เรื่องแปลกบนดาวอังคาร…ที่นาซ่าก็อธิบายไม่ได้

เป็นเวลากว่าหลายปี ที่องค์การนาซ่าได้ทำการสำรวจ เก็บข้อมูลบนดาวอังคาร เพื่อหาความเป็นได้ได้ต่างๆ เเละข้อมูลใหม่ๆโดยมีความหวังว่าข้อมูลที่เราจะได้รับจากดาวอังคาร จะมีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ ไม่มากก็น้อย รวมไปถึงเราอาจจะได้พบสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นด้วยเช่นกัน

นักวิทยาศาสตร์ยังคาดหวังว่า ในอนาคตจะต้องส่งมนุษย์ไปสำรวจดาวอังคารให้ได้ จึงต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศให้ก้าวหน้ามากขึ้น เพื่อทำให้มันเกิดขึ้นจริง

ภาพพื้นผิวดาวอังคาร – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ techno.okezone.com

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์เพื่อนบ้านของโลกที่น่าสนใจมาก ปัจจุบันมีโครงการวิจัยเกี่ยวกับดาวอังคารเกิดขึ้นมากมาย ด้วยเหตุผลเดียวคือความเข้าใจธรรมชาติของดาวอังคาร ซึ่งอาจเป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบายความเปลี่ยนแปลงและคาดการณ์อนาคตของโลกได้ จนถึงวันนี้นับเป็นเวลา 40 ปีมาแล้วที่มนุษย์ส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวอังคาร นักวิทยาศาสตร์มีความรู้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเทคนิคในการสำรวจถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ดาวอังคาร  (Mars) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เท่าของโลก  มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยแก่นของแข็งมีรัศมีประมาณ 1,700 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่เป็นหินหนืดหนาประมาณ 1,600 กิโลเมตร และมีเปลือกแข็งเช่นเดียวกับโลก   ดาวอังคารมีสีแดงเนื่องจากพื้นผิวประกอบด้วยออกไซด์ของเหล็ก (สนิมเหล็ก)  พื้นผิวของดาวอังคารเต็มไปด้วยหุบเหวต่างๆ มากมาย หุบเหวขนาดใหญ่ชื่อ หุบเหวมาริเนอริส (Valles Marineris) มีความยาว 4,000 กิโลเมตร กว้าง 600 กิโลเมตร ลึก 8 กิโลเมตร  นอกจากนี้ดาวอังคารยังมีภูเขาไฟที่สูงที่สุดในระบบสุริยะชื่อ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Mount Olympus) สูง 25 กิโลเมตร  ฐานที่แผ่ออกไปมีรัศมี 300 กิโลเมตร

ภาพหุบเหวมาริเนอริส – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ theconversation.com

ดาวอังคารมีบรรยากาศเบาบางมาก ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งเกิดจากการระเหิดของน้ำแข็งแห้ง (คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง) ปกคลุมอยู่ทั่วไปบนพื้นผิวดาวอังคาร  ที่บริเวณขั้วเหนือและขั้วใต้ของดาวมีน้ำแข็ง (Ice water) ปกคลุมอยู่ตลอดเวลา

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจดาวอังคารนั้น นาซ่าสามารถอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เเต่เมื่อเร็ว ๆนี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น บนดาวอังคาร เเละ นาซ่าเองก็ยังหาคำตอบอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้

น้ำแข็งบนดาวอังคาร – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ mymodernmet.com

วันนี้พวกเรา eduHUB จะพาท่านผู้ชมทุกท่าน ไปสำรวจดาวอังคาร เเละดูสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาคำตอบว่า มันคืออะไรกันเเน่ เเต่ก่อนที่เราจะไปรับชมกัน อย่าลืมกดไล กดเเชร์ กดติดตาม เเละกดกระดิ่ง ช่อง eduhub เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ

ตั้งเเต่ปี 2012 ที่ยานโรเวอร์ Curiosity คิวริโอซิตี ได้ลงจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จ มันก็ได้เก็บข้อมูลที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ประหลาดใจมาเเล้ว หลายครั้ง เเต่ทุกครั้งองค์การนาซ่าก็สามารถอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้ จนกระทั้งสิ่งที่ถูกค้นพบล่าสุดนี้ ยังไม่สามารถหาคำอธิบายมาได้เลย

ภาพยานโรเวอร์ – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ nasa.gov

และในวันที่ 12 พย 2019 นาซ่าได้เปิดเผยข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศบนดาวอังคารที่ยานคิวริโอซิตีได้เฝ้าเก็บมาตลอด 3 ปีเต็ม (ซึ่ง 3 ปีบนดาวอังคารนี้ก็มีระยะเวลาเท่ากับ 6 ปีของโลกเลยทีเดียว) จากข้อมูลนี้ทำให้เราพบว่า บรรยากาศบนดาวอังคารมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลในเเต่ละปี

ซึ่งบรรยากาศของดาวอังคารโดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 96% ไนโตรเจน 1.9% อาร์กอน 1.9% ออกซิเจน 0.16% และอื่นๆ อีก 0.06% ที่เป็นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซประเภทอื่นอีกนิดหน่อย

ด้วยเหตุนี้ พื้นผิวของดาวอังคารที่หันออกจากดวงอาทิตย์จะเป็นฤดูหนาวและมีความกดอากาศต่ำมาก เนื่องจากเมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ พวกมันก็จะอุณหภูมิลดลงจนควบแน่นเป็นน้ำแข็ง ในขณะที่อีกซีกหนึ่งที่หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นฤดูร้อน ความกดอากาศก็สูงขึ้น เพราะน้ำแข็งที่ระเหิดกลายเป็นก๊าซ

ภาพสัดส่วนก๊าซในชั้นบรรยากาศบนดาวอังคาร – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ slideshare.net

เมื่อดาวอังคารหมุนรอบตัวเอง ฤดูก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างนี้ซ้ำๆ ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งปี เราจึงสามารถคาดเดาสัดส่วนและความหนาเเน่นของก๊าซชนิดอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารได้ตามหลักการแปรผันทางบรรยากาศ ยกเว้นก็แต่ “ออกซิเจน” เท่านั้นที่เป็นข้อยกเว้น

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ออกซิเจนบนดาวอังคารมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากก๊าซประเภทอื่น เพราะตามปกติแล้วนักวิทยาศาสตร์คาดว่า ออกซิเจนควรจะเพิ่มขึ้น 30% ในฤดูร้อน และลดลงมาเท่าเดิมในฤดูหนาว แต่ปรากฏว่าปริมาณออกซิเจนบนดาวอังคารกลับผันผวนอย่างมาก เหมือนกับมีอะไรบางอย่างมาคอยเติมและดึงออกซิเจนกลับไปจนค่าที่ได้มันไม่สอดคล้องกับความกดอากาศที่เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์พยายามคิดทฤษฎีต่างๆ ขึ้นมาอธิบายความเปลี่ยนแปลงนี้ แต่สุดท้ายแล้วก็โดนปัดตกไปหมด อย่างเช่น..

ภาพปริมาณออกซิเจนในแต่ละฤดู – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ slideshare.net
  • เกิดจากความผิดพลาดของยานคิวริโอซิตี โดยอุปกรณ์เก็บข้อมูลอาจเสียหาย ทำให้เก็บค่าออกซิเจนกลับมาผิด แต่หลังจากตรวจสอบดู ก็พบว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นบนยานก็ดำเนินการถูกต้องแล้ว แถมยังไม่มีความเสียหายใดๆ ที่ตัวเครื่อง ดังนั้นข้อมูลที่ถูกส่งกลับมาก็ไม่น่าจะมีความผิดพลาดอะไร
  • การแตกตัวของโมเลกุลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือน้ำในชั้นบรรยากาศอาจจะก่อให้เกิดออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น แต่ทฤษฎีนี้ก็ยังใช้ไม่ได้ เพราะดาวอังคารไม่ได้มีน้ำมากพอที่จะสร้างออกซิเจนได้ขนาดนั้น อีกทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังต้องใช้เวลาในการแตกตัวมากกว่านี้ ดังนั้นความผันผวนของออกซิเจนในระดับความเร็วเท่านี้จึงน่าจะเกิดจากสาเหตุอื่นมากกว่า
  • บนดวงอังคารอาจจะมีออกซิเจนมากเพียงพออยู่แล้ว แต่ออกซิเจนเหล่านั้นซ่อนอยู่ใต้ดิน สุดท้ายแล้วทฤษฎีนี้ก็ถูกปัดตกไปเช่นกัน เพราะนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ว่าปัจจัยใดที่ทำให้ดินบนดาวอังคารคายออกซิเจนออกมาได้ แถมทฤษฎีนี้ยังอธิบายเรื่องการหายไปของออกซิเจนในทุกๆ ปีไม่ได้ด้วย

พวกเราพยายามกันอย่างหนักที่จะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น ระดับออกซิเจนที่เปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนขึ้นๆ ลงๆ ทุกฤดูทำให้เราคิดว่ามันไม่น่าจะเกี่ยวกับบรรยากาศ แต่อาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกที่เรายังไม่สามารถทำความเข้าใจได้ตอนนี้
เมลิซา เทรเนอร์ (Melissa Trainer) นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันการบินอวกาศ นาซ่า กล่าว