กาแล็กซี (Galaxy) หรือ ดาราจักร หมายถึง อาณาจักรของดาว กาแล็กซีหนึ่งๆ ประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่นและดาวฤกษ์และดาวเคราะห์หลายแสนล้านดวง กาแล็กซีมีขนาดประมาณหมื่นล้านถึงแสนล้านปีแสง กาแลกซีของเราชื่อ “ทางช้างเผือก” (The Milky Way Galaxy) ที่มีชื่อเช่นนี้เป็นเพราะ คนไทยถือว่ากษัตริย์เป็นเทวดาซึ่งอวตารมาจากสรวงสวรรค์ ช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บุญบารมีของกษัตริย์ ทางช้างเผือกจึงปรากฎอยู่บนท้องฟ้าซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดาและนางฟ้า
ส่วนชาวตะวันตกก็มีตำนานเกี่ยวกับเทพเจ้าเช่นกัน จึงมองเห็นเป็นทางน้ำไหลพาดผ่านท้องฟ้า ปัจจุบันเราอนุมานว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกมีขนาดประมาณหนึ่งแสนปีแสง เนื่องจากโลกของเราอยู่ภายในทางช้างเผือก จึงมองเห็นทางช้างเผือกเป็นทางสว่างพาดผ่านท้องฟ้าเป็นฝ้าสีขาว การศึกษาโครงสร้างของทางช้างเผือก จำเป็นต้องศึกษาจากภายในออกมา จึงทำให้มองเห็นภาพรวมได้ยาก ดังนั้นการศึกษากาแล็กซีอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายนอก จึงช่วยให้เราเข้าใจกาแล็กซีของตัวเองมากขึ้น
แต่โบราณกาลมนุษย์เข้าใจว่า ทางช้างเผือกเป็นปรากฏการณ์ภายในบรรยากาศโลกเช่นเดียวกับเมฆ หมอกและรุ้งกินน้ำ จนกระทั่งคริสตศตวรรษที่ 18 ได้มีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่จึงทราบว่า ทางช้างเผือกประกอบด้วยดวงดาวจำนวนมากมายมหาศาล เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (Sir William Herschel) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส ได้ทำการสำรวจความหนาแน่นของดาวบนท้องฟ้าและวาดภาพว่า ดวงอาทิตย์อยู่ตรงใจกลางของทางช้างเผือก
หนึ่งศตวรรษต่อมา ฮาร์โลว์ แชพลีย์ (Harlow Shapley) ทำการวัดระยะทางของกระจุกดาวทรงกลมซึ่งห่อหุ้มกาแล็กซี โดยใช้ความสัมพันธ์คาบ-กำลังส่องสว่างของดาวแปรแสงแบบ RR Lyrae ที่อยู่ในกระจุกดาวทรงกลมทั้งหลาย เขาพบว่ากระจุกดาวเหล่านี้อยู่ห่างไปจากโลกนับหมื่นปีแสง กระจายตัวอยู่รอบล้อมส่วนป่องของกาแล็กซี ดังนั้นดวงอาทิตย์ไม่น่าจะอยู่ตรงใจกลางของทางช้างเผือก แต่อยู่ที่ระยะห่าง 3 ใน 5 ของรัศมีกาแล็กซี
การศึกษาทางช้างเผือกทำจากด้านในออกไป จึงยากที่จะเข้าใจภาพรวมว่า กาแล็กซีของเรามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร นอกจากนั้นระนาบของทางช้างเผือกยังหนาแน่นไปด้วยดาว ฝุ่นและแก๊ส เป็นอุปสรรคกีดขวางการสังเกตการณ์ว่า อีกด้านหนึ่งของกาแล็กซีเป็นอย่างไร อุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาโครงสร้างของกาแล็กซีได้ดีที่สุดก็คือ กล้องโทรทรรศน์อินฟราเรด เนื่องจากเป็นคลื่นยาวซึ่งสามารถเดินทางผ่านกลุ่มแก๊สและฝุ่นได้
ดาวโบยาเจียน ดาวลึกลับที่สุดในจักรวาล
การศึกษาทางช้างเผือกทำจากด้านในออกไป จึงยากที่จะเข้าใจภาพรวมว่า กาแล็กซีของเรามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร นอกจากนั้นระนาบของทางช้างเผือกยังหนาแน่นไปด้วยดาว ฝุ่นและแก๊ส เป็นอุปสรรคกีดขวางการสังเกตการณ์ว่า อีกด้านหนึ่งของกาแล็กซีเป็นอย่างไร อุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาโครงสร้างของกาแล็กซีได้ดีที่สุดก็คือ กล้องโทรทรรศน์อินฟราเรด เนื่องจากเป็นคลื่นยาวซึ่งสามารถเดินทางผ่านกลุ่มแก๊สและฝุ่นได้ ดาวฤกษ์ KIC 8462852 หรือ “ดาวโบยาเจียน” (Boyajian’s star) ได้รับการขนานนามให้เป็นดาวลึกลับเป็นปริศนาที่สุดในกาแล็กซีทางช้างเผือก หรืออาจจะลึกลับที่สุดในจักรวาล เนื่องจากดาวมีความสว่างขึ้นและมืดมัวลงสลับกันเป็นช่วง ๆ แบบที่ไม่เหมือนกับดาวดวงใดซึ่งเคยค้นพบมาก่อน ทั้งยังมีผู้ตั้งสมมติฐานว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากผลงานของสิ่งมีชีวิตต่างดาวหรือ “เอเลียน” ก็เป็นได้
ดาวโบยาเจียนอยู่ห่างจากโลกออกไปกว่า 1,200 ปีแสงในกลุ่มดาวหงส์ ซึ่งเป็นแถบที่สุกสว่างและสังเกตเห็นได้ง่ายที่สุดแถบหนึ่งของแขนดาราจักร มีการรายงานถึงพฤติกรรมที่แปลกประหลาดของดาวดวงนี้ครั้งแรกเมื่อปลายปี 2015 โดยนักดาราศาสตร์สาว ทาเบธา โบยาเจียน ได้รับข้อมูลจากกลุ่มพลเมืองนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นว่า พบดาวที่มีความเปลี่ยนแปลงในระดับการส่องสว่างอย่างสูง ซึ่งเธอพบว่าในแต่ละครั้งดาวจะมืดมัวลงถึง 22% นับว่าไม่ธรรมดาเมื่อเทียบกับปรากฎการณ์คล้ายกันในระบบสุริยะ เช่นดาวพฤหัสบดีนั้นสามารถลดแสงสว่างของดวงอาทิตย์ลงขณะโคจรผ่านหน้าได้ แต่ก็เพียงราว 0.5% เท่านั้น
มีผู้เสนอคำอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงในระดับการส่องสว่างของดาวโบยาเจียน ไว้มากมายหลายแบบ ตั้งแต่ความเชื่อที่ว่ามีหลุมดำ ฝูงดาวหาง หรือกลุ่มเมฆฝุ่นละอองคอยโคจรบดบังอยู่เป็นระยะ ไปจนถึงสมมติฐานที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาสร้างเครื่องจักรขนาดใหญ่โคจรรอบดาวฤกษ์นั้นอยู่ เพื่อเก็บเกี่ยวพลังงานไปใช้ หรือเพื่อสร้างสัญญาณที่คล้ายกับรหัสมอร์สติดต่อสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตอื่นในจักรวาล
คำอธิบายที่ว่าสิ่งมีชีวิตต่างดาวเป็นผู้สร้างปรากฎการณ์แปลกประหลาดของดาวโบยาเจียน ไม่ใช่แนวคิดที่เหลวไหลไร้เหตุผลเสียทีเดียวในกรณีนี้ เนื่องจากคำอธิบายแบบอื่น ๆ ต่างมีข้อขัดแย้งในตัวไปเสียหมด เช่นข้อสันนิษฐานที่ว่ามีกลุ่มฝุ่นละอองและก๊าซบดบังแสงดาวโบยาเจียนอยู่ก็ไม่น่าเป็นไปได้ เนื่องจากกรณีนี้มักพบได้บ่อยในดาวฤกษ์ที่เกิดใหม่ แต่ดาวโบยาเจียนนั้นเป็นดาวฤกษ์ที่มีอายุเรียกได้ว่าเข้าวัยกลางคนแล้ว นอกจากนี้ ยังไม่พบว่าดาวโบยาเจียนปลดปล่อยรังสีอินฟาเรดออกมาอีกด้วย
ทั้งที่หากมีกลุ่มฝุ่นละอองและก๊าซลักษณะคล้ายจานแบนบดบังอยู่ จะต้องมีการสะสมความร้อนและปลดปล่อยรังสีอินฟาเรดออกมาแน่นอน ในปี 2016 มีการรายงานความแปลกประหลาดของดาวโบยาเจียนเพิ่มเติมอีก โดยมีผู้พบว่านอกจากแสงสว่างของดาวจะมัวลงสลับกับสว่างขึ้นเป็นช่วง ๆ แล้ว ในระยะยาวแสงสว่างของดาวโบยาเจียนยังลดลงเรื่อย ๆ ด้วย โดยพบว่าดาวหม่นมัวลงถึง 15% ในช่วงเวลา 100 ปีที่ผ่านมา ทั้งเมื่อตรวจสอบกับข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์แล้ว ยังพบว่าดาวโบยาเจียนส่องสว่างลดลง 3% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาอีกด้วย ซึ่งทำให้คำอธิบายที่ว่ามีฝูงดาวหางหรือกลุ่มฝุ่นก๊าซโคจรบดบังแสงอยู่เป็นระยะใช้ไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ไม่นานมานี้มีผู้เสนอสมมติฐานใหม่ ซึ่งอาจอธิบายปรากฎการณ์แปลกประหลาดทั้งหมดของดาวโบยาเจียนอย่างครอบคลุมได้ โดยนายไบรอัน เมตซ์เจอร์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เสนอแนวคิดนี้บอกว่า ปรากฎการณ์ของแสงดาวโบยาเจียนที่เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ นั้น อาจมาจากการที่ดาวโบยาเจียนกำลัง “กลืนกิน” ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งอยู่ก็เป็นได้ นายเมตซ์เจอร์บอกว่า ดาวเคราะห์นี้อาจเคยเป็นบริวารของดาวโบยาเจียนเอง แต่ถูกแรงดึงดูดของดาวฤกษ์อีกดวงหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงทำให้วงโคจรผิดเพี้ยนไป และเริ่มเฉียดเข้าใกล้ดาวโบยาเจียนมากขึ้น จนพื้นผิวด้านนอกหรือดวงจันทร์ของดาวเคราะห์นั้นถูกดูดกลืนเข้าไป เหลือทิ้งไว้แต่แนวหางของฝุ่นละอองเป็นทางยาวที่ยังโคจรรอบดาวโบยาเจียนและบดบังแสงดาวเป็นระยะ
นอกจากนี้ การที่ดาวเคราะห์ทั้งดวงถูกดูดกลืนเข้าไป ทำให้ดาวโบยาเจียนส่องสว่างมากกว่าปกติได้ในระยะหนึ่ง ก่อนจะค่อย ๆ มีความสว่างลดลงมาอยู่ในระดับปกติตามเดิม ซึ่งอธิบายได้ว่าเหตุใดดาวโบยาเจียนจึงดูเหมือนว่ามีแสงสว่างลดลงในระยะยาวนับร้อยปีด้วย “ที่จริงแล้วปรากฎการณ์นี้อาจไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด และอาจพบได้บ่อยครั้งในจักรวาลมากกว่าที่เราคิด เพราะมีดาวฤกษ์อยู่นับแสนล้านดวงในกาแล็กซีทางช้างเผือกที่ยังไม่ถูกสังเกตการณ์โดยมนุษย์” นายเมตซ์เจอร์กล่าว
เป็นยังกันบ้างคะเพื่อนๆ สำหรับดวงที่ลึกลับที่สุดในกาแล็กซีทางช้างเผือก เพื่อนๆมีความคิดเห็นยังไงกันบ้าง ก็มาคอมเม้นพูดคุยกับพวกเราได้นะคะ สุดท้ายนี้ หากถูกใจคลิปของพวกเราอย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะคะ