การเดินทางในอวกาศของมวลมนุษยชาติตั้งแต่ในอดีต นับตั้งแต่การขึ้นบินของยูริ กาการิน ในปี พ.ศ. 2504 เรามักจะเห็นแต่การพัฒนายานอวกาศที่เป็นของหน่วยงานทางภาครัฐหรือการร่วมมือกันของภาครัฐเท่านั้น จะมีก็แต่สมัยนี้ที่เราพอจะเห็นการตื่นตัวของภาคเอกชนอย่างเช่น Space X ที่ภายหลังได้มาร่วมมือกับนาซ่าในการทำภารกิจต่าง แต่แน่นอนว่าในอีกไม่นานนี้ เราจะเห็นยานอวกาศส่วนตัว ใช่แล้วค่ะส่วนตัว เหมือนกับรถยนต์ส่วนตัว เครื่องบินส่วนตัวนั่นแหละ ยานอวกาศส่วนตัวนี้จะออกจากศูนย์กลางด้านอวกาศในฟลอริดาไปยังสถานีอวกาศ
ในครั้งหนึ่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้สหรัฐอเมริกาได้ส่งลูกเรือขึ้นไปยังอวกาศพร้อมกับยานอวกาศของรัสเซีย ซึ่งการขึ้นบินในครั้งนั้นไม่ได้ทำให้สหรัฐอเมริกาภาคภูมิใจเท่าไรนัก เพราะแน่นอนว่า เขาขึ้นไปกับยานอวกาศรัสเซีย ประเทศมหาอำนาจที่ครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นคู่แข่งทางด้านอวกาศกันมาก่อน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันรัสเซียกับสหรัฐอเมริกาจะจับมือกันทำภารกิจต่างๆ อย่างเช่น สถานีอวกาศ หรือภารกิจอื่นๆ แต่การที่สหรัฐอเมริกานั้น ฝากลูกเรือไปกับยานของรัสเซีย ก็ยังไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่ามันคือความสำเร็จในการส่งนักบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา
และนี่หรือเปล่า เป็นแรงผลักดันให้สหรัฐอเมริกาเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาได้มีไอเดียในการเปิดการประกวดอันน่าท้าทายให้กับบริษัทเอกชนและผู้มีความรู้ความสามารถต่างๆ มาร่วมกันแข่งขันในการสร้างยานอวกาศเชิงพาณิชย์ทีจะมีภารกิจขนส่งลูกเรือไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ
การแข่งขันกันประลองความคิดและวัดฝีมือในการสร้างยานอวกาศเชิงพาณิชย์ในครั้งนี้ตัวเต็งของสนามแข่ง คือ SpaceX และ Boeing การแข่งขันครั้งนี้มีบริษัทเอกชนมากมายที่รับคำท้านี้และนำไประดมความคิดที่สร้างยานอวกาศที่ใช้ขนส่งมนุษย์ขึ้นไปยังบนอวกาศ โดยครั้งนี้เองเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศโดยบริษัทเอกชนอย่างแท้จริง นาซ่าให้โอกาสและอิสระในการออกแบบและการผลิตภายใต้งบประมาณที่รัฐบาลกำหนด และที่สำคัญบริษัทไหนที่ชนะก็จะได้เป็นเจ้าของของยานอวกาศนั้นเพื่อเปิดใช้บริการขนส่งสาธารณะเหมือนยานพาหนะที่เราใช้กันทุกวันนี้ แต่ละบริษัทนั้นจะต้องคิดค้นตั้งแต่การยิงจรวดเพื่อนำยานอวกาศขึ้นไปสู่ฟากฟ้า
การคิดค้นระบบกันความร้อนเพื่อป้องกันการเสียดสีของชั้นบรรยากาศ ระบบเทียบท่าและเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศ ไปจนถึงห้องเครื่องผู้โดยสาร เก้าอี้ จอควบคุม และชุดนักบินอวกาศ ซึ่งทั้ง SpaceX และ Boeing ก็จะมีการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์และออกแบบมาได้อย่างน่าสนใจ Boeing จะใช้ United Launch Alliance Atlas V เพื่อส่ง CST-100 Starliner ขึ้นไปยังอวกาศ ส่วน SpaceX จะส่งยานดรากอนไปกับ จรวด Falcon9
การพัฒนาการสร้างยานอวกาศเอกชนของทั้ง SpaceX และ Boeing ได้มีนักบินอวกาศมาร่วมในการทดลองและทดสอบรวมถึงฝึกฝนร่างกายในการบังคับยานอวกาศทั้ง 2 บริษัท โดยมีนักบินอวกาศทั้งหมด 4 คน ได้แก่ Eric Boe, Bob Behnken, Suni Williams และ Doug Hurley ได้ทำงานร่วมกับและฝึกฝนยานอวกาศทั้งสอง โดยโปรแกรมการฝึกอบรมของพวกเขาจะแบ่งนักบินออกเป็นบริษัทละ 2 คน คือ Boe และ Williams จะยังคงฝึกฝนให้กับ Starliner ของบริษัท Boeing ต่อไป
Behnken และ Hurley จะฝึกฝนให้กับยาน Crew Dragon ของ SpaceX สำหรับยานอวกาศของ SpaceX ภายใต้การฝึกฝนของ Behnken และ Hurley พวกเรา eduHUB เคยเสนอเรื่องราวเหล่านี้มาแล้วหาเพื่อนอยากรับชมข้อมูลที่ลึกกว่านี้เกี่ยวกับ SpaceX สามารถเข้าไปรับชมที่ช่องยูทูปของตัวเองได้ และนี่เองก็คือจุดเริ่มต้นของการแข่งขันของบริษัท SpaceX และ Boeing ที่จะนำนักบินอวกาศไปสู่สถานีอวกาศได้ก่อน
สำหรับยาน Starliner ของบริษัท Boeing นั้นออกแบบมาให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 7 คน ซึ่งมันจะสามารถบินขึ้นโดยอัตโนมัติโดยไม่ใช้คนขับตั้งแต่การยิงจรวดที่ฐานฟลอริด้าไปจนถึงการวนกลับมาสู่โลกของเราอีกครั้ง ซึ่งจะตั้งเป็นแผงควบคุมอัตโนมัติให้มันสามารถบินได้ด้วยตนเอง ดังนั้นนักบินอวกาศที่ขึ้นไปกับยานลำนี้ จึงมีหน้าที่แค่นั่งบัญชาการ และกดเมนูการบินด้วยตัวเองเพียงเท่านั้น
ภายในยานลำนี้จะมีแผงควบคุมและมีแท็ปเล็ตของยี่ห้อ Sumsung ในขณะที่ ยาน Dargon ของ SpaceX มีหน้าจอควบคุมเหมือนในรถ Tesla แต่ถึงอย่างไรก็ตามทั้งสองบริษัทมีความเหมือนกันตรงที่ ระบบทุกอย่างเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งต่างจากยานอวกาศสมัยก่อน ที่ต้องอาศัยนักบินอวกาศในการบังคับและขับเคลื่อนยาน จนนักบินอวกาศบางคนสงสัยในเทคโนโลยีสมัยนี้ว่า นี่คือการลดบทบาทของนักบินอวกาศหรือไม่ แต่เพื่อนๆคิดเหมือนกันไหมว่า เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติเหล่านี้สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพวกเรา และแน่นอนว่า กาลเวลาที่ผ่านพ้นมาจากในอดีต ย่อมทำให้ระบบต่างๆในยานอวกาศนั้นดีขึ้น ซึ่งในอนาคต มันก็จะต้องพัฒนาไปให้มากกว่านี้อีก
ดังนั้นการที่หลายๆระบบเป็นระบบอัตโนมัติ ก็คือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้นักบินอวกาศทำงานง่ายขึ้น และแทนที่เหล่านักบินอวกาศพวกนั้นจะต้องมารับผิดชอบกับการบังคับยาน ให้พวกเขากันมาให้ความสำคัญกับการสำรวจ การวิเคราะห์ และการทดลองสิ่งต่างๆที่ยานได้พบเจอในอวกาศดีกว่า เพราะมันจะเป็นตัวชี้วัดในการสร้างยานเหล่านั้นว่า ยานอวกาศเมื่อผลิตแล้วมีประโยชน์อย่างไรสามารถนำไปใช้สำรวจหรือวิเคราะห์ข้อมูลใหม่ๆมาได้มากแค่ไหน แต่ถึงอย่างไรทั้งสองบริษัทก็ไม่ได้สร้างยานให้มีแต่ระบบอัตโนมัติเท่านั้น แต่เขายังต้องสร้างระบบบังคับด้วยตัวนักบินอวกาศมาด้วยเพื่อป้องกันความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้น
การที่นักบินอวกาศได้ทดลองขึ้นไปกับ Starliner และ Dragon เพื่อไปสถานีอวกาศนานาชาตินั้นจะใช้เวลาไม่นานเท่าการไปดวงจันทร์หรือดาวอังคาร ซึ่งการเดินทางไปสถานีอวกาศนานาชาติจะใช้เวลาแค่ประมาณ 2 วันเท่านั้น ซึ่งการออกแบบภายยานทั้งสองนั้น ได้ออกแบบให้มีบริเวณที่นักบินจะได้ยืดเหยียดขา และสามารถปรับอิริยาบถให้สบายหรือสามารถพักผ่อนได้
แต่การพักผ่อนหรือการถอดชุดออกนั้นนักบินอวกาศจะต้องสลับเวรกันเพื่อที่จะเหลือนักบินอวกาศไว้อย่าง น้อย 1 คน ที่จะคอยดูแลการทำงานของยานอวกาศและดูแลการติดต่อส่งสัญญาณมายังโลกของเรา เที่ยวบินไปยังสถานีอวกาศนานาชาตินั้นใช้เวลาไม่นานเท่าไรนัก ดังนั้นนักบินอวกาศส่วนใหญ่จะไม่ค่อยถอดชุดกันเพราะว่าชุดนั้นกว่าจะถอดหรือใส่แต่ละครั้งมันค่อนข้างลำบาก
ในการพัฒนายานอวกาศของสองบริษัทนี้ยังคงทำอยู่อย่างต่อเนื่องและ SpaceX ก็มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนายานอวกาศที่จะสามารถขนส่งนักบิน นักวิทยาศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ และยังตั้งเป้าในการสร้างยานอวกาศที่จะพาลูกเรือที่เป็นนักท่องเที่ยวไปเยือนดวงจันทร์และดาวอังคาร
ในส่วนของบริษัท Boeing ก็กำลังพัฒนายานอวกาศของตนเองที่ได้รับการทดสอบให้กลายเป็นแท็กซี่อวกาศ โดยใช้รับส่งนักบินอวกาศไปกลับสู่สถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งจะให้บริการกับทุกคนที่สนใจและมีความรู้ความสามารถในการเอาตัวรอดในอากาศได้ โดยตั้งเป้าค่าใช้จ่ายไปและกลับอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านบาทต่อที่นั่ง และมีแนวโน้มว่าจะเปิดให้บุคคลทั่วไปใช้ในการขึ้นไปเยี่ยมชมอวกาศ หรือเข้าไปสัมผัสดวงจันทร์อย่างใกล้ชิด น่าจะถึงเวลาแล้วที่เพื่อนๆต้องเลือกว่าอยากจะขึ้นไปกับยานอวกาศบริษัทไหน จะเป็น Starliner ของบริษัท Boeing หรือ ยาน Dargon ของ SpaceX สำหรับคนที่ชื่นชอบอวกาศมากๆ พลาดไม่ได้เลยนะคะ แต่ก่อนจะไป อย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะคะ