อินเดียเจ้าอวกาศต้นทุนต่ำ

เมื่อพูดถึงประเทศอินเดีย เพื่อนๆ นึกถึงอะไรกันบ้างคะ หลายคนอาจนึกถึงโรตี เครื่องเทศ วัว ชุมชนที่แออัด แต่เพื่อนๆรู้หรือไม่ว่าประเทศอินเดียได้พัฒนาไปไกลจนสามารถสร้างจรวดได้แล้ว แถมยังเป็นจรวดที่มีต้นทุนในการสร้างที่ต่ำมากๆ อีกด้วย!

จากข่าวระบุว่าอินเดียได้เข้าสู่สงครามการแข่งขันทางด้านอวกาศกับประเทศมหาอำนาจทั้งหลายแล้ว หลังจากเปิดตัวภารกิจสร้างจรวจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์เป็นประเทศที่ 4 ในวันที่ 15 ก.ค. 2562 ซึ่งอินเดียก็ได้ปล่อยยานอวกาศชื่อ จันทรายาน2 ที่พัฒนาและก่อสร้างมานานถึง 10 ปีออกจากเกาะนอกชายฝั่งรัฐอันตรประเทศได้สำเร็จ

ยานจันทรายาน 2
ภาพยานจันทรายาน 2 – ขอขอบคุณภาพประกอบจาก THE STANDARD

การปล่อยยานอวกาศลำนี้มีความหมายมากกว่าการส่งยานขึ้นอวกาศเฉยๆ เพราะนี่ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของอินเดียที่ทัดเทียมนานาประเทศ เพราะตั้งแต่ยุคของนีล อาร์มสตรอง อินเดียก็พยายามจะสร้างยานอวกาศมาตลอด โดยในครั้งนี้อินเดียได้ใช้งบประมาณในการสร้างจันทรายาน2 ไป 140 ล้านดอลลาร์ ซึ่งยานลำนี้จะเดินทางเป็นระยะทางถึง 354,400 กิโลเมตร ไปยังขั้วใต้ของดวงจันทร์

ในขณะที่สหรัฐใช้งบกับยานอะพอลโลทั้ง 15 ครั้งไป 2.5หมื่นล้านดอลลาร์ และใช้เงินในภารกิจของนีล อาร์มสตรองและนักบินคนอื่นๆ ไปถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ ทางฝั่งของจีนที่เคยส่งยานฉางเอ๋อ4 เข้าร่วมประชันในศึกสงครามอวกาศเมื่อเดือน ม.ค. จีนได้ใช้งบประมาณในโครงการนี้ไป 8.4 พันล้านดอลลาร์ ส่วนรัสเซียร์ที่เคยส่งจรวดแบบไม่มีนักบินไปลงบนดวงจันทร์ในปี 2509 ก็ได้ใช้เงินไป 2 หมื่นล้านดอลลาร์

ยานฉางเอ๋อ 4
ภาพยานฉางเอ๋อ 4 – ขอขอบคุณภาพประกอบจาก THE STANDARD

เค คัสตุริรังกัน อดีต ผอ.ไอเอสอาร์โอ กล่าวถึงภารกิจยานอวกาศต้นทุนต่ำของอินเดียในครั้งนี้เอาไว้ว่า เราต้องถามตัวเองให้ได้ก่อน ไม่ใช่ถามว่าอินเดียจะพยายามทำภารกิจที่ยากขนาดนี้ไปทำไม แต่ต้องถามว่าทำไมถึงจะไม่ทำ ด้วยเหตุนี้อินเดียจึงได้ตั้งเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ว่าจะเป็นผู้นำด้านอวกาศในสักวันหนึ่ง และสร้างยานอวกาศนี้ขึ้นมา และเนื่องจากประชาชนหลายคนในอินเดียก็ยังต้องทนกับความหิวโหย ดังนั้นอินเดียจึงไม่สามารถลงทุนเป็นเงินจำนวนมากได้ แต่นั่นก็ไม่ได้หยุดอินเดียไม่ให้ทำตามความฝัน ทางอินเดียเลยสร้างยานอวกาศด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดออกมา ซึ่งมันก็สามารถลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จจริงๆ ด้วย

“มันเป็นช่วงเวลาที่ลุ้นที่สุด เพราะเราไม่เคยทำภารกิจอะไรที่ยากเย็นและซับซ้อนขนาดนี้มาก่อน” เค สิวัน ผู้อำนวยการองค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ไอเอสอาร์โอ) กล่าวถึงช่วง 15 นาทีสุดท้ายที่ยานลงจอด และหลังจากนี้ยานจะทำการสำรวจหาน้ำและฟอสซิลที่บ่งบอกถึงประวัติของระบบสุริยะในยุคแรก

เค สิวัน
ภาพคุณเค สิวัน – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ businesstoday.in

อย่างไรก็ตาม ยานอวกาศต้นทุนต่ำก็ไม่ได้ไม่มีข้อเสีย เพราะนั่นหมายถึงนักบินก็จะไม่ได้รับความสะดวกสบายระหว่างการเดินทางเมื่อเทียบกับภารกิจที่มีทุนสูง เหมือนกับการนั่งเครื่องบิน low cost อย่างไรอย่างนั้น ซึ่ง สก็อต ฮับบาร์ด อดีตหัวหน้านักวิจัย ที่ปัจจุบันหันมาทำงานให้กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดแทน ก็เคยได้ทดลองนั่งยานอวกาศราคาถูกชื่อ “มังกลายาน” มาแล้ว

บอกได้เลยว่ายานอวกาศอื่นๆ สร้างมาเพื่อให้ใช้งานได้นานๆ แต่มังกลายานสร้างเหมือนเอาไว้ใช้เพียงแค่ 1 ปีก็พังแล้ว ด้วยเหตุนี้ราคาของยานมังกลายานจึงถูกกว่ายานอื่นๆ ถึง 1 ใน 10 เลยทีเดียว นอกจากนี้มังกลายานยังบรรทุกน้ำหนักได้น้อยมาก เพียงแค่ 15 กิโลกลัมเท่านั้น ในขณะที่ยานอื่นๆ สามารถบรรทุกได้ถึง 65 กิโลกรัม ซึ่งยานลำไหนมันคุ้มค่ากว่าก็ต้องลองไปคำนวนกันเอาเอง

 ยานมาเวน
ยานมาเวน – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ mgronline.com

หลังจากลงจอดที่ดวงจันทร์ได้สำเร็จ ต่อไปก็ถึงคราวดาวอังคารบ้าง โดยมังกลายานจะต้องเข้าทดสอบการระเบิดของเครื่องยนต์ในวันที่ 22 ก.ย. หลังจากนั้นทีมงานก็จะทำการปรับแก้ ก่อนที่จะเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารในวันที่ 24 ก.ย. ต่อไป ซึ่งในช่วง 200 ล้านกิโลเมตรสุดท้ายก่อนลงจอด แรงดึงดูดของดาวอาจทำให้องศาของยานเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องควบคุมยานให้ดี

นอกจากนี้ยังมีอีกปัญหานึงคือ ในเมื่ออินเดียสร้างยานด้วยต้นทุนที่ถูกมากๆ ทำให้สถานีรับสัญญาณจากประเทศอื่น อย่างสหรัฐ ออสเตรเลีย เยอรมนี ฯลฯ ก็สามารถรับสัญญาณจากยานมังกลายานได้ด้วย ซึ่งก็ไม่รู้ว่าหลังจากนี้อาจจะก่อให้เกิดปัญหาใดเพิ่มเติมบ้าง

ภาพมังกลายาน – ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ hilight.kapook.com

เป็นยังไงบ้างคะเพื่อนๆ สำหรับยาวอวกาศต้นทุนต่ำของอินเดีย เพื่อนๆคิดว่ายานอวาศต้นทุนต่ำเหล่านี้จะสามารถทำภารกิจได้สำเร็จหรือไม่ แต่ถ้าเกิดทำได้ขึ้นมา คงได้อึ้งไปตามๆกัน สำหรับประเทศที่ใช้งบประมาณในการสร้างสูงๆ และที่สำคัญต้องขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆจากเว็ป bangkokbiznews สุดท้ายนี้หากถูกใจบทความของพวกเราอย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะคะ