12 อันดับดวงดาว: ที่สุดแห่งความยิ่งใหญ่ในจักรวาล

จักรวาลคือการรวมตัวกันของอวกาศและเวลา ตลอดจนวัตถุต่างๆ ที่รวมอยู่ในนั้น อาทิเช่น ดวงดาวต่างๆ ทั้งดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ หลุมดำ กาแล็กซี และสสารอื่นๆ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นสสารและพลังงานเช่นเดียวกับโลกที่เรารู้จักและอาศัยอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่ทุดสิ่งที่เอ่ยมานี้มีจุดเริ่มต้นมาจากที่เดียวกันนั่นคือลูกไฟเมื่อ 13,700 ล้านปีก่อน ลูกไฟดวงนั้นระเบิดออกมาและขยายตัวเป็นจักรวาลอย่างที่เราเห็นกันอยู่นี้ ซึ่งการที่เราจะรู้ได้ว่าจักรวาลของเรากว้างใหญ่แค่ไหน เราอาจต้องมาดูความยิ่งใหญ่ของดวงดาวแต่ละดวงที่อยู่นั้นในเสียก่อน แล้วคุณถึงจะสามารถจินตนาการถึงความกว้างใหญ่ของมันได้

อันดับที่ 1: ดวงจันทร์ (Moon)

เริ่มแรกเลยก็คือดวงจันทร์ที่เป็นดาวบริวารโลกของเรานั่นเอง ดวงจันทร์นี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3,500 กม. และมีอายุราวๆ 4,500 ล้านปี ซึ่งก็ถือว่าใกล้เคียงกับโลกมาก มีแนวคิดหนึ่งกล่าวไว้ว่าดวงจันทร์เคยเป็นส่วนหนึ่งของโลกมาก่อน เนื่องจากโลกเราโดนดาวเธียอา (Theia) ดาวที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวอังคารพุ่งชน ทำให้ชิ้นส่วนของโลกหลุดออกกลายเป็นดาวอังคารอย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้

อันดับที่ 2: คัลลิสโต (Callisto)

เป็นดาวบริวาณของดาวพฤหัสบดี มันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 4,800 กิโลเมตร ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับดาวพุธมากแต่มีมวลเพียงแค่หนึ่งในสามเท่านั้นเมื่อเทียบกับดาวพุธ เนื่องจากองค์ประกอบส่วนใหญ่ของคัลลิสโตเป็นหินและน้ำแข็ง โดยดาวคัลลิสโตนี้ถูกค้นพบครั้งแรกโดยกาลิเลโอ ในวันที่ 7 มกราคม 1610

ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ arstechnica.com

อันดับที่ 3: ดาวพุธ (Mercury)

ดาวพุธมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,900 กม. ถือเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ อีกทั้งยังอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดอีกด้วย โดยหนึ่งปีของดาวพุธมีแค่ 87.969 วันเท่านั้น ซึ่งนั่นก็คือระยะเวลาที่มันใช้เพื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ในทางกลับกัน ดาวพุธกลับใช้เวลาหมุนรอบตัวเองถึง 58.6461 วัน นั่นหมายความว่าระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจากกลางวันไปเป็นกลางคืนบนดาวพุธจะยาวนานถึง 176 วัน ถือว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านที่ยาวนานที่สุดในระบบสุริยะเลยทีเดียว

อันดับที่ 4: ดาวอังคาร (Mars)

ใหญ่ขึ้นมาหน่อยกับดาวอังคาร ดาวเคราะห์ลำดับที่สี่ในระบบสุริยะของเรา โดยมันมีเส้นผ่านศูนย์อยู่ที่ราวๆ 6,800 กม. ดาวดวงนี้ได้รับสมญานามว่า “ดาวแดง” เพราะองค์ประกอบส่วนใหญ่ในผิวพื้นของดาวดวงนี้เต็มไปด้วยเหล็กออกไซด์ แถมมันยังเคยมีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้เมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน แต่ต่างจากโลกของเราที่มีชั้นบรรยากาศประกอบด้วยออกซิเจน เพราะชั้นบรรยากาศของดาวอังคารประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังคาดว่าน่าจะเคยมีน้ำบนพื้นผิวดาวอังคารมาก่อนด้วย แต่เพราะลมสุริยะทำให้น้ำเหล่านั้นถูกพัดหายไปในอวกาศจนเกือบหมด

อันดับที่ 5: ดาวศุกร์ (Venus)

ถัดมาที่ดาวเคราะห์อันดับสองของระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 12,000 กม. ซึ่งใหญ่กว่าดวงจันทร์ที่อันดับที่ 1 ถึง 3 เท่า แถมยังใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคารในอันดับ 3 และ 4 ถึง 2 เท่าอีกด้วย ดาวศุกร์ถือเป็นดาวเคราะห์หินที่มีองค์ประกอบหลักในชั้นบรรยากาศเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกับดาวอังคาร ดังนั้นอุณหภูมิของดาวดวงนี้ถึงสูงมากทั้งกลางวันและกลางคืน โดยอุณหภูมิสูงสุดสามารถสูงได้ถึง 400 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

อันดับที่ 6: โลก (Earth)

ดวงดาวสีฟ้าที่เราต่างรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ขอเกริ่นเพิ่มเติมนิดหน่อยว่าโลกของเราเป็นดาวเคราะห์ลำดับสามในระบบสุริยะ เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นมากที่สุด และมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 13,000 กม. ถือว่าเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ไม่ใช่เล่นเลยทีเดียว อีกทั้งโลกเรายังเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิต (ตามหลักฐานที่สามารถนำมาพิสูจน์ในปัจจุบัน) คาดว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นประมาณ 4.1พันล้านปีก่อน ซึ่งก็คือหลังจากเกิดโลกเราขึ้นมาได้ประมาณ 400 ล้านปี โดยเผ่าพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดบนโลกใบนี้มีจำนวนทั้งสิ้นถึงราวๆ 7,000 ล้านชีวิต ซึ่งสิ่งมีชีวิตนั้นก็คือมนุษย์เรานี่เอง

อันดับที่ 7: ดาวเนปจูน (Neptune)

ดาวเคราะห์ลำดับสุดท้ายในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุด โดยมันมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50,000 กม. ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสี่เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ทั้งหมดในระบบสุริยะ และมีมวลมากเป็นอันดับสาม เมื่อเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศ์เราจะเห็นดาวเนปจูนเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งนั่นเป็นเพราะองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศบนดาวดวงนี้มีไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน อีกทั้งยังมีอุณหภูมิต่ำสุดได้ถึง -220 องศาเซลเซียส เนื่องจากมันอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด ทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยที่สุดนั่นเอง ถึงกระนั้นที่แกนด้านในดาวดวงนี้กลับร้อนถึง 7,000 องศา ซึ่งมีอุณหภูมิมากกว่าพื้นผิวดวงอาทิตย์เสียอีก

อันดับที่ 8: ดาวเสาร์ (Saturn)

ดาวเคราะห์ลำดับที่หกในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 120,000 กม. ซึ่งมากกว่าโลกเราเกือบ 9 เท่า แถมยังมีมวลมากกว่าถึง 95 เท่าอีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้น ดาวเสาร์กลับมีความหนาแน่นต่ำ เมื่อเทียบกับโลกของเราแล้ว ดาวดวงนี้มีความหนาแน่นเพียงแค่ 1 ใน 8 เท่านั้น หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ ถ้าเราสามารถโยนดาวเสาร์ลงไปในแม่น้ำบนโลกได้ ดาวเสาร์ก็จะไม่จม แต่ลอยอยู่เหนือน้ำ เพราะมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำนั่นเอง ส่วนวงแหวนที่อยู่รอบดาวเสาร์มีองค์ประกอบหลักเป็นหินและน้ำแข็งเรียงตัวกันอยู่ในระนาบเดียวกัน จนเมื่อมองจากระยะไกลจึงเห็นเป็นวงแหวนขึ้นมา ซึ่งวงแหวนนี้มีความกว้างถึง 80,000 กม.เลยทีเดียว แต่วงแหวนนี้มีความหนาแน่นเบาบางมาก โดยเฉลี่ยอยู่ในอัตราส่วน 160 ต่อ 1 หรือก็คือประมาณ 500 กม.เท่านั้น

อันดับที่ 9: ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

มาถึงดาวเคราะห์ลำดับที่ห้าในระบบสุริยะ ดาวดวงนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในดาวเคราะห์ทั้งหมด โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 140,000 กม. ซึ่งมากกว่าโลกเราถึง 11 เท่า อีกทั้งยังมีน้ำหนักมากกว่าโลกถึง 318 เท่า ดาวพฤหัสบดีนี้มีมวลมหาศาลมาก เรียกได้ว่าต่อให้นำดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะมารวมกัน มวลของดาวดวงนี้เพียงแค่ดวงเดียวก็ยังมากกว่าดาวทั้งหมดถึง 2.5 เท่า ซึ่งคาดว่าถ้าหากดาวพฤหัสมีมวลมากกว่านี้อีกสัก 80 เท่า มันอาจส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นจากความดันในแกนกลางดวงจนเกิดเป็นดาวฤกษ์ดวงเล็กๆ ขึ้นมาได้

อันดับที่ 10: ดวงอาทิตย์ (Sun)

และในที่สุด เราก็เดินทางมาถึงดาวฤกษ์ที่อยู่ใจกลางระบบสุริยะของเรา นั่นคือดวงอาทิตย์นั่นเอง ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 1,400,000 ล้านกม. หรือก็คือใหญ่กว่าโลกเรา 109 เท่า อีกทั้งยังมีมวลมากกว่า 330,000 เท่า คิดเป็นมวล 99.86 เปอร์เซ็นต์ของมวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่มีค่ามากต่อดาวเคราะห์ในระบบสุริยะนี้ โดยดวงอาทิตย์มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน นอกจากนั้นจะเป็นฮีเลียมและธาตุหนัก ออกซิเจน คาร์บอน นีออน และเหล็กอีกนิดหน่อย

อันดับที่ 11: หลุมดำยักษ์ทัน 618 (TON 618)

ทัน 618 เป็นหลุมดำยักศ์ที่อยู่ด้านในเควาซาร์ มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 400,000 ล้านกม.และมีมวลมากกว่าระบบสุริยะเรา 66,000 ล้านเท่า ถือเป็นหลุมดำมวลยิ่งยวดประเภท Ultramassive black hole ซึ่งมีขนาดใหญ่มหึมากว่าหลุมดำมวลยิ่งยวดทั่วไป ส่วนเควซาร์ (Quasar) เป็นวัตถุชนิดหนึ่งที่มีแสงสว่างมา เควาซาร์อยู่ห่างจากโลกเราไปราว 10,400 ล้านปีแสง ด้วยระยะห่างขนาดนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าเควซาร์น่าจะเป็นวัตถุโบราณที่ถือกำเนิดขึ้นในช่วงแรกของการก่อกำเนิดเอกภพ เควซาร์มีแรงโน้มถ่วงมหาศาลสามารถก่อให้เกิดมวลก๊าซร้อนที่ไหลเวียนเป็นรูป disk ได้ด้วยอัตราการหมุนที่ความเร็วสูงถึง 7,000 กม.ต่อวินาที

ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ rhiotv.com

อันดับที่ 12: ทางช้างเผือก (Milky Way)

ทางช้างเผือกหรือก็คือกาแล็กซีที่ระบบสุริยะของเราอาศัยอยู่ มีขอบเขตความกว้างอยู่ที่ 105,700 ปีแสง หรือราวๆ 1 ล้านล้านล้านกิโลเมตร และมีดาวฤกษ์อยู่ภายในได้ถึง 4 แสนล้านดวง นักดาราศาสตร์คาดว่าระบบสุริยะของเราน่าจะตั้งอยู่บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพราน (Orion) ห่างจากใจกลางกาแล็กซีไปราวๆ 26,490 ปีแสง