงเหมือนลูกข่าง เพราะว่าสรีระของยานอวกาศที่ดีนั้นจะต้องทำให้ยานลำนั้นทรงตัวได้และสามารถโคจรได้อยู่ในระยะเวลานาน แต่เพื่อนๆเคยเห็นยานอวกาศที่มีรูปร่างเหมือนเครื่องบินหรือเปล่า การที่มันรูปร่างเหมือนเครื่องบินนั้นจะสามารถพาตัวยานของมันขึ้นทะยานไปจักรวาลได้หรือไม่ใช่แล้วค่ะวันนี้พวกเราจะพาเพื่อนๆทุกคนไปทำความรู้จักกับยานอวกาศที่มีรูปร่างเหมือนเครื่องบิน หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า เครื่องบินอวกาศ มันจะเป็นยังไง และมันมีเอาไว้ทำอะไร
สำหรับเครื่องบินอวกาศที่เราได้เกริ่นไปนั้น มันคือยานอวกาศดรีมเชสเซอร์ ยานอวกาศเอกชนซึ่งเป็นยานอวกาศที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับเครื่องบิน จนดูเหมือนว่ามันจะใช้เป็นยานขนส่งมนุษย์หรือเปล่า จริงๆแล้วยานอวกาศ ดรีมเชสเซอร์ เป็นยานขนส่งสัมภาระ เนื่องจากเมื่อนานมาแล้ว เซียร์ราเนวาดาคอร์ปได้ออกแบบยานอวกาศดรีมเชสเซอร์มาเพื่อให้พร้อมรับกับภารกิจที่จะขนส่งมนุษย์หรือนักบินอวกาศขึ้นยังไปยังสถานีอวกาศนานาชาติเพื่อทำงานหรือปฏิบัติภารกิจต่างๆ
แต่แล้วฝันของเซียร์ราเนวาดาคอร์ปก็ต้องจบลงเพราะเขาดันไปแพ้ประมูลให้กับบริษัท SpaceX และ โบอิ้ง ในปี 2557 ที่ผ่านมา แต่ทางนาซาเองก็ไม่ได้ดับฝันเขาโดยสิ้นเชิง เพราะในปีต่อมามีการประมูลครั้งที่สองที่จะหายานอวกาศเพื่อขึ้นไปทำหน้าที่ขนส่งสัมภาระ เซียร์ราเนวาดาคอร์ปจึงไม่ทิ้งโอกาสนี้ให้หลุดลอย เขายื่นประมูลและชนะการประมูลครั้งนี้จนทำให้ยานอวกาศดรีมเชสเซอร์ได้มีโอกาสทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าจริงๆสักที
แต่เนื่องจากในครั้งแรกเขาออกแบบมาให้มันเอาไว้ใช้สำหรับการขนส่งมนุษย์ขึ้นไป อุปกรณ์อำนวยความสะดวกด้านในจึงมีเยอะมาก ซึ่งเมื่อเขาต้องปรับเปลี่ยนตัวยานให้เข้ากันกับภารกิจของเขา จึงต้องดัดแปลงยานอวกาศด้านในให้เหมาะสำหรับขนส่งสัมภาระ แต่ด้านนอกนั้นก็ยังมีรูปลักษณ์คล้ายๆเดิมอยู่ มันจึงกลายเป็นยานอวกาศขนส่งสินค้าที่รูปร่างหน้าตาเหมือนเครื่องบิน
ยานอวกาศดรีมเชสเซอร์ เป็นยานอวกาศที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยเซียร์ราเนวาดาคอร์ป อย่างที่บอกไปว่าตอนแรกเขาคาดหวังว่าจะให้มันเป็นยานอวกาศขนส่งมนุษย์จึงออกแบบรูปร่างสรีระและการใช้งานมาเพื่อปกป้องและดูแลสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนลำตัวยาน รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆด้วย แต่เมื่อเขาได้รับการประมูลจากนาซาเพื่อนำมาเป็นยานอวกาศขนส่งสัมภาระ สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกคือการปรับเปลี่ยนยานอวกาศให้เหมาะกับการขนส่งสัมภาระให้คุ้มค่าที่สุด
มีการพัฒนาเพิ่มโมดูลสัมภาระเพื่อเพิ่มความจุของสิ่งที่จะบรรทุกขึ้นไปอีก โดยเขาใช้โมดูลเสริมที่มีชื่อว่า ชูตติงสตาร์ ตัวโมดูลชูตติงสตาร์นี้มีความยาวประมาณ 4.6 เมตร และติดอยู่ด้านท้ายของยานอวกาศดรีมเชสเซอร์ ซึ่งการติดตั้งโมดูลเพิ่มนี้เองทำให้เขาสามารถบรรทุกของได้ถึง 4,500 กิโลกรัม
แต่ตัวโมดูลชูตติงสตาร์นี้ยังมีข้อเสียอยู่บ้างตรงที่ มันเป็นโมดูลที่ถูกออกแบบมาให้ใช้เพียงแค่ครั้งเดียว ต่างจากตัวยานอวกาศดรีมเชสเซอร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ลงจอดบนพื้นโลกได้อย่างง่ายดายและพร้อมใช้งาน สำหรับภารกิจถัดไป สำหรับตัวโมดูลชูตติงสตาร์นั้นหากมีการใช้งานเสร็จเรียบร้อยมันจะถูกปลดออกจากตัวยานอวกาศดรีมเชสเซอร์ก่อนกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก และปล่อยให้มันโดนเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ
ภารกิจของยานอวกาศดรีมเชสเซอร์ที่นาซามอบให้นั้นคือการขนสัมภาระที่จำเป็นขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ และในอนาคตเองนาซาก็อาจจะมอบหมายงานให้มันเป็นยานขนส่งไปยังลูนาร์เกตเวย์ สถานีอวกาศแห่งใหม่ที่นาซากำลังจะสร้างให้มันได้ไปทำงานและโคจรรอบๆดวงจันทร์อีกด้วย
สำหรับตัวยานอวกาศดรีมเชสเซอร์ เนื่องจากมันเป็นยานที่ออกแบบมาดีมากร่วมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตัวยานของมันจึงสามารถติดตั้งโมดูลขยายเพิ่มเติมได้อีก ซึ่งการที่มันสามารถติดตั้งโมดูลได้เพิ่มเติมนั่นหมายความว่า มันคล้ายคลึงกับลักษณะของสถานีอวกาศนานาชาติเลย ที่เมื่อชาติใดต้องการปฏิบัติภารกิจเรื่องใดก็นำโมดูลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานนั้นๆเข้ามาต่อ นั่นหมายความว่า ยานอวกาศดรีมเชสเซอร์มันอาจพัฒนากลายเป็นสถานีอวกาศได้เองด้วย
นอกจากนี้บริเวณที่ให้ติดตั้งโมดูล ถ้าไปติดตั้งแขนหุ่นยนต์ แขนกลก็จะทำให้มันสามารถที่จะบังคับแขนนั้นให้ซ่อมบำรุงดาวเทียมต่างๆหรือสามารถดึงดาวเทียมลงจากวงโคจรได้ ซึ่งก็จะช่วยลดขยะอวกาศไปได้อีกทาง สำหรับยานขนส่งระหว่างโลกและสถานีอวกาศนานาชาติภายใต้สังกัดของนาซานั้นก็มีอีกหลากหลายบริษัทเอกชนที่เข้ามาร่วมในภารกิจนี้ด้วย
เพราะนอกจากมียานอวกาศดรีมเชสเซอร์ที่ใช้ในการขนส่งสัมภาระแล้วยังมียานซิกนัสของนอร์ทร็อปกรัมแมน ยานดรากอนของสเปซเอกซ์ ยานโปรเกรสของรัสเซีย และยานเอชทีวีของญี่ปุ่น ที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน เรียกได้ว่าตอนนี้ก็มีเพียง SpaceX เท่านั้นที่ยืนหนึ่งทั้งการเป็นยานขนส่งสัมภาระของนาซาและยังได้รับหน้าที่ให้พัฒนายานในการส่งมนุษย์ขึ้นไปด้วย
สิ่งที่พิเศษของยานอวกาศดรีมเชสเซอร์คือการที่มันรูปร่างเหมือนเครื่องบิน ซึ่งแน่นอนว่าวิศวกรไม่ได้ออกแบบมันมาให้เหมือนเครื่องบินแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังคาดหวังให้มันนั้นสามารถลงจอดบนรันเวย์เหมือนเครื่องบินได้อีกด้วย ยานอวกาศดรีมเชสเซอร์จะลงจอดบนรันเวย์ที่กระสวยอวกาศเคยใช้ในศูนย์การบินอวกาศเคเนดี
และนอกจากนี้ตัวยานอวกาศดรีมเชสเซอร์เองก็สามารถลงจอดในรันเวย์ใดก็ได้ที่สามารถรองรับเครื่องบินโบอิ้ง 737 ซึ่งนี่เองคือข้อดีเพราะระบบลงจอดที่สะดวกรวดเร็วจึงทำให้มันสามารถบรรทุกของมาจากสถานีอวกาศและถึงโลกได้ก่อนยานอวกาศลำอื่น ภารกิจของยานลำนี้คาดว่าน่าจะได้ขึ้นไปเฉิดฉายเหนือวงโคจรของโลกในปี 2564 และแน่นอนว่าเซียร์ราเนวาดาคอร์ป ไม่หยุดที่จะพัฒนาแค่นี้แน่นอน
สำหรับวันนี้เรื่องราวของยานอวกาศที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องบิน ก็มีเรื่องราวประมาณนี้ มีใครอยากลองนั่งบ้างหรือปล่าวคะ แต่ต้องรอให้เขาได้ทำหน้าที่ส่งมนุษย์ขึ้นไปก่อนนะถึงจะมีลุ้นกัน ตอนนี้ก็ฝันไปก่อนว่าจะได้นั่ง SpaceX และโบอิ้งไปยังสถานีอวกาศนานชาติเพราะอีกไม่นานแล้วที่ยานเหล่านี้จะพาเราไปยังจักรวาล ก่อนจะไปในวันนี้ อย่าลืมกด Like กด Subscribe และกดกระดิ่งแจ้งเตือนช่อง eduHUB เพื่อที่เพื่อนๆจะไม่พลาดการรับชมครั้งต่อไป