“Parker Solar Probe” สุดยอดยานสำรวจดวงอาทิตย์

ในระบบสุริยะของเราประกอบดาวเคราะห์ต่างๆ และดวงอาทิตย์ที่เป็นดาวฤกษ์อยู่ตรงกลาง คอยให้ความร้อน แสงสว่าง และพลังงานกับดวงดาวต่างๆ รวมถึงโลกของเราด้วย ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์หลายคนจึงอยากจะส่งยานไปสำรวจดาวฤกษ์ที่มีพลังมหาศาลดวงนี้

Parker Solar Probe
ภาพยาน Parker Solar Probe – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ soscity.co

และยานที่ถูกสร้างมาเพื่อส่งไปสำรวจดวงอาทิตย์โดยเฉพาะก็มีชื่อว่า “พาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ” (Parker Solar Probe) ซึ่งตอนแรกมันก็ไม่ได้มีชื่อนี้ แต่ทีมงานเรียกมันว่า “โซลาร์ โพรบ พลัส” (Solar Probe Plus) แต่เนื่องจากทีมงานต้องการให้เกียรตินักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านลมสุริยะที่ชื่อ “ยูจีน พาร์กเกอร์” (Eugene Parker) ทีมงานจึงได้เติมชื่อเขาเข้าไปในชื่อยานด้วยและกลายมาเป็นพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบอย่างที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้

Eugene Parker
ภาพคุณ Eugene Parker – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ yahoo.com

ยานลำนี้เป็นยานลำแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้เดินทางออกไปสำรวจดาวฤกษ์ ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถทนความร้อนที่รุนแรงจากดวงอาทิตย์ได้ โดยยานลำนี้สามารถกันความร้อนได้มากถึง 1,400 องศาเซลเซียสด้วยแผ่นกันความร้อนที่หนาถึง 12 ซม. ประกอบกับเทคโนโลยีอื่นๆ ทำให้ยานลำนี้เป็นยานลำแรกและลำเดียวที่สามารถเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ได้โดยไม่พังหรือละลายไปซะก่อน

ยานลำนี้ถูกส่งขึ้นอวกาศในวันที่ 4 ส.ค. ปีค.ศ.2018 และบินวนรอบดาวศุกร์ 7 รอบเพื่อใช้แรงโน้มถ่วงของดาวศุกร์ดีดยานไปยังดวงอาทิตย์ ยานได้เดินทางเข้าไปเฉียดดวงอาทิตย์ในรัศมี 6 ล้านกม. ด้วยความเร็ว 700,000 กม./ชั่วโมง และถ่ายภาพพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่คมชัดที่สุดเท่าที่เคยมีออกมา 

หลังจากนั้นยานก็ได้ลดระดับลงไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้เข้าใกล้ในรัศมี 6 ล้านกม. เพื่อศึกษาดวงอาทิตย์ให้ใกล้ชิดกว่านี้ แต่การลดระดับนี้จำเป็นต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาอีกนาน กว่าจะลงถึงระดับนั้นได้ก็น่าจะปาเข้าไปถึงปลายปีค.ศ. 2024 แล้ว

ชั้นโคโรนา
ภาพการปลดปล่อยก้อนมวลจากชั้นโคโรนา – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ unmuseum.org

ยานลำนี้จะทำการศึกษาการไหลเวียนของพลังงานบนชั้นโคโรน่าของดวงอาทิตย์ เพื่อดูว่าดาวฤกษ์ที่ร้อนระอุดวงนี้มีการถ่ายเทพลังงานอย่างไร อะไรทำให้เกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์ รวมถึงปรากฏการณ์อื่นๆ อย่างโซลาร์แฟลร์ พายุสุริยะ ฯลฯ เพื่อปรากฏการณ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นที่ดวงอาทิตย์อย่างเดียว แต่ยังสามารถส่งผลกระทบกระเทือนมาถึงโลกได้ด้วย ดังนั้นเราจึงควรตรวจสอบและศึกษาไว้เพื่อหาหนทางรับมือในภายภาคหน้า

Parker Solar Probe
โครงสร้างกันความร้อนของยาน Parker Solar Probe – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ spyhollywood.com

เป็นยังไงบ้างคะเพื่อนๆ เพื่อนๆคิดว่า ยาน Parker Solar Probe จะสามารถเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์ได้ใกล้ขนาดนั้นจริงๆมั้ย เพื่อนๆมาคอมเม้นคุยกับพวกเราได้เลยนะคะ สุดท้ายนี้ หากถูกใจคลิปของพวกเราอย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะคะ