4ภารกิจพิชิตดาวอังคาร ปี 2020

การไปเยือนดาวอังคารนับว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ท้าทายและเป็นเป้าหมายในการเดินทางขององค์กรด้านอวกาศทั่วโลก เหตุผลหนึ่งก็เพราะว่ามนุษย์โลกอย่างพวกเราคาดหวังว่าดาวอังคารจะเป็นบ้านหลังที่สองต่อจากโลกของเรา เนื่องด้วยดาวอังคารมีลักษณะภูมิอากาศและลักษณะภูมิประเทศคล้ายคลึงกับโลกของเรามากที่สุดในระบบสุริยะ จึงทำให้มันกลายเป็นความหวังของมวลมนุษยชาติที่ย้ายที่ถิ่นฐานไปสร้างอาณานิคมบนดาวอังคาร

ในแต่ละปีๆนั้นจะมีการคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศอย่างมากมายที่จะทำให้วิวัฒนาการด้านอวกาศของแต่ละประเทศสามารถเดินหน้าสำรวจและค้นพบอะไรใหม่ๆในอวกาศ เป้าหมายของการสำรวจอวกาศส่วนใหญ่แน่นอนว่าต้องหนีไม่พ้นการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก รวมไปถึงสถานที่ที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้

สิ่งมีชีวิตนอกโลก
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Stefan Keller

ในอดีตที่ผ่านมาเราเรียนรู้ประวัติศาสตร์กันมายาวนานว่าโลกของเรานั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและชีวภาพอยู่ตลอดเวลา และเมื่อถึงในยุคปัจจุบันนี้ ยุคที่สิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้น แต่ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลง ส่งผลให้โลกของเรานั้นทรุดโทรมไปมาก และยังมีนักวิทยาศาสตร์บางคน คำนวณพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติที่หลงเหลืออยู่บนโลกของเราว่า ในวันหนึ่งมีโอกาสที่มันจะหมดไป และเมื่อถึงวันนั้น มนุษย์อย่างพวกเราจะเอาอะไรกิน จะเอาอากาศที่ไหนหายใจ และจะสามารถอยู่บนโลกนี้ได้หรือไม่ นี่อาจเป็นเหตุผลที่หลายองค์กรด้านอวกาศในโลกของเราพยายามค้นหาดาวดวงต่างๆที่สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ได้

และที่น่าเป็นไปได้มากที่สุดจากการสำรวจในแต่ละครั้ง ก็พบว่าดาวอังคาร ดาวเพื่อนบ้านของเรานี่แหละที่น่าจะมีสภาพและบรรยากาศใกล้เคียงกับโลกของเรามากที่สุด จนมนุษย์ต้องทำการทดลองการดำรงชีวิตภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมือนดาวอังคาร และพยายามคิดค้นวิธีปลูกพืชและการสร้างอาหารเพื่อที่จะให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตบนดาวอังคารได้อย่างยาวนานที่สุด

Launch Windows
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Reimund Bertrams

สำหรับการเดินทางขึ้นสู่อวกาศไม่ใช่เพียงแค่ผลิตยานอวกาศเจ๋งๆขึ้นมา มีเทคโนโลยีรายล้อม และมีฟังก์ชันที่ครอบคลุมแต่เพียงเท่านั้น การขึ้นบินของยานอวกาศยังต้องดูช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งช่วงเวลานั้น อาจจะต้องรอ 10 ปี มีครั้ง หรืออีกหลายรอบปีถึงจะมีอีก และในปี 2020 นี้เอง นับว่าเป็นปีที่ดีต่อการเดินทางไปยังอวกาศ จากการคำนวณของวิศวกรอวกาศคำนวณช่วงเวลาที่เหมาะสมและเป็นช่วงเวลาที่จะประหยัดเวลาการเดินทางมากที่สุด ซึ่งพวกวิศวกรอวกาศเรียกช่วงเวลานี้ว่า Launch Windows ซึ่งช่วงเวลานี้เองจะเกิดขึ้นทุกๆ 26 เดือน และในปี 2020 นี้ก็ตรงกับเดือนสิงหาคม แน่นอนว่าเหล่านักดาราศาสตร์จึงรีบคิดค้นและพัฒนาและถือเอาเวลาในปี 2020 เป็นฤกษ์งามยามดีที่จะส่งจรวดและยานอวกาศของตัวเองไปดาวอังคาร ซึ่งก็มีทั้ง 4 สัญชาติด้วยกันที่จะส่งยานอวกาศไปเยือนดาวอังคารในปีนี้

ยานลำที่ 1 Mars 2020 

ยาน Mars 2020 เป็นยานอวกาศของนาซ่าที่นาซ่าคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้มันสำรวจจุลินทรีย์และน้ำบนดาวอังคาร โดยมีเป้าหมายในการลงจอดที่ Jezero ซึ่งเป็นแหล่งที่เชื่อว่าในอีดนั้นน่าจะเคยมีน้ำมาก่อนเพราะพบร่องรอยของแม่น้ำและทะเลสาบ การสำรวจของ Mars 2020 จะใช้รถโรเวอร์ที่มีลักษณะคล้าย คิวริออซิตี้ ในการสำรวจและถ่ายภาพพร้อมทั้งเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือแขนจักรกล นอกจากนี้รถโรเวอร์คันนี้ยังทดสอบเทคโนโลยีสังเคราะห์ออกซิเจนจากบรรยากาศของดาวอังคารที่เต็มไป ด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ว่าสามารถสังเคราะห์ออกมาได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อนำข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการดำรงชีวิตของเราบนดาวอังคารในอนาคต Mars 2020 ยาน Mars 2020 เป็นยานอวกาศของนาซ่าที่นาซ่าคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้มันสำรวจจุลินทรีย์และน้ำบนดาวอังคาร โดยมีเป้าหมายในการลงจอดที่ Jezero ซึ่งเป็นแหล่งที่เชื่อว่าในอีดนั้นน่าจะเคยมีน้ำมาก่อนเพราะพบร่องรอยของแม่น้ำและทะเลสาบ การสำรวจของ Mars 2020 จะใช้รถโรเวอร์ที่มีลักษณะคล้าย คิวริออซิตี้ ในการสำรวจและถ่ายภาพพร้อมทั้งเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือแขนจักรกล นอกจากนี้รถโรเวอร์คันนี้ยังทดสอบเทคโนโลยีสังเคราะห์ออกซิเจนจากบรรยากาศของดาวอังคารที่เต็มไป ด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ว่าสามารถสังเคราะห์ออกมาได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อนำข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการดำรงชีวิตของเราบนดาวอังคารในอนาคต

Mars 2020
ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ news.rambler.ru

ยานลำที่ 2 Mars Global Remote Sensing Orbiter and Small Rover (HX-1)

Mars Global Remote Sensing Orbiter and Small Rover (HX-1) เป็นโครงการยานอวกาศของประเทศจีนที่จะส่งยานอวกาศลำนี้ไปโคจรรอบดาวอังคารและจะนำหุ่นยนต์ไป ลงจอดบนดาวอังคารเพื่อทำการสำรวจสภาพพื้นผิวและถ่ายภาพบรรยากาศของดาวอังคาร ซึ่งนี่นับว่าเป็นโครงการแรกของประเทศจีนที่จะส่งยานอวกาศไปลงจอดบนดาวอังคาร เพราะการลงจอดบนดาวอังคารนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากนาซ่าและรัสเซีย ก็ไม่เคยมีใครนำยานลงจอดได้สำเร็จเลย

Mars Global
ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ popsci.com

ยานลำที่ 3 ExoMars

ExoMars เป็นยานอวกาศของยุโรปที่คราวนี้ยุโรปได้ร่วมมือกับรัสเซียเพื่อทำการสร้าง ExoMars ไปสำรวจดาวอังคาร ซึ่งมีเป้าหมายไปโคจรรอบดาวอังคารและเหลือภารกิจที่จะลงจอดบนดาวอังคารเพื่อทำการสำรวจ ในครั้งนี้ยุโรปและรัสเซียได้คิดค้นระบบลงจอดที่ประกอบด้วยแพลตฟอร์มการปล่อยหุ่นยนต์ชื่อว่า Kazachok และหุ่นยนต์ที่ยานลำนี้จะปล่อยลงไปลงจอดบนดาวอังคารชื่อว่า โรซาลินด์ แฟรงคลิน ซึ่งเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่ได้ล่วงลับไปแล้ว และเขาได้สร้างผลงานดีๆด้านวิทยาศาสตร์ไว้อย่างมากมาย หุ่นยนต์ตัวนี้มีภารกิจในการตรวจและสำรวจสารอินทรีย์

ExoMars

ยานลำที่ 4 Hope Mars Mission หรือ Emirates Mars Mission

ยาน Hope Mars Mission หรือ Emirates Mars Mission ดูจากชื่อก็รู้แล้วว่าเจ้าของโครงการเป็นคนตะวันออกกลาง และแน่นอนว่านี่คือยานอวกาศสัญชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จากการที่ ศูนย์อวกาศโมฮัมเหม็ด บิน ราชิด (Mohammed Bin Rashid Space Centre) จับมือร่วมกับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ในการร่วมกันสร้างยานอวกาศที่จะไปเยือนและโคจรรอบดาวอังคาร เพื่อศึกษาสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และบรรยากาศต่างๆบนดาวอังคาร เพื่อเป็นข้อมูลนำมาศึกษาว่าหากมนุษย์ต้องไปอาศัยอยู่บนดาวอังคารนั้น จะสามารถอยู่ภายใต้สภาวะอากาศแบบนั้นได้หรือไม่

Hope Mars Mission
ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ medium.com

และนี่คือ 4 ภารกิจที่ในปี 2020 นี้จะไปพิชิตดาวอังคาร เพื่อนๆมาร่วมเป็นกำลังใจให้กับยานสำรวจทั้ง 4 ลำนี้กันด้วยนะคะ เพราะเชื่อว่าถ้าหากการสำรวจเสร็จสิ้น ภารกิจสำเร็จเมื่อไร มนุษย์โลกอย่างพวกเราก็น่าจะได้ข้อมูลดีๆเพิ่มเติมมาพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศกันอีกต่อไป สำหรับวันนี้อย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะคะ