อย่างที่เราทราบกันดีว่า โลกของเรานั้นอยู่ในระบบสุริยะที่มีดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ เป็นจุดศูนย์กลาง และระบบสุริยะนั้นก็มีดาวเคราะห์ทั้งหมด 9 ดวง โคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ในปัจจุบันดาวพลูโตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะได้ถูกนักวิทยาศาสตร์ลงความเห็นว่า มันไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นดาวเคราะห์อีกต่อไป แล้วเพื่อนๆคิดว่า ดาวดวงไหนเหมาะจะเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และดวงที่ 10 ต่อจากดาวพลูโต
ในครั้งหนึ่งพวกเราได้เคยนำเสนอเรื่อง planet x หรือดาวเคราะห์ดวงที่ 9 กันแล้ว วันนี้ เราจะพาเพื่อนๆมาดูดาวเคราะห์ดวงที่ 10 กันบ้าง ว่ามันจะเป็นอย่างไร และมันจะมีโอกาสไหมที่จะได้รับการรับรองจากนักวิทยาศาสตร์ให้มันได้กลายเป็นดาวเคราะห์ของระบบสุริยะดวงถัดไป แต่ก่อนจะไปรับชม อย่าลืมกดไลค์ กดซับสไครป์ และกดกระดิ่งแจ้งเตือน เพื่อที่เพื่อนๆจะไม่พลาดการรับชมครั้งต่อไป
สำหรับเรื่องราวในจักรวาลนับว่าเป็นความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทุกคนต้องเคยผ่านการเรียนมาทั้งในระดับประถมและมัธยม ซึ่งเราจะทราบเพียงเบื้องต้นเท่านั้นว่า ในระบบสุริยะของเราประกอบไปด้วยดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์ก็คือดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง ส่วนดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเองแถมยังต้องโคจรรอบดาวฤกษ์ อย่างเช่นในระบบสุริยะของเราก็มีดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์สุกสว่าง ให้พลังงานกับระบบสุริยะ ส่วนดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ก็มี ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส และดาวพลูโต
แต่เมื่อเราโตขึ้นและรู้ว่า การที่ดาวสักดวงหนึ่งจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ มันไม่ได้มีคุณสมบัติแค่นั้น มันมีเรื่องที่ละเอียดอ่อนกว่านั้นมาก จากอดีตถึงปัจจุบัน ความรู้ด้านจักรวาลในโลกของเรานั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีในการสำรวจอวกาศ ทำให้เราสามารถเข้าใกล้จักรวาลได้แค่เอื้อม และมันยังทำให้เรานั้นเปิดหูเปิดตาและพบความจริงอีกมากมายในจักรวาลแห่งนี้
เมื่อก่อนไม่เคยมีใครตั้งข้อสงสัย ว่าดาวฤกษ์นั้นต้องมีคุณสมบัติอย่างไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และดาวเคราะห์จะต้องเป็นดาวแบบไหน แต่เมื่อในวันหนึ่งมีการสำรวจภารกิจหนึ่งไปพบดาวดวงหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากโลกของเราออกไป มันมีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์นำกลับมาคิดว่า พวกเขาจะสามารถเรียกดาวดวงนี้ว่าดาวเคราะห์ได้หรือไม่ และถ้ามันใหญ่กว่าดาวพลูโต มันก็น่าจะเป็นดาวเคราะห์เหมือนกัน
ตั้งแต่นั้นมา ความสงสัยนี้ก่อให้เกิดการหารือครั้งใหญ่ภายใต้การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหพันธ์ดาราศาสตรสากล (IAU General Assembly) ณ กรุงปราก เมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็ก ที่มีนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คน มาเข้าร่วมและหาข้อสรุปของคำนิยามคำว่า ดาวเคราะห์ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มีประเด็นการที่จะบรรจุดาวที่ค้นพบใหม่และมีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์ ให้กลายเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
แต่เมื่อนักดาราศาสตร์นักประวัติศาสตรได้ร่วมกันวิเคราะห์ และเสนอคำนิยามของดาวเคราะห์ให้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ ว่าดาวเคราะห์นั้น ต้องเป็นวัตถุที่มีแรงโน้มถ่วง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยต้องไม่เป็นดาวบริวารของดาวดวงไหน
นอกจากนี้ยังให้คำนิยามอีกว่าการโคจรรอบดวงอาทิตย์จะต้องโคจรในระนาบเดียวกันเป็นวงกลมหรือใกล้เคียงกับวงกลม
ซึ่งแน่นอนว่าการพิจารณาในหัวข้อนี้ที่ประชุมไม่รองรับเพราะมันจะทำให้ระบบสุริยะของเรานั้นมีดาวเคราะห์เพิ่มมาถึงอีก 12 ดวง
และยังมีนักดาราศาสตร์ชื่อ ไมค์ บราวน์ เสนออีกว่าถ้าหากยอมรับคำนิยามนี้จะทำให้มีดาวเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเพิ่มอีก 53 ดวง ซึ่งมันมากเกินกว่าที่เราจะรับได้ เขาจึงได้เสนอว่า เราควรลดสถานภาพดาวพลูโตลงเป็นเพียงดาวเคราะห์แคระ หรืออีกทางหนึ่งคือ เสนอว่าให้ดาวที่ใหญ่กว่าดาวพลูโตเท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นดาวเคราะห์ ซึ่งถ้าทำตามทางที่บราวน์บอกนี้ จะทำให้เราได้ดาวเคราะห์เพิ่มมาอีก 1 ดวง กลายเป็น 10 ดวง
ซึ่งการประชุมครั้งนี้สรุปสุดท้ายก็คือการตัดดาวพลูโตออกจากเคราะห์ และให้ดาวพลูโตนั้นกลายเป็นดาวเคราะห์แคระ
ย้อนเหตุการณ์มา 1 ปี ก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหพันธ์ดาราศาสตรสากลและการลงมติตัดดาวพลูโตออกจากดาวเคราะห์ ในระบบสุริยะ ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2548 มีนักดาราศาสตร์ได้พบวัตถุขนาดใหญ่บนฟากฟ้า ซึ่งมาขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโตประมาณ 1 เท่า
ซึ่งในช่วงนั้นเป็นที่ฮือฮาของนักดาราศาสตร์เป็นอย่างมากว่าระบบสุริยะของเรานั้นจะมีดาวเคราะห์ดวงที่ 10 หรือไม่ วัตถุขนาดใหญ่บนฟากฟ้าที่ได้ค้นพบนั้นนักดาราศาสตร์ตั้งชื่อให้มันว่า 2003 ยูบี 313 (2003 UB313) เจ้า2003 ยูบี 313นี้มันอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไกลเกือบร้อยเท่าของโลก โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยใช้ระยะเวลา 557 ปี และระนาบวงโคจรเอียงทำมุม 45 องศา
ซึ่งมันอยู่เลยจากวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ซึ่งในขณะที่นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวดวงนี้ เขาก็พบดาวที่คล้ายๆกันอีก สองสามดวง ซึ่งตอนนั้นเอง หลักฐานอะไรก็ไม่แน่ชัด มีเพียงแค่ภาพจากการสำรวจโดยกล้องโทรทัศน์ ซึ่งแน่นอนว่า
ยังไม่มีเหตุผลมากพอที่จะประกาศรายละเอียดได้ซึ่งทางนักดาราศาสตร์ก็ยังไม่คิดที่จะเปิดเผยเรื่องนี้
แต่อย่างที่เรารู้กัน ความลับไม่มีในโลก ข้อมูลการค้นพบนี้ถูกแฮ็กเกอร์มือดีนำข้อมูลมาออกข่าว ทำให้คนทั้งโลกฮือฮา สำหรับเจ้า 2003 ยูบี 313 นี้นักดาราศาสตร์ที่ค้นพบยังบอกอีกว่ามันมีแสงสว่างมาก แสงสว่างของมันเกิดจากการที่ผิวของดวงดาวสะท้อนแสงจากด้วยอาทิตย์ และด้วยขนาดที่มันใหญ่กว่าดาวพลูดโต จึงทำให้มันยิ่งดูเด่นชัดมากขึ้นไปอีก ความพิเศษของ 2003 ยูบี 313
ยังมีอีกเนื่องจากหลังการค้นพบมัน ได้มีนักดาราศาสตร์ชื่อว่า ไมเคิล อี. บราวน์ พบว่าดาวดวงนี้มีดาวบริวารอยู่ข้างเคียงจากการที่เขาได้สำรวจผ่านกล้องโทรทัศน์ที่ใช้ระบบอะแดปทีฟออปติกชนิดที่ใช้แสงเลเซอร์ ซึ่งเขาได้วิเคราะห์จากความสว่างจากการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ในดาวบริวารดวงนี้พบว่ามันน่าจะมีขนาดเล็กกว่า 2003 ยูบี 313 ถึง 10 เท่า
แต่การค้นพบนี้ก็ยังยืนยันอะไรไม่ได้เพราะเป็นเพียงแค่การสำรวจผ่านกล้องโทรทัศน์เท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตามการค้นพบดาวดวงนี้เองและบริวารของมัน ทำให้ดาวเคราะห์ดวงเก่าอย่างเช่นดาวพลูโตเกิดการสั่นคลอน และมีการนำเรื่องราวการค้นพบ 2003 ยูบี 313 และดาวดวงอื่นๆที่ค้นพบพร้อมกันนี้นำไปวิเคราะห์จนเข้าสู่การนิยามดาวเคราะห์ เพื่อที่จะหารือการบรรจุดาวเคราะห์ดวงใหม่เข้าไป หรือ ถอดดาวเคราะห์ดวงเก่าออกอย่างที่เราได้เล่าไปในตอนต้น
เป็นไงบ้างคะเพื่อนๆ เกือบไปแล้วที่ระบบสุริยะของเรานั้นจะมีดาวเคราะห์ 10 ดวง ไม่แน่ว่าหากไม่มีการกำหนดคุณสมบัติดาวเคราะห์ให้มีลักษณะเฉพาะเหมือนตอนนี้ เราอาจจะมีดาวเคราะห์เพิ่มมาเรื่อยๆจากการสำรวจของนักดาราศาสตร์ของเรา เพราะใครจะไปรู้ว่า ในจักรวาลนั้นมีวัตถุปริศนาอะไรที่ซ่อนอยู่บ้าง
แต่ยังไงก็ตามตอนนี้เพื่อนๆสบายใจได้เพราะดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรามีคำนิยามที่ต้องมีลักษณะเฉพาะเท่านั้นก็จะสามารถเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราได้ ดังนั้นสรุปให้ฟังใหม่ว่า ตอนนี้เรายังมีดาวเคราะห์แค่ 8 ดวงเท่านั้นนะคะ ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
แต่ถ้าในอนาคต โลกของเรานั้นได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่อีก แน่นอนว่า เรา eduHUB จะไม่พลาดในการนำสิ่งที่น่าสนใจมาให้เพื่อนๆได้ชมกัน และสำหรับวันนี้หากใครอยากรับชมเรื่องราวประวัติดาวพลูโต หรือเรื่องราวของ แพลนเนท เอ็กซ์ ดาวเคราะห์ดวงที่เก้า ก็สามารถหารับชมได้ในช่องของเรานะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมกดไลค์ กดซับสไครบ์เป็นกำลังใจให้กับพวกเราด้วยนะคะสวัสดีค่ะ