“ดวงตาจักรวาล”

เพื่อนๆรู้หรือไม่ว่าโลกของเราเริ่มมีการออกเดินทางสำรวจอวกาศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 และในการสำรวจอวกาศจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีหลายอย่าง เช่น จรวด หุ่นยนต์สำรวจ และสถานีอวกาศ กล้องโทรทรรศ์วิทยุ ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านั้นจำเป็นต้องใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและความร่วมมือกันระหว่างประเทศ ในบางครั้งเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาได้ก็ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าอย่างมากแต่มนุษย์ยังเดินทางไปได้ไกลสุดเพียงแค่ดวงจันทร์ใน ภารกิจอะพอลโลซึ่งดำเนินการในปี ค.ศ. 1960 และ ค.ศ.1970 อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 มนุษย์สามารถสร้างสถานีอวกาศที่โคจรรอบโลกได้โดยมนุษย์สามารถขึ้นไปอยู่บนสถานีอวกาศได้ นานหลายเดือน

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. ที่ผ่านมา ประเทศจีนได้ดำเนินการระยะทดลองในการใช้งานกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่มีขนาดใหญ่และทำงานได้ว่องไวที่สุดในโลกเสร็จสิ้นไปเมื่อวันเสาร์ (11ม.ค.) และจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการ หลังทดลองใช้นานถึง 3 ปี และพบประสิทธิภาพอย่างมากมายของกล้องตัวนี้

กล้องโทรทรรศน์ยักษ์ตัวนี้จะทยอยเปิดให้นักดาราศาสตร์ทั่วโลกเข้าใช้งาน ซึ่งถือเป็นการเปิดใช้เครื่องมืออันทรงพลังที่จะไขความลับต่างๆ ที่อยู่รายล้อมจุดกำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล

เสิ่นจู๋หลิน เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (China’s National Development and Reform Commission) เปิดเผยในการประชุมเมื่อวันเสาร์ (11 ม.ค.) ว่าตัวบ่งชี้ทางเทคนิคทุกด้านของกล้องสามารถแตะระดับหรือไต่ทะลุระดับที่วางแผนไว้ ทั้งยังมีสมรรถนะในการปฏิบัติภารกิจแตะระดับชั้นนำของโลกได้

ฟาสต์ (Five-hundred-meter Aperture Spherical radio Telescope-FAST) เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุจานรับสัญญาณเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 500 เมตร และมีพื้นที่รับสัญญาณขนาดเท่าสนามฟุตบอลประมาณ 30 สนาม กล้องโทรทรรศน์ตัวนี้อยู่ลึกเข้าไปในธรรมชาติ ที่มีภูมิประเทศแบบคาสต์หรือหลุมและเขาสลับกัน โดยอยู่ในหลุมลึกขนาดใหญ่ ในมณฑลกุ้ยโจว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

เจียงเผิง หัวหน้าวิศวกรที่สร้างกล้องฟาสต์ตัวนี้ กล่าวว่าได้สิ้นสุดระยะทดลองใช้งานแล้ว ต่อจากนี้เจ้าหน้าที่จะเปิดให้ใช้งานกล้องเพื่อสังเกตการณ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว และคาดว่าจะมีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ฟาสต์ได้ค้นพบกับ พัลซาร์ (pulsar) หรือเศษซากดาวฤกษ์ความหนาแน่นสูงทั้งหมด 102 ดวง มากกว่าจำนวนพัลซาร์ที่ทีมวิจัยในยุโรปและสหรัฐฯ ค้นพบรวมกันในช่วงเวลาเดียวกัน

นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงความแม่นยำในการบันทึกเวลาของพัลซาร์ มากขึ้นถึงประมาณ 50 เท่าของระดับก่อนหน้า ทำให้สามารถตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงความถี่ต่ำยิ่งยวดได้เป็นครั้งแรก

กล้องฟาสต์ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “ดวงตาจักรวาลจีน” (China Sky Eye) เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก มีความว่องไวในการตรวจจับมากกว่ากล้องปกติถึง 2.5 เท่า และสามารถรับข้อมูลได้สูงสุด 38 กิกะไบต์ต่อวินาที

หลี่เค่อเจีย นักวิทยาศาสตร์สถาบันคัฟลีเพื่อการวิจัยดาราศาสตร์และดาราศาสตร์ฟิสิกส์ (Kavli Institute Astronomy and Astrophysics) มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ระบุว่า กล้องฟาสต์ขยายระยะสำรวจได้ไกลกว่ากล้องทั่วไปที่สามารถสำรวจได้เต็มประสิทธิภาพถึง 4 เท่า ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถค้นพบดาวฤกษ์ต่างๆ ที่ไม่เคยพบมาก่อน รวมถึงปรากฏการณ์ในจักรวาล และกฎของจักรวาล หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตนอกโลกได้

คาร์ล ไฮเลส (Carl Heiles) ศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley) และสมาชิกสภาวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (United States National Academy of Sciences) กล่าวว่า กล้องฟาสต์ได้มอบโอกาสแห่งการปฏิวัติในวงการดาราศาสตร์ โดยเฉพาะจากการระบุตำแหน่งพัลซาร์ และการสังเกตการณ์ของหมู่เมฆระหว่างดาว (interstellar clouds)

หลังคณะนักดาราศาสตร์จีนเสนอการก่อสร้างกล้องฟาสต์ และได้เริ่มก่อสร้างโดยใช้เวลานานกว่า 20 ปี จนเสร็จสิ้นไปเมื่อเดือนกันยายน 2016 โดยมีมูลค่าก่อสร้างเกือบ 1.2 พันล้านหยวน (ราว 5.24 พันล้านบาท)

เหยียนจวิน อดีตผู้อำนวยการหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติ (National Astronomical Observatories) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) และผู้จัดการโครงการฟาสต์ กล่าวว่าด้วยความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นและการลงทุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่เพิ่มมากขึ้น จึงเอื้อให้จีนมีแนวโน้มสร้างคุณูปการมหาศาลต่อเจตจำนงที่มนุษยชาติมีร่วมกัน

ที่ผ่านมา มีนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และปากีสถาน เกือบ 10 ราย เข้ามาทำธุรกิจที่นี่ และคาดว่าจะขยายความร่วมมือระดับทั่วโลกที่กว้างขวางขึ้นในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงและเครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล (Very Long Baseline Interferometer-VLBI) หลังเปิดการใช้งานกล้องตัวนี้อย่างเป็นทางการ

เพื่อสมรรถนะของกล้องฟาสต์ จึงมีการย้ายถิ่นฐานประชาชนบริเวณใกล้เคียงราว 7,000 คน ก่อนจะย้ายไปยังเมืองซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งกล้องราว 10 กิโลเมตร โดยได้สร้างสวนสนุกดาราศาสตร์ขึ้นโดยรอบจุดตั้งกล้อง ซึ่งดึงดูดผู้สนใจและนักท่องเที่ยวจำนวนมากนอกจากนั้น หนานเหรินตง หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ผู้เลือกทำเลที่ตั้งกล้องฟาสต์ และดูแลการก่อสร้าง ได้เสียชีวิตไปเมื่อปี 2017 จากอาการเจ็บป่วย ด้วยวัย 72 ปี จีนจึงประกาศเกียรติหลังมรณกรรมแก่นาย หนาน หลายตำแหน่งด้วยกัน