ล่าสุดของญี่ปุ่น ยานไฮยาบูซะ 2 ที่ได้ลงจอดบนดาวเคราะห์น้อยริวกุสำเร็จและกำลังเดินทางกลับมายังโลกของเรา
ตามความเป็นจริงแล้วประเทศญี่ปุ่นเท่าที่เรารู้จักมาค่อนข้างที่จะเป็นประเทศที่พัฒนาด้านเทคโนโลยีต่างๆเป็นอันดับต้นๆของโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านรถยนต์ หุ่นยนต์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆต่างๆ แต่น่าแปลกใจมากว่าทำไมในด้านอวกาศ ญี่ปุ่นยังคงล้าหลังประเทศอื่นๆอยู่มาก ถ้าเทียบกับประเทศจีน หรือประเทศอื่นๆที่ทยอยส่งยานอวกาศเข้าสู่ห้วงอวกาศกันอย่างมหาศาล รวมไปถึงงบประมาณของประเทศญี่ปุ่นที่มีเพื่อสนับสนุนงานการพัฒนาด้านอวกาศก็มีน้อยมากหากเทียบกับประเทศอื่นๆ
แต่ยังไงก็ตามญี่ปุ่นเองก็มีองค์การที่คอยพัฒนางานด้านต่างๆในอวกาศนั่นก็คือ องค์การวิจัยและพัฒนาการสำรวจอวกาศ หรือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า JAXA (ย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า Japan Aerospace eXploration Agency) ที่เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2003 และก็ได้มีผลงานการผลิตยานอวกาศไฮยาบูซะ 1 และยายอวกาศไฮยาบูซะ 2 ที่ญี่ปุ่นนั้นส่งไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยริวกุ ซึ่งล่องลอยอยู่ในอวกาศระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี และวางแผนในการเก็บตัวอย่างมายังโลกเพื่อทำการสำรวจต่อไป
สำหรับยานไฮยาบูซะ 2 นั้นเกิดจากความสำเร็จของการส่งยานอวกาศไฮยาบูซะ 1 ไปเยือนดาวเคราะห์น้อยอิโตกาวา เมื่อปี 2548 ในครั้งนี้เองจึงคิดจะพัฒนายานให้มีระบบลงจอดที่สมบูรณ์แบบมากว่าเดิมและสามารถเก็บตัวอย่างของดาวเคราะห์น้อยมายังโลก เพื่อพิสูจน์และวิเคราะห์อะไรหลายๆอย่างอันเป็นประโยชน์และเป็นการไขความลับของการกำเนิดจักรวาล และแน่นอนว่าครั้งนี้ญี่ปุ่นจัดเต็มในการผลักดันและพัฒนาไฮยาบูซะ 2 ให้มีเทคโนโลยีที่ล้ำไปกว่าครั้งแรก
เป้าหมายของไฮยาบูซะ 2 ในครั้งนี้อย่างที่บอกไปคือการไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยริวกู โดยวางแผนการนำยานอวกาศลำนี้ขึ้นไปในปี พ.ศ. 2561 แล้วไปทำการโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยเป็นเวลาเกือบ 2 ปี และดำเนินการทำภารกิจเก็บชิ้นส่วนของดาวเคราะห์น้อยกลับมายังโลก ภายในปี 2563 นี้เอง ยานไฮยาบูซะ 2 มีน้ำหนักประมาณ 609 กิโลกรัม ซึ่งใช้พลังงานจากแผงโซล่าเซลล์เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า และตัวยานนั้นเองขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไอออน เดินทางไกลไปยังดาวเคราะห์น้อยริวกุด้วยระยะทางกว่า 300 ล้านกิโลเมตร โดยถ้าหากรวมระยะทางไปกลับแล้วก็รวมคร่าวๆประมาณ 600 ล้านกิโลเมตรเลยทีเดียว
สำหรับยานไฮยาบูซะ 2 นี้เป็นยานไร้นักบินอวกาศซึ่งภายในยานนั้นไม่มีมนุษย์แต่มีหุ่นยนต์อยู่ในยานถึง 4 ตัว แน่นอนว่าญี่ปุ่นเป็นชาติที่ผลิตหุ่นยนต์ที่ล้ำสมัยในอันดับต้นๆของโลกอยู่แล้ว เขาย่อมต้องนำนวัตกรรมเด็ดของเขาอย่างเช่นหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในภารกิจสำรวจอวกาศอย่างแน่นอน สำหรับหุ่นยนต์ที่ยานไฮยาบูซะ 2 ได้นำขึ้นมานั้น เป็นหุ่นยนต์ที่เตรียมมาพร้อมภารกิจสำรวจพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยริวกุและถ่ายรูปส่งมายังโลกของเรา ประกอบด้วย หุ่นยนต์โรเวอร์ MINERVA-II1 A และ MINERVA-II1 B หุ่นยนต์โรเวอร์ MINERVA-II2 และหุ่นยนต์ MASCOT ซึ่ง 1 ในหุ่นยนต์ 4 ตัวนี้ได้รับความร่วมมือจากองค์การการบินและอวกาศเยอรมัน และเมื่อออกเดินทาง ยานเป็นหุ่นยนต์ที่เตรียมมาพร้อมภารกิจสำรวจพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยริวกุและถ่ายรูปส่งมายังโลกของเรา
สำหรับปฏิบัติการของยานไฮยาบูซะ 2 ที่จะทำการเก็บตัวอย่างพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยริวกูนั้นไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะยานไฮยาบูซะ 2ใช้วิธีการยิงลงไปในดาวเคราะห์น้อย ใช่แล้วค่ะ เพื่อนๆฟังไม่ผิด ใช้วิธีการยิงลงไปที่ดาวเคราะห์เพื่อให้เกิดหลุม โดยตัวยานไฮยาบูซะ 2 จะวนรอบดาวเคราะห์น้อย จนกระทั่งยานลอยตัวห่างจากพื้นดินประมาณ 60 เมตร ก็ทำการยิงลงไป เมื่อยิ่งครั้งหนึ่ง ยานก็จะหลบแรงระเบิดไปอีกด้าน และก็ทำการยิงอีก ซึ่งที่ต้องยิงเพราะว่ายานไฮยาบูซะ 2ต้องสร้างหลุมขนาดใหญ่เพื่อที่จะคำนวณระบบลงจอดได้อย่างแม่นยำ เพราะดาวเคราะห์น้อยริวกูนั้นมีความขรุขระ และพื้นผิวไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้ยานไม่สามารถลงจอดได้เลยทันที
และหลังจากที่ทำการยิงบนพื้นผิวดาวไป มันก็ทำการลงจอดบนพื้นผิวยาวริวกู จากนั้นได้ทำการเก็บตัวอย่างดินจากดาวเคราะห์น้อย ซึ่งดาวเคราะห์น้อยริวกูนั้นเป็นดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ใกล้โลกของเรา ซึ่งมันมีขนาดความกว้างเพียง 1 กิโลเมตร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่ามันน่าจะเป็นดาวเคราะห์น้อยที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับกำเนิดระบบสุริยะของเร า โดยขาดว่ามันน่าจะมีอายุมากกว่าราว 4,600 ปี ดาวเคราะห์น้อยตัวนี้จัดอยู่ในกลุ่มดาวชนิด C-type และจากการวิจัยพบว่ามันมีรูพรุนเยอะมากๆ แถมยังมีน้ำหนักเบา ดังนั้นการเก็บตัวอย่างออกมาจึงไม่เรื่องยาก
สำหรับการเก็บตัวอย่างดินของยานไฮยาบูซะ 2 นั้นจะเก็บผ่านแคปซูลที่มีขนาดประมาณเท่าไม้บรรทัด ซึ่งจะสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 16 กิโลกรัม ซึ่งแคปซูลที่บรรจุตัวอย่างดินตัวอย่างหินนี้จะมีฉนวนกันความร้อนเพื่อป้องกันความปลอดภัยของตัวอย่างดินเมื่อยานกลับมายังโลกของเรา ซึ่งข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้เพื่อที่จะมาศึกษาการกำเนิดระบบสุริยะ ว่าระบบสุริยะของเรานั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ภารกิจนี้ดำเนินการมาเรื่อยจนถึงวันที่12 พฤศจิกายน 2562 ยานไฮยาบูซะ 2 ก็เตรียมการออกจากดาวเคราะห์น้อยเพื่อส่งตัวอย่างต่างๆมายังโลกของเรา นอกจากตัวอย่างของดาวเคราะห์น้อยริวกูแล้ว ยานไฮยาบูซะ 2ยังได้ถ่ายรูปของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ส่งตรงมายังโลกให้พวกเราทุกคนได้เห็นกัน เชื่อว่าตามแผนการแล้วยานไฮยาบูซะ 2จะเดินทางกลับมายังพื้นโลกภายในปี 2563 นี่แน่นอน และจะได้นำตัวอย่างมาทำการทดลองบนพื้นโลกต่อไป
บางคนอาจคิดว่าแค่ดาวเคราะห์น้อยริวกุทำไมญี่ปุ่นจะต้องทุ่มทุนสร้างโดยการจัดโครงการยานอวกาศไปสำรวจและนำตัวอย่างกลับมา อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า ดาวเคราะห์น้อยริวกูมีอายุที่ยาวนานมาก คาดว่ามันอาจจะเกิดมาพร้อมกับระบบุริยะของเรา ดังนั้นการที่นำตัวอย่างของมันมาวิเคราะห์บนโลก เราอาจจะได้คำตอบถึงเหตุการณ์ในอดีตของโลก และระบบสุริยะของเรา
เป็นยังไงกันบ้างคะเพื่อนๆสำหรับเรื่องราวความพยายามของประเทศญี่ปุ่นที่ได้สร้างยานอวกาศที่ล้ำสมัยพาหุ่นยนต์ 4 ตัวไปท่องอวกาศเพื่อเก็บตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยกลับมาวิจัยยังโลก ในอนาคตมีเพื่อนคนไหนอยากเห็นประเทศไทยพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ และส่งยานอวกาศขึ้นไปบ้างคะ เราคาดว่าในอนาคตอาจะนี้แน่นอน รอชมกันนะคะเพื่อนๆ สำหรับวันนี้หากถูกใจคลิปของพวกเรา อย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะคะ