ความลับของดาวพุธ

เพื่อนๆทราบหรือไม่ว่าดาวพุธเป็นดาวที่น่าค้นหาและน่าสำรวจอีกหนึ่งดาว อย่างที่เราได้เคยนำเสนอเพื่อนๆไปแล้วในเรื่องของยานแมสเซนเจอร์ที่ได้ทำการสำรวจดาวพุธ และเก็บภาพอันน่าประทับใจมาให้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษา ทำให้เราได้รู้ว่าดาวพุธมีเรื่องราวความลับอยู่มากมายที่เราทุกคนยังไม่รู้และหาคำตอบไม่ได้ และวันนี้พวกเรา eduHUB จะพาเพื่อนๆไปไขความลับของดางพุธกันว่ามีอะไรกันบ้าง

ในเมื่อไม่นานมานี้หลังจากที่ได้มีการสำรวจดาวพุธด้วยยานต่างๆ และนำข้อมูลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบพบหลักฐานใหม่ว่าดาวพุธนั้นมีสารประกอบอินทรีย์ และยังมีน้ำอยู่บนดาวพุธนี้อีกด้วย ตามที่สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานว่า วันที่ 30 พ.ย. 2555 มีนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าดาวพุธ ซึ่งเป็นดาวลำดับแรกในระบบสุริยะ ได้มีก้อนน้ำแข็งเกาะอยู่บนพื้นผิวของดาวพุธ ซึ่งมันจะมีทางเป็นไปได้อย่างไรในเมื่อดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด น่าจะได้รับความร้อนเต็มๆจากด้วงอาทิตย์

ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ airbus.com

เดวิด ลอว์เรนซ์ นักวิทยาศาสตร์ ผู้ที่ทำงานวิจัยร่วมกับภารกิจศึกษาดาวพุธของนาซา ได้ให้ข้อมูลว่าพบชั้นน้ำแข็งกระจายอยู่บริเวณขั้วโลกของดาวพุธ พื้นที่โดยรวมของน้ำแข็งนั้นมีขนาดใหญ่มากๆ เท่ากับเมืองๆหนึ่งในสหรัฐอเมริกาก็ว่าได้ โดยการจากศึกษาพบว่า แกนทิศทางการหมุนของดาวพุธนั้นเกือบจะขนานกับดวงอาทิตย์ ซึ่งนั้นหมายความว่า พื้นที่บริเวณขั้วโลกของดาวพุธ แทบจะไม่โดนรังสีความร้อนของดวงอาทิตย์เลย

นักวิทยาศาสตร์ยังเกิดข้อสงสัยมานานแล้วว่า บริเวณขั้วโลกเหนือของดาวพุธนั้นต้องมีน้ำแข็งอยู่ และต้องมีสิ่งอื่นๆ ที่น่าค้นหาอยู่อีก และในปี 1991นั้นเอง ความสงสัยทั้งหมดนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องจริง เมื่อกล้องโทรทรรศน์คุณภาพสูงในเปอร์โตริโก ได้พบจุดเรืองแสงจำนวนนึงบนเรดาร์บนหลุมอุกาบาตบริเวณแถบขั้วโลกของดาวพุธ รวมกับข้อมูลล่าสุดจากยานเมสเซนเจอร์ของนาซ่าที่เดินทางอยู่ในวงโคจรของดาวพุธ ได้มีการเปิดเผยภาพถ่ายบริเวณขั้วโลกเหนือของดาวพุธ ซึ่งสังเกตได้ว่ามีทั้งบริเวณที่เป็นพื้นที่สีแดงนั้นคือจุดที่ไม่โดนแสงอาทิตย์ และพื้นที่สีเหลืองคือจุดที่เชื่อว่าบริเวณนั้นคือน้ำแข็ง

นอกจากนี้ภาพถ่ายจากยานเมสเซนเจอร์ยังช่วยยืนยันได้อีกว่า บริเวณจุดที่เรืองแสงบนเรดาร์ที่เราเห็นทั้งหมดนั้นอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีความมืดและมีความหนาวเย็นกว่าบริเวณขั้วโลกของดาวพุธ ซึ่งในทางทฤษฏีแล้ว บริเวณนั้นอาจจะมีน้ำแข็งอยู่ก็เป็นไปได้ และนอกจากนั้นยังมีการใช้เครื่องนิวตรอนสเปกโตรมิเตอร์ที่อยู่บนยานเมสเซนเจอร์ เพื่อทำการวิเคราะห์มวลของไฮโดรเจนอีกด้วย

และได้พบว่าน้ำแข็งส่วนใหญ่ในบริเวณนี้ถูกปกคลุมไปด้วย สสารสีเข้ม ซึ่งมีมวลน้อยกว่าไฮโดรเจนที่ปกคลุมอยู่อีกด้วย ดาวิด เพจ นักวิจัยในโครงการของนาซาอีกคน ระบุว่า สสารสีเข้มที่เราเห็นกันนั้น มันดูคล้ายกับสารประกอบอินทรีย์ที่ซับซ้อน มันทำหน้าที่เป็นฉนวน ซึ่งสสารนี้มายังดาวพุธด้วยการชนกันของดาวหางและอุกาบาต มีอนุภาพเคมีจำนวนมากและมีจุดเดือดต่ำมากๆ ที่สำคัญ สสารนี้อาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะอธิบายให้เรารู้ว่า น้ำมาอยู่บนดาวพุธได้ยังไง ต่อมาในปี 2559 ทีมนักวิจัยได้พบว่า ดาวพุธได้ตายไปนานแล้ว ดาวพุธหรือดาวเคราะห์ดวงในสุดในระบบสุริยะที่เคยเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยภูเขาไฟได้ตายไปเป็นเวลานานแล้ว

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตตได้พยายามหาคำตอบถึงกระบวนการการสร้างเปลือกดาวของดาวพุธว่าได้หยุดลงตอนไหน โดยทำการศึกษาจากภาพถ่ายที่ได้มาจากยานสำรวจอวกาศเมสเซนเจอร์บนดาวพุธนั้นปกติแล้วจะมีภูเขาไฟอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบปะทุ และ แบบซึม ซึ่งภูเขาไฟแบบปะทุก็คือภูเขาไฟแบบที่เพื่อนๆเคยเห็นกัน เป็นการระเบิดที่ออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟพร้อมกับพ่นเศษถ่านหินออกมากและรุนแรงมาก ส่วนภูเขาไฟแบบซึมนั้นจะรุนแรงน้อยกว่า ภูเขานั้นไม่ได้ระเบิดแต่จะเป็นการค่อยๆดันลาวาที่อยู่ข้างในออกมาอย่างช้าๆจนครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะแบบนี้เองทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ภูเขาไฟแบบซึมนี่แหละเป็นกลไกลหลักในการสร้างผิวดาวพุธ

ถ้าเรารู้อายุของตะกอนลาวาบนพื้นผิวดาว ก็จะทำให้เรารู้ถึงประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาของดาวเคราะห์ได้ เหมือนกับดาวศุกร์เมื่อไม่กี่ร้อยล้านปีก่อนก็ยังเคยพบภูเขาไฟแบบซึมอยู่ ส่วนดาวอังคารก็พบว่ายังมีภูเขาไฟแบบนี้อยู่เมื่อไม่กี่ล้านปี บนโลกของเราเองก็มีภูเขาไฟแบบซึมนี้ ภูเขาไฟนี้ชื่อว่า ภูเขาไฟ คิลาเว บนเกาะบิ๊ก ซึ่งอยู่ในหมู่เกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกา

ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ futura-sciences.com

แต่เนื่องจากยังไม่มีใครสามารถเก็บตัวอย่างหินที่อยู่บนดาวพุธกลับมาวิเคราะห์ได้ นักวิจัยจึงต้องใช้วิธีหาอายุด้วยการวิเคราะห์จากขนาดของหลุมอุกาบาตร โดยวิธีหาการกระจายของหลุมอุกาบาตรขนาดต่างๆแล้วใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อคำนวนอายุ ซึ่งผลการคำนวนออกมาว่า ภูเขาไฟแบบซึมบนดาวพุธเกิดครั้งล่าสุดเมื่อ 3.5 พันล้านปี ซึ่งนานมากถ้าเทียบกับโลก ดาวศุกร์และดาวอังคาร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พอล ไบร์น นักธรณีวิทยาดาวเคราะห์ จากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต กล่าวว่าดาวพุธมีส่วนที่เป็นเนื้อดาว ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ระหว่างแก่นดาวกับเปลือกดาวและส่วนนี้บางมาก เป็นบริเวณที่เกิดความร้อนจากการสลายตัวของกัมมันตภาพรังสี ทำให้ดาวพุธเสียความร้อนไปในเวลาไม่นานผลที่ได้คือดาวพุธเย็นลงและหดตัว ทำให้แผ่นเปลือกดาวแน่นกระชับ ปล่องหรือโพรงต่างๆจึงถูกปิดไป ซึ่งนั้นก็คือการปิดฉากของดาวพุธนั้นเอง เป็นยังไงกันบ้างละคะเพื่อนๆ ถ้าพวกเราไปอยุ่บนดาวพุธจะใช้ชีวิตกันอย่างไร สุดท้ายนี้ หากถูกใจบทความของพวกเราอย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะคะ