เพื่อนๆคิดว่าในอนาคตข้างหน้าพวกเราจะได้เจอกับเทคโนโลยีแปลกๆใหม่ๆที่น่าสนใจอะไรกันบ้างคะ และมันจะเข้ามามีผลกับการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเรามากน้อยเพียงใด
1.ความชำนาญของหุ่นยนต์ (Robot dexterity)
ตอนนี้หุ่นยนต์หรือเครื่องยนต์สามารถทำงานที่ซ้ำ ๆ ได้แม่นยำและรวดเร็วมาก เช่นงานประเภทสายพานในโรงงาน แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆหรือปัญหาเฉพาะหน้าได้ อย่างเช่น หากมีคนไปขยับเขยื้อนสิ่งของที่หุ่นยนต์กำลังจับอยู่เพียงหนึ่งนิ้ว ก็อาจจะทำให้มันไม่สามารถทำงานต่อไปได้ คือหุ่นยนต์ยังไม่มีความสามารถในการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง (trial and error) แต่ในอนาคตหากเราสามารถทำเรื่องนี้ได้ เราอาจจะได้เห็นหุ่นยนต์สามารถทำงานที่ดูง่าย ๆ แต่ซับซ้อนอย่างการล้างจาน (ซับซ้อนสำหรับหุ่นยนต์) หรือแม้กระทั่งงานที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษอย่างการดูแลผู้ป่วย
2.พลังงานนิวเคลียร์แบบใหม่ (New-wave nuclear power)
ตอนนี้พลังงานนิวเคลียร์ได้พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ แบบฟิซชั่น (Fission) มาถึงรุ่นที่ 4 แล้ว ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในปี 2020ซึ่งก็คือปีนี้ และจะเป็นแหล่งพลังงานที่ถูก และปลอดภัยกว่าเดิม แต่ที่มนุษยชาติรอคอยคือเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แบบฟิวชั่น (fusion – ที่มีความปลอดภัยกว่าและมี ของเสียน้อยกว่า) ซึ่งน่าจะได้ใช้ในปี 2030หรืออีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ฟิวชั่น คงเป็นคำตอบเรื่องพลังงานให้กับมนุษยชาติในอนาคต
3.การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนด (Predicting preemies)
การคลอดก่อนกำหนดเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตรายและเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีโอกาสเสียชีวิต ได้ หรือมีโอกาสที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพของเด็กได้ ที่ผ่านมากระบวนการที่จะคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนดนั้นมีความวุ่นวายซับซ้อนมาก และมีก็ราคาแสนแพง แต่ตอนนี้ได้มีนักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีการใหม่ที่ง่ายและราคาถูกลงมาก ด้วยการตรวจ DNA และ RNA ซึ่งราคาของเทคโนโลยีนจะอยู่ที่ประมาณ 10 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆสามร้อยกว่าบาท
4.เทคโนโลยีการส่องกล้อง (Gut probe in a pill)
การส่องกล้องในปัจจุบันนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างวุ่นวาย ซึ่งโดยปกติหมอจะให้ส่องก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น และที่สำคัญยังใช้ไม่ได้กับเด็กทารกหรือเด็กตัวเล็ก ๆ เพราะต้องวางยาสลบ แต่มีโรคชนิดหนึ่งที่ต้องพึ่งพาการส่องกล้องหรือตรวจอย่างสม่ำเสมอนั้นคือ โรค EED (Environmental enteric dysfunction) เป็นโรคที่ทำให้ลำไส้อักเสบ ส่งผลให้ไม่สามารถดึงโภชนาการจากอาหารที่กินเข้าไปได้ ซึ่งโรคนี้พบมากในประเทศที่ยากจน แต่ EED นั้นสามารถลดอาการของความรุนแรงได้หากรู้ก่อน แต่การตรวจรักษาตามพื้นที่ห่างไกลที่เป็นหน่วยพยาบาลเล็ก ๆ ยังคงทำได้ยาก
Guillermo J. Tearney จาก Massachusetts General Hospital จึงได้คิดค้นและสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ๆ เท่ากับขนาดแคปซูยา สามารถกลืนเข้าไปได้เลย (แต่มีสาย) ซึ่งแคปซูลนี้ก็จะทำหน้าที่ส่องกล้อง และยังสามารถตัดชิ้นเนื้อออกมาเพื่อตรวจสอบได้อีกด้วย ทำให้การตรวจรักษาโรค EED นั้นสามารถทำได้ในพื้นที่ห่างไกลหรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้ และมีราคาถูกขึ้น และแคปซูลจิ๋วนี้ก็ยังถูกพัฒนาต่อเพื่อให้ใช้ได้ในเด็กทารกอีกด้วย
5.วัคซีนมะเร็งที่ไม่ทำลายเซลล์ที่ดี (Custom cancer vaccines)
เป็นที่รู้กันดีว่าการทำคีโม นั้นจะไปทำลายเซลล์ที่ดีไปด้วย ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบข้างเคียงที่ตามมาหลายอย่าง ในปี 2003 ได้เกิดความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ในทางการแพทย์ และวงการไบโอเทค ก็คือการที่เราสามารถทำแผนที่จีโนมมนุษย์ (human genome mapping) ในโครงการที่ชื่อว่า Human Genome Project และสิ่งที่เกิดขึ้น 5 ปีหลังจากนั้นก็คือนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยสามารถที่จะลำดับ (sequence) เซลล์ที่เป็นเนื้อร้ายของมะเร็งได้ รวมถึงพบว่าหากเทียบกับเซลล์ที่สุขภาพดี จะเห็นได้ว่ามีเซลล์มีความแตกต่างกันเยอะมาก และทุกชิ้นของเนื้อร้ายของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป
มีบริษัทแห่งหนึ่งในเยอรมันนีชื่อว่า BioNTech บอกว่าเราสามารถทำวัคซีนเข้าไปสู้กับเนื้อร้ายเหล่านี้ได้ วิธีการคือให้ทีเซลล์ (เซลล์ภูมิคุ้มกัน) หาและทำลายเซลล์เนื้อร้ายนั้น ในปี 2017 เดือนธันวาคม ก็มีการทดลองจริง และได้ผลการทดลองเป็นอย่างดี หากกระบวนการนี้ถูกนำมาใช้จริงได้เมื่อไหร่ ก็จะทำให้เราไม่ต้องทำลายเซลล์ที่ดีระหว่างการรักษา แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่เป็นเรื่องท้าทาย เพราะการรักษานั้นจะต้องใช้ตัวอย่างเนื้อร้ายจากของแต่ละคน และกระบวนการในการลำดับเซลล์ (sequence) นั้นยังมีราคาที่สูงอยู่มาก
6.เนื้อสัตว์ที่เกิดการเพาะเลี้ยงเซลล์ (The cow-free burger)
สหประชาชาติได้คาดการณ์ว่าในปี 2050 จะมีประชากรโลกประมาณ 9.8 พันล้านคน และคนก็จะบริโภคเนื้อสัตว์เยอะขึ้น อาจจะเนื่องจากความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น จะทำให้คนบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น 70% จากที่เราบริโภคกันอยู่ในทุกวันนี้ แต่แม้ในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ที่มีประสิทธิภาพก็ยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอยู่มาก อย่างเช่นโปรตีนที่มาจากสัตว์จะใช้น้ำมากกว่าพืช ถึง 4-25 เท่า ใช้พื้นที่มากกว่า 6-17 เท่า และใช้พลังงานจากฟอสซิลมากกว่า 6-20 เท่า
การจะให้คนหยุดกินเนื้อนั้นคงจะเป็นไปได้ยาก ตอนนี้ก็เลยมีการทำ lab-grown ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ แบบแรกทำมาจากกล้ามเนื้อของสัตว์จริง เวอร์ชั่น lab-grown รสชาติที่ได้ในตอนนี้ค่อนข้างใกล้เคียงของจริงมาก และคาดว่าจะสามารถวางจำหน่ายได้ในปีนี้แต่ประเด็นคือ lab-grown ก็ไม่ได้ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเท่าไหร่นัก
กับอีกเวอร์ชั่นหนึ่งที่เป็นแบบ plant-based ทำมาจากโปรตีนถั่ว มันฝรั่ง หรือพืชที่มีโปรตีนอื่น ๆ และนำไปทำให้มีความใกล้เคียงกับเนื้อ ซึ่งแบบ plant-based นั้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า อย่างในบริษัท Beyond Meat (บิล เกตส์ ลงทุนในบริษัทนี้ด้วย) ที่ทำเนื้อสัตว์แบบ plant-based นั้นเริ่มขายแล้วในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีจำหน่ายแล้วในซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารกว่า 30,000 แห่ง และขายไปแล้วมากกว่า 25 ล้านชิ้น
7.การจับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศ (Carbon dioxide catcher)
ในตอนนี้ทั่วโลกก็มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ แต่เราก็ยังทำเรื่องนี้กันได้ช้ามาก ๆ UN เองก็บอกว่าจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีก 100,000 ล้านตันถูกปล่อยเข้าไปในชั้นบรรยากาศในศตวรรษนี้ แล้วก็เป็นหนึ่งในปัญหาโลกร้อนที่เราต้องแก้ไขกันอยู่ในทุกวันนี้ แต่มีข่าวดีก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นสามารถถูกจับแยกออกมาได้ด้วยต้นทุนประมาณ 100 เหรียญ ต่อหนึ่งตัน แต่ประเด็นก็คือแยกมันออกมาแล้วเราจะทำอะไรกับมันต่อ เพราะต้นทุนในการทำลายก๊าซนี้นั้นสูงมาก
สตาร์ทอัพจากแคนาดาที่ชื่อว่า Carbon Engineering (บิล เกตส์ ลงทุนในสตาร์ทอัพนี้) ก็กำลังพยายามทำการทดลองเพื่อที่จะนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาสังเคราะห์ให้เป็นพลังงาน แต่อาจจะไม่สามารถช่วยลดได้มากนักเพราะที่สุดแล้วก๊าซก็จะถูกปล่อยกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศอยู่ดี แต่บิล เกตส์ มองว่า แม้ว่าเราจะยังไม่มีทางเลือกมากนักแต่เราก็ต้องลงมือทำมันอยู่ดี
8.เครื่องตรวจ ECG บนข้อมือมนุษย์ (ECG on your wrist)
ECG คือเครื่องที่หมอใช้ตรวจว่าเรามีโอกาสเกิดโรคหัวใจ เกิดสโตรก หรือเปล่า ซึ่งเป็นการตรวจความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจ สามารถตรวจได้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาล แต่คนที่ตรวจบ่อย ๆ ก็จะมีความเสี่ยงในโรคเหล่านี้ลดลง แต่ตอนนี้การตรวจ ECG สามารถทำได้ใน smart watches แล้ว และ FDA ก็ได้ให้การรับรองแล้วในปี 2017 อย่างแบรนด์ที่เราน่าจะรู้จักกันดีอย่าง Apple Watch GARMIN และแน่นอนว่าในเรื่องความแม่นยำยังคงห่างกับที่เราตรวจตามโรงพยาบาลเพราะอุปกรณ์ที่โรงพยาบาลใช้ กันอยู่มีเซ็นเซอร์ถึง 12 อัน
แต่ใน smart watches นั้นมีเพียงอันเดียว แต่มีสตาร์ทอัพแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า AliveCor เพิ่งได้ไปพรีเซ้นต่อสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าตอนนี้เขาสามารถทำนาฬิกาที่มีเซ็นเซอร์สองอันและสามารถตรวจจับโรคหัวใจวายบางประเภทได้ ถ้าเกิดทำได้จริงอันนี้จะช่วยป้องกันโอกาสการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้เยอะเลยทีเดียว และเราน่าจะเห็นอุปกรณ์นี้ถูกวางจำหน่ายในอีกไม่นาน ซึ่งปัจจุบัน ก็สามรถทำได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
9.สุขาที่ไม่มีท่อระบายน้ำ (Sanitation without sewers)
มีตัวเลขที่น่าสนใจออกมาว่าประชากรราว 1 ใน 3 ของโลก หรือประมาณ 2.3 พันล้านคน ไม่มีห้องน้ำดี ๆ ใช้ อย่าเช่นพี่จีน ที่เรารู้ๆกันอยู่ เนื่องจากข้อจำกัดด้านทรัพยากรต่าง ๆ และจากสาเหตุนี้เองทำให้คนจำนวนมากกินอาหารที่ปนเปื้อนของเสียจากมนุษย์ และในทุกๆปีก็จะมีคนเสียชีวิตจากเรื่องนี้ประมาณเกือบ 1 ล้านคน ตัว บิล เกตส์ เองก็มีส่วนร่วมในเรื่องนี้โดยเขาบอกว่า Toilet Challenge คือการทำยังไงก็ได้ให้เอาส้วมไปอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล พื้นที่ที่เดินท่อไม่ได้ หรือยากจนมาก ๆ
ซึ่งมีส้วมแบบใหม่ที่ออกแบบจาก มหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา ใช้เยื่อชนิดหนึ่ง (membrane) ซึ่งเล็กกว่าแบ็คทีเรียในการช่วยทำความสะอาดและกำจัดของเสีย อีกอันเป็น Biomass Controls ใช้ความร้อนเพื่อเปลี่ยนของเสียให้สามารถนำไปใช้ทำปุ๋ยต่อได้ แต่ปัญหาคือแบบ Biomass Controls นั้นเหมาะกับหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่ใช้กันวันละเป็นหมื่น ๆ คน ส่วนแบบ membrane ก็เหมาะกับใช้ขนาดเล็กมาก ๆ ทำให้ทั้งสองแบบยังไม่ตอบโจทย์ ตอนนี้ก็มีหลายคนที่ร่วมงานกับ บิล เกตส์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับสุขาแบบไร้ท่อ เพื่อให้ใช้ได้จริง ราคาถูก และสามารถใช้กันได้โดยทั่วไป ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะเป็นไรอย่าง
10.ผู้ช่วยเสียงอัฉริยะ (Smooth-talking AI assistants)
อันนี้มาแน่นอน ผู้เล่นรายหลักก็จะมี Google, Alibaba, Amazon ในอีก 1-2 ปีเราจะได้เห็นสินค้าที่สามารถใช้งาน ผู้ช่วย AI เหล่านี้ออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ตอนนี้ Google assistants ก็มีเวอร์ชั่นอัพเกรดที่ชื่อว่า Google Duplex ที่สามารถทำงานได้เหมือนคนมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมากทำให้ ผู้ช่วย AI นั้นเก่งมากขึ้นเยอะ จนสามารถที่จะจองร้านอาหาร ร้านทำผม ให้คุณได้แล้ว แต่ปัญหาหลักของ AI assistants (ผู้ช่วย AI) คือ มันยังไม่สามารถเข้าใจบริบทของภาษามนุษย์ได้ทั้งหมด แต่ในอนาคตเราอาจจะได้เห็น AI assistants เป็นได้ตั้งแต่ พี่เลี้ยงเด็ก ครู หรือแม้กะทั้งเป็นเพื่อนกับเราก็เป็นได้
เป็นยังไงกันบ้างคะเพื่อนๆ สำหรับ 10 เทคโนโลยีแห่งอนาคต บ้างอย่างก็เกิดขึ้นแล้วบ้างอยากก็กำลังทำการพัฒนากันอยู่ เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง ก็สามารถเข้ามาคอมเม้นพูดคุยกับพวกเราได้เลยนะคะ สุดท้ายนี้ หากถูกใจบทความของพวกเราอย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะคะ