วิวัฒนาการ Space X

ในปัจจุบันนี้หากพูดถึงธุรกิจด้านอวกาศ คงไม่มีใครไม่รู้จักบริษัท Space X บริษัทเอกชนสัญชาติอเมริกา ที่ก่อตั้งโดยเงินส่วนตัวของ อีลอน มัส ชายผู้เป็นนักประดิษฐ์และวิศวกรที่ปัจจุบันกลายเป็นนักธุรกิจลำดับต้นๆของโลก แถมยังเขาเคยได้รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ จากการที่เขาเคยช่วยเหลือผู้ประสบภัยในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย

อีลอน มัส นับว่าเป็นชายคนหนึ่งที่มีความสามารถและประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน ซึ่งทาง eduHUB ของเราก็เคยนำเสนอเรื่องราวประวัติของชายคนนี้มาแล้วถ้าเพื่อนๆสนใจสามารถเข้าไปรับชมในช่องของเราได้ และสำหรับวันนี้เราจะไม่ได้มาพูดถึงอีลอน มัส แต่เราจะมาพูดถึงบริษัทของเขา นั่นก็คือ Space X วันนี้เราจะมาดูกันว่า Space X มีการพัฒนาเทคโนโลยีอะไรขึ้นมาบ้าง และมีวิวัฒนาการอย่างไร

อีลอน มัส
ภาพอีลอน มัส – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ techsauce.co

สำหรับ Space X เกิดขึ้นจากการที่ชายคนหนึ่งมีความฝันว่าอยากจะพาประชากรโลกไปดาวอังคารสักครั้ง ซึ่งต่อมา เขาได้คิดค้นและพัฒนาอย่างหนัก โดยใช้เงินส่วนตัวของตัวเองในการก่อตั้ง Space X ขึ้นมา ซึ่งการเดินทางของ Space X สู่ห้วงอวกาศนี้ได้เริ่มจากเขาสร้างจรวดขนาดเล็กที่ฐานปล่อยจรวดกลางทะเล จนในปัจจุบันได้ร่วมงานและเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของนาซ่า จากวันนั้นถึงวันนี้ Space X เติบโตมาอย่างไร มีจรวดอะไรบ้างที่เขาได้พัฒนามา เรามาชมกันเลยค่ะ

The Falcon1 จรวดตัวแรกของ Space X ที่มีขนาด 1,480 ปอนด์ ซึ่ง Space X ได้ส่งมันขึ้นไปยังอวกาศตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปี 2552 โดยก่อนที่มันจะได้ขึ้นไปยังวงโคจรของโลกนั้น ได้มีการทดลองยิงก่อนหน้านั้นแล้ว แต่มันก็ไม่สามารถขึ้นไปยังวงโคจรของโลกได้สำเร็จ จนกระทั่งครั้งสุดท้าย ครั้งที่ 5 เจ้า Falcon1 ก็ได้ส่งดาวเทียม RazakSAT ของมาเลเซียขึ้นไปยังวงโคจรได้สำเร็จ โดยมันถูกยิ่งออกจากเกาะ Omelek ในสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชล

The Falcon1
ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ universetoday.com

The Falcon 9 จรวดตัวต่อมาของ Space X ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจเพราะหลายคนนั้นได้เริ่มฮือฮาจากการที่ Space X สามารถยิงจรวจ Falcon1 ได้สำเร็จและนับว่าเป็นบริษัทเอกชนรายแลกที่พัฒนาจรวดได้อย่างรวดเร็ว สำหรับ Falcon9 นั้นมันพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และสามารถนำพาอุปกรณ์ต่างๆขนาดใหญ่ขึ้นไปยังห้วงอวกาศได้ ซึ่งมีน้ำหนักถึง 13,150 ปอนด์ ใหญ่กว่า Falcon1 เกือบถึง 10 เท่า และครั้งนี้เอง Space X ได้เริ่มทำธุรกิจอย่างจริงจังในการขนส่งสิ่งของไปยังอวกาศ

ประจวบเหมาะพอดีกับในช่วงนั้นที่นาซ่ากำลังต้องการจรวดที่จะขนส่งยานอวกาศขึ้นไปเทียบท่ากับสถานีอวกาศ จึงเป็นโอกาสของ Space X ที่จะได้ร่วมงานกับนาซ่าครั้งแรก Falcon9 ได้ทำหน้าที่ส่งยานอวกาศ Dragon จากสถานี Cape Canaveral Air Force Station ให้เข้าไปเทียบท่ากับสถานีอวกาศของนาซ่าอย่างปลอดภัย ซึ่งต่อไป Space X ก็ได้ทำการให้บริการขนส่งเสบียงให้สถานีอวกาศนานาชาติอีกหลายครั้งรวมถึงขนส่งดาวเทียมของบริษัทต่างๆขึ้นสู่ห้วงอวกาศเช่นเดียวกัน

Cape Canaveral Air Force Station
ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ spacex.com

จรวดใช้ซ้ำ จากการที่ Space X ประสบความสำเร็จในการทำตัวเป็นยานพาหนะขนส่งสิ่งต่างๆขึ้นสู่อวกาศ ทำให้เข้าคิดค้นและพัฒนาต่อว่า จรวดต่างๆที่ยิงขึ้นไปนั้นส่วนใหญ่จะระเบิดหรือสุดท้ายก็แตกสลายกลับมายังโลก ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตจรวดขึ้นใหม่ในการขนส่งครั้งต่อไป อีลอน มัส จึงคิดว่า จะทำยังไงให้การขนส่งนั้นสามารถทำได้รวดเร็ว เขาจึงคิดว่า ถ้าจรวดนั้นไปอย่างปลอดภัยและสามารถกลับมาได้อย่างปลอดภัย เราก็จะสามารถใช้จรวดนั้นต่อไป

เมื่อเขาคิดได้แบบนี้ก็เลยเกิดการพัฒนา Grasshopper จรวดที่สามารถขึ้นและลงเองได้ เมื่อการทดลองของจรวดลำนี้สำเร็จ เขาจึงนำมาพัฒนาใน Falcon9 ในเวอร์ชั่น Falcon9.1.1 ที่ทำภารกิจส่งดาวเดียวดวงหนึ่งไปชั้นบรรยากาศ และสามารถพาตัวเองกลับมาได้ที่บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก และมันก็จมลงไปในทะเล แต่นับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการที่จรวดสามารถกลับมายังโลกได้

Grasshopper
ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ spacex.com

Space X ยังไม่หยุดพัฒนาเพียงเท่านี้เพราะเขาได้ทำการวิเคราะห์มาแล้วว่า หากจะส่งจรวดให้กลับมายังโลกในบริเวณพื้นดิน อาจสร้างความเสียหายให้กับโลกของเรามากเพราะผลกระทบของมันอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากมาย ดังนั้นทางออกของการนำจรวดกลับมายังโลกได้คือลงในน้ำทะเล

ซึ่งจากการวิเคราะห์ครั้งนี้เอง Space X จึงมีการพัฒนาฐานจรวดลอยน้ำ แต่จากการทดลองให้จรวดลงจอดหลายครั้ง ฐานลอยน้ำก็ไม่สามารถรองรับแรงกระแทกของจรวดได้ จน Space X เปลี่ยนมาพัฒนาฐานลงจอดบนพื้นดินแทน และครั้งนี้เองนั้นที่จรวดสามารถลงจอดได้อย่างสวยงามบนพื้นดิน ในฐานจรวดที่ Space X ได้พัฒนาขึ้น

 Space X
ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ capcomespace.net

นับว่าเป็นความสำเร็จจากความมุ่งมั่นและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ซึ่งนี่เอง คือเสน่ห์ของ Space X ยาน Dragon จากครั้งแรกที่ทาง Space X ได้ร่วมมือกับนาซ่าในการส่งยาน Dragon ไปพร้อมกับจรวด Falcon9 เพื่อส่งยาน dragon นำเสบียงและอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในสถานีอวกาศนานาชาติ

โดยเมื่อครั้งแรก ยาน Dragon สามารถเทียบท่ากับสถานีอวกาศนานาชาติได้สำเร็จ และทำดำเนินถ่ายโอนสิ่งของต่างๆได้ Space X ก็พัฒนาต่อไปอีก โดยพัฒนายานขนส่งที่สามารถนำมนุษย์ขึ้นไปพร้อมกับสิ่งของได้ โดยยานที่พัฒนาขึ้นมาต่อนั้นเรียกว่า DragonV2 ซึ่งยานลำนี้จะสามารถเทียบท่ากับสถานีอวกาศได้อย่างอัตโนมัติ และยังสามารถขนส่งมนุษย์ขึ้นไปได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย ในอนาคต Space X มีแผนพัฒนายานอวกาศที่สามารถนำมนุษย์ไปดาวอังคาร และพากลับมายังบนโลกได้ อันนี้คงต้องรอดูกันต่อไป แต่เชื่อว่าระดับความสามารถและความพยายามของ Space X แล้ว เรื่องแค่นี้น่าจะทำไม่ยาก

 Space X
ภาพยาน Dragon – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ theverge.com

และนี่ก็คือวิวัฒนาการความสำเร็จของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศของบริษัท SpaceX ซึ่งนับว่าเป็นบริษัทเอกชนรายแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการขนส่งสินค้า และเสบียงในอวกาศ แถมยังได้รับความไว้วางในในการทำงานกับภารกิจต่างๆของนาซ่า ซึ่งนับว่า SpaceX เป็นบริษัทหนึ่งที่น่าจับตามอง

จากที่พวกเราได้เล่าให้เพื่อนๆฟังแล้วนั้น จะเห็นว่ากว่าที่บริษัทนี้จะประสบความสำเร็จอย่างเช่นทุกวันนี้ เขาผ่านความล้มเหลวมาหลายครั้ง เกิดความเสียหายมากแล้วมากมาย จรวดที่พัฒนามาเกิดการระเบิดครั้งแล้วครั้งเล่า แต่บริษัท SpaceX ก็ไม่เคยที่จะหยุดพัฒนา กลับเอาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั้งหมดมาวิเคราะห์และพัฒนาจรวดแลนยานอวกาศให้ดียิ่งขึ้น ในอนาคตพวกเราน่าจะคาดหวังได้เลยว่า SpaceX จะต้องสามารถนำมนุษย์อย่างพวกเรานั้นขึ้นไปเยือนอวกาศได้อย่างแน่นอน

 Space X
ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ space.com

เพราะในทุกวันนี้ ในขณะที่เราเดินเล่น กินข้าว หรือนอนหลับ แต่ SpaceX ไม่เคยที่จะหยุดพัฒนา เอาเป็นว่าความฝันของพวกเราทุกคนที่จะได้ไปเยือนดาวอังคารก็ใกล้จะมาถึงแล้ว ยังไงก็ตาม อีลอน มัส เขาได้สัญญากับพวกเราแล้วว่า เขาจะพาพวกเราไปดาวอังคารในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าให้ได้

สำหรับวันนี้พวกเรา EDU HUB ต้องขอลาไปก่อน ถ้าหากเพื่อนๆคนไหนสนใจเรื่องราวของ SpaceX เพิ่มเติมและเรื่องราวของอีลอน มัส คนเก่ง เพื่อนๆ สามารถเข้ามาติดตามรับชมได้ในช่องของเราเลย และอย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะคะ