ในจักรวาลที่กว้างใหญ่นั้น อาจจะไม่ได้มีเเค่ โลก ที่มีสิ่งมีชีวิต ยังมีดาวเคราะห์ อีกหลายล้านดวง ที่อาจจะมีความเป็นไปได้ทีจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ นักวิทยาศาสตร์ ต่างก็คาดหวังว่า สักวันนึง อาจจะได้ค้นพบดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลก เเละพบเจอสิ่งมีชีวิตใหม่ๆ จึงได้เกิดโครงการสำรวจอวกาศต่างๆมากมาย รวมไปถึงการใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ ในการสำรวจเเละเฝ้าดูการเปลี่บนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่แทบจะตลอดเวลาในจักรวาล นอกการสำรวจเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เเล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังทำการค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่ ที่สามารถดำรงชีพได้ เพราะมันอาจจะเป็นที่อยู่อาศัยให้กับมนุษย์ในอนาคตอีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ได้พบหลักฐานสำคัญ ที่ชี้ให้เห็นว่า มีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ 2 ดวง ที่โคจรอยู่รอบ teegarden star ดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไปจากระบบสุริยะของเรา 12.5 ปีแสง และเป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เรารู้จัก ความน่าสนใจของการค้นพบในครั้งนี้ ก็คือ ดาวเคราะห์สองดวงนั้น มีลักษณะคล้ายกับโลกของเราเป็นอย่างมาก
ย้อนกลับไปในปี 2003 นักฟิสิกดาราศาสตร์ Bonnard J. Teegarden ได้นำทีมค้นพบ ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เราเพียง 12.5 ปีเเสง ป็นดาวแคระแดงอายุประมาณ 8 พันล้านปี หรือเป็นสองเท่าของดวงอาทิตย์ แต่กลับมีมวลเพียงแค่ 0.08 เท่าของดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้มันสามารถสังเกตได้โดยกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เท่านั้น แม้จะเป็นระบบดาวที่อยู่ใกล้กับระบบสุริยะเป็นลำดับที่ 3 ก็ตาม ดาวฤกษ์นั้นมีชื่อว่า teegarden star ซึ่งตั้งตามผู้ที่ค้นพบ
ดาวฤกษ์ ทีกาเดน สตา เป็นดาวฤกษ์ ทีมีความเก่าเเก่เป็นอย่างมาก นั่นทำให้นักดาราศาสตร์ตั้งข้อสันนิษฐานว่าดาวเคราะห์ที่โคจรรอบก็ต้องมีอายุมากเช่นเดียวกัน ซึ่งนั่น อาจจะหมายถึงการมีอยู่ ของสิ่งมีชีวิตก็เป็นได้ และถ้าหากว่ามีอยู่จริง สิ่งมีชีวิตบนดาวดวงนั้นจะมีช่วงเวลาให้วิวัฒนาการได้นานกว่ามนุษย์บนโลกของเรา เเต่ว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ที่ปัจจุบันเทคโนโลยีของเรายังไม่ก้าวล้ำมากพอที่จะทราบได้ว่ามีใครอาศัยอยู่บนนั้นไหม
เหตุผลที่นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าดาวเคราะห์ทั้งสองมีโอกาสที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ นั่นก็เพราะว่าดาวเคราะห์ทั้งสองโคจรรอบ Teegarden’s star ในบริเวณ Habitable zone หรือพื้นที่ๆ มีสภาพเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต และด้วยความที่ดาวเคราะห์ทั้งสองเป็นดาวเคราะห์หิน ไม่ต่างไปจากดาวเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ นั่นอาจจะหมายถึงมีน้ำในรูปของๆ เหลว ที่อาจปรากฏอยู่บนพื้นผิวได้อีกด้วย
การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบทั้งสองนั้นเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของทีมจากนานาประเทศ นำโดยทีมจาก University of Göttingen ในเยอรมนี ซึ่งได้นำอุปกรณ์ CARMENES ไปติดตั้งไว้กับหอดูดาว Calar Alto ในประเทศสเปน เพื่อส่องดูดาวฤกษ์ขนาดเล็กกว่า 342 ดวง ด้วยวิธี Radial Velocity
วิธีนี้ใช้การ วัดความเร็วในแนวเล็ง โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่า ดาวฤกษ์ซึ่งมีดาวเคราะห์บริวารจะเคลื่อนที่เป็นวงกลมเล็ก ๆ หรืออาจจะเป็นวงรีเล็ก ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ โดยเราจะเน้นศึกษาตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของความเร็วของดาวฤกษ์ว่าเคลื่อนที่เข้าหาหรือกำลังเคลื่อนที่ออกห่างจากโลก โดยสามารถคำนวณได้จากการเปลี่ยนแปลงของเส้นสเปกตรัมของดาวฤกษ์ อันเป็นผลจากปรากฏการณ์ดอพเพลอร์
นักดาราศาสตร์สามารถตรวจวัดหาดาวเคราะห์ที่กำลังโคจรอยู่รอบ ๆ ดาวฤกษ์ดวงนั้นได้จากการตรวจสอบสเปกตรัมที่เกิดการเลื่อนไปทางแดงและทางน้ำเงินสลับกันไปมาอย่างคงที่หลายครั้ง
เส้นทางในการตามหาดาวเคราะห์ทั้งสองนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก นักดาราศาสตร์ต้องแน่ใจในข้อมูลก่อนว่าที่พวกเขาเห็นอยู่นั้นคือดาวเคราะห์จริง ๆ ไม่ใช่สิ่งที่ปะทุออกมาจากดาวฤกษ์ของมัน ซึ่งก็โชคดีที่ Teegarden’s star นั้นค่อนข้างเงียบสงบ ซึ่งช่วยให้งานของนักดาราศาสตร์นั้นง่ายขึ้นมาก แต่ก็ยังต้องรอได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการอีกครั้ง นั่นหมายความว่านักดาราศาสตร์จะต้องส่องกล้องไปสำรวจที่ Teegarden’s star อย่างเรื่อย ๆ เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ค้นพบนั้นเป็นดาวเคราะห์นอกระบบของจริง
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่านักดาราศาสตร์จะยังไม่สามารถสังเกตเห็นดาวเคราะห์ทั้งสองเคลื่อนที่ตัดหน้าดาวฤกษ์ หรือเรียกอีกแบบว่าการ Transit แต่ตำแหน่งของระบบดาว Teegarden’s star นั้นอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับการสังเกตเห็นโลกตัดผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ดังนั้นถ้ามีใครไปอยู่บนดาวเคราะห์ทั้งสอง พวกเขาจะมีโอกาสได้สำรวจโลกขณะเคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้นั่นเอง (ซึ่งนี่คือวิธีที่นักดาราศาสตร์บนโลกใช้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบมากที่สุดในปัจจุบัน)
เเม้ว่าเราอาจจะยังไม่เจอสิ่งมีชีวิต บนดาวเคราะห์ทั้งสอง เเต่ก็ถือว่าเป็นการค้นพบที่น่าสนใจมากทีเดียว เเละถ้า มันสามารถมีสิ่งมีชีวิตอาศัยได้อยู่จริง ไม่เเน่ ในอนาคตมันอาจจะกลายเป็นบ้านหลังใหม่ของมนุษย์เราก็ได้