ประเทศสหรัฐอเมริกา คือ ประเทศที่สามารถส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นประเทศเเรก ความสำเร็จในครั้งที่ได้ถูกบันทึกลงในหน้าประวัติศาสตร์ เเละผู้คนทั่วโลกต่างก็จดจำมันได้ เเต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า ท่ามกลางความสำเร็จของสหรัฐอเมริกานั้น ยังมีประเทศมหาอำนาจอีกประเทศหนึ่ง ที่ต้องการเเข่งขันในการเป็นที่หนึ่งในเรื่องการสำรวจอวกาศ ด้วยเช่นกัน
โครงการ Luna เป็นหนึ่งในโครงการสำรวจดวงจันทร์หลักของสหภาพโซเวียตมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ตัวโครงการ มุ่งเน้นไปที่การส่งยานสำรวจไปยังดวงจันทร์ ทั้งชนิดที่โคจรรอบดวงจันทร์ ชนิดพุ่งชนและชนิดที่สามารถลงจอดบนดวงจันทร์ได้
ภารกิจ ของโครงการสำรวจดวงจันทร์ ของสหภาพโซเวียตนั้น ประสบความสำเร็จอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งยานไปโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นครั้งเเรก ถ่ายภาพด้านไกลของดวงจันทร์ รวมไปถึงการลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ
ทุกอย่างเปลี่ยนไป เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการประกาศว่า จะส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 1961 ทำให้สหภาพโซเวียตนั้นไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ต้องหาทางเอาชนะภารกิจ Apollo ของสหรัฐอเมริกาให้ได้
จึงทำให้เกิดภารกิจ Luna15 ขึ้น เป็นภารกิจที่จะว่งยานไปที่ดวงจันทร์ ในวันที่ 13 ก.ค. ค.ศ. 1969 สามวันก่อนที่ apollo จะเริ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายในการเก็บตัวอย่างของดินบนดวงจันทร์เเล้วนำกลับมายังโลกให้ได้ก่อนสหรัฐ อเมริกา กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ Moon Rock Race
ยานสำรวจได้ขนเอาอุปกรณ์หลักไปด้วย 3 อย่าง นั่นก็คือ ระบบบันทึกภาพแบบสเตอริโอ, ระบบแขนกลและระบบเก็บตัวอย่างดิน, เครื่องตรวจจับรังสี รวมไปถึงเซนเซอร์อื่น ๆ สำหรับวัดค่าในการลงจอดและระหว่างเดินทาง ซึ่งสามารถที่จะใช้ตรวจสอบสภาพรอบดวงจันทร์, สนามแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ และที่สำคัญคือการถ่ายภาพพื้นผิวและวิเคราะห์ตัวอย่างดินสำหรับส่งกลับมายังโลกนั่นเอง โดยตัวยานมีน้ำหนัก 5,667 กิโลกรัมโดยประมาณ
วันที่ 13 ก.ค. 1969 ภารกิจ Luna 15 ก็ได้เริ่มขึ้น ตัวยานประสบความสำเร็จในการปล่อยขึ้นสู่วงโคจรยานได้ทำการโคจรรอบโลกเพื่อตรวจสอบระบบ เเละการสื่อสารกับทางภาคพื้นดิน หลังจากตวรสอบทุกอย่างเรียบร้อยดีเเล้ว ยานสำรวจดวงจันทร์ Luna15 ก็ได้มุ่งสู่ดวงจันทร์ในทันทีเต็มไปด้วยความหวังที่ว่า จะสามารถเเซง apollo 11 ในการลงจอดได้
เเต่เเล้วความหวังนั้นก็ต้องสะดุด เมื่อระหว่างการเดินทางได้เกิดปัญหาร้ายเเรงขึ้น ถังเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ s5.61 มีอุณภูมิที่สูงขึ้นผิดปกติ ทำให้วิศวะกร เเละทีมงานของภารกิจต้องรีบเเก้ไขเส้นทางการโคจรโดยด่วน เพราะเครื่องยนต์ s5.61 นั้นเป็นส่วนที่สำคัญในการนำเเคปซูลที่จะบรรจุตัวอย่างดินจากดวงจันทร์กลับมาสู่โลก
ทางทีมงานของภารกิจได้เเก้ไขปัญหาด้วยการหันยานด้านถังเชื้อเพลิงไม่ให้โดนเเดด ทำให้อุณหภูมิกลับสู่ปกติ เเละช่วยลดความเสี่ยงที่ยานจะระเบิดอีกด้วย จนท้ายที่สุด ยานก็สามารถเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ได้สำเร็จ ในวันที่ 17 ก.ค. 1969
เเต่เเล้วก็ได้เกิดปัญหาใหม่ขึ้น นั่นคือสภาพพื้นผิวดวงจันทร์ที่เลือกไว้ ไม่เหมาะสมต่อการลงจอด ศูนย์ควบคุมต้องใช้เวลามากถึง 4 วันในการทำแผนที่เเละวิเคราะห์พื้นที่ลงจอดใหม่ทั้งหมด
ในระหว่างที่สหภาพโซเวียตกำลังเเก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้น ทางฝั่งของสหรัฐอเมริกา apollo11 ก็ได้ทำการลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นที่เรียบร้อย ตามแผนการเดิมนั้น ยาน Luna15 จะทำการลงจอดหลังจากยาน eagle ของ apollo11 ไม่เกิน 2 ชั่วโมง เเต่ด้วยปัญหามากมายที่ถาโถมเข้ามา ทำให้ต้องเลื่อนการลงจอดไปอีก 18 ชั่วโมง
จนกระทั้งวันที่ 21 ก.ค. 1969 ยานได้จุดเครื่องยนต์สำหรับลงจอด เเละค่อยๆลดระดับลงอย่างเร็วรวด ในตอนนี้ทีมงานภารกิจ luna15 นั้นหวังเพียงเเต่ว่าให้ภารกิจประสบความสำเร็จในการนำตัวอย่างกินกลับมายังโลกเท่านั้น จะช้าหรือเร็วตอนนี้มันไม่สำคัญเเล้ว ตามแผนแล้วเครื่องยนต์หลักจะต้องทำงานเป็นเวลา 267.3 วินาทีเป๊ะๆ เพื่อนำยานลงมาที่ระดับความสูงประมาณ 2.5 กิโลเมตร 4 นาทีหลังจากการแยกออกจากวงโคจรเพื่อลงจอด สัญญาณและการติดต่อสื่อสารทั้งหมดของยานก็ได้ขาดหายไปที่ระดับความสูง 3 กิโลเมตร ความพยายามเเละความหวังทั้งหมดได้ถูกทำลายลง ยาน luna15 หายไปจากระบบการสื่อสาร ไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย
ผลการวิเคราะห์พบว่ายาน Luna 15 น่าจะพุ่งเข้าชนกับด้านข้างของภูเขาบนดวงจันทร์ด้วยความเร็วสูงถึง 480 กม./ชม. ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการจุดเครื่องยนต์ในระดับความสูงที่ผิด รวมถึงมีความเป็นไปได้ว่ายานจะลดระดับในมุมที่เฉียงเกินไปอีกด้วย ยาน Luna 15 กระแทกพื้นผิวดวงจันทร์เลยจากจุดลงจอดประมาณ 28 กิโลเมตร ณ บริเวณ Mare Crisium
สิ่งหนึ่งที่ Luna 15 ทิ้งเอาไว้คือข้อมูลปริมาณมหาศาลที่มีส่วนช่วยให้ภารกิจ Luna 16 ที่ตามมา 1 ปีให้หลังประสบความสำเร็จในการนำตัวอย่างดินปริมาณ 101 กรัม กลับมาได้ นี่อาจจะเป็นตัวเลขที่ดูน้อย แต่แท้จริงแล้วกระบวนการในการนำตัวอย่างที่ได้กลับมายังโลกนั้นนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่หุ่นยนต์และระบบอัติโนมัติสามารถนำตัวอย่างจากดวงจันทร์กลับมาได้ โดยไม่ต้องพึ่งมนุษย์เลย นับเป็นก้าวที่สำคัญในการพัฒนายานสำรวจและภารกิจ Sample-Return (การนำตัวอย่างกลับมายังโลกนั่นเอง)
ไม่ว่าจะเป็นความล้มเหลว หรือ การประสบความสำเร็จ ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา การสำรวจอวกาศให้มากยิ่งขึ้น พวกเราเชื่อว่า ในอนาคตเราจะสามารถเรียนรู้ เเละเดินทางไปสำรวจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น