จรวดนิวตรอน นวัตกรรมใหม่ทางการบินอวกาศ

ในเมื่อคู่แข่งทางด้านอวกาศของสหรัฐอเมริกา ไม่ได้มีเพียงเเค่สเปซเอ็กซ์และบลูออริจินแล้ว แต่ยังมีอีกหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในวงการอวกาศมาแล้วหลายปีอย่างร็อกเก็ตแลป ซึ่ง ร็อกเก็ตแลป เป็นบริษัทไม่คุ้นหูแต่มีผลงานการส่งจรวดขึ้นไปยังอวกาศอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อย่าง จรวดอิเล็กตรอน ซึ่งเป็นจรวดขนาดเล็กของบริษัท

.

ซึ่งล่าสุด บริษัทร็อกเก็ตเเลป ได้เปิดเผยแผนการที่จะสร้างจรวดอีกหนึ่งลำขึ้นไปยังบนอวกาศในชื่อว่า “จรวดนิวตรอน” เรื่องราวแผนการและภารกิจของจรวดนิวตรอนนี้จะเป็นอย่างไร วันนี้พวกเราชาว eduHUB จะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกัน แต่ก่อนจะไปรับฟังเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนใจดี BEEclean แอปเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ

.

เราคงต้องยอมรับกันดีว่า ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกานั้น ค่อนข้างมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอวกาศเป็นอย่างมาก หากเทียบกับอีกหลายประเทศ แม้ว่าในช่วงหลังนั้น จีนจะขึ้นมาตีตื้นและเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศตามมา แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังถือว่า เป็นประเทศชั้นนำในวิทยาการด้านนี้อยู่

.

ในประเทศสหรัฐอเมริกาเองนั้น นอกจากจะมี NASA ที่เป็นองค์กรทางอวกาศที่ภาครัฐดูแล ก็ยังมีบริษัทเอกชนที่เป็นพ่อบุญทุ่ม ทุ่มเงินกว่าหลายพันล้านบาท สร้างจรวดในหลาย ๆ รูปแบบที่ตอบโจทย์ต่อการใช้งานในอวกาศ บริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกา อย่างเช่น สเปซเอ็กซ์ ที่มีการผลิตยานอวกาศและจรวดทั้งทางเชิงธุรกิจและร่วมปฏิบัติภารกิจกับนาซ่า นอกจากนี้ยังมีบริษัทบลูออริจิน บริษัทสัญชาติสหรัฐอเมริกาอีกบริษัทหนึ่งเหมือนกันที่พัฒนาจรวดและยานอวกาศ โดยมีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์สามารถขึ้นไปเยี่ยมชมอวกาศได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต

.

จากสองบริษัทชื่อดังสหรัฐอเมริกา ก็ยังคงมีบริษัทร็อกเก็ตเเลป ที่เป็นบริษัทผลิตยานอวกาศในลักษณะของยานขนส่งผ่านจรวดอิเล็กตรอนที่เริ่มมีการปฏิบัติภารกิจกันตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2560 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ร็อกเก็ตเเลปนำจรวดขึ้นบินมาแล้วกว่า 22 ครั้ง และได้นำดาวเทียมไปปล่อยขึ้นอวกาศไปแล้วถึง 107 ดวง ซึ่งร็อกเก็ตเเลปยังเป็นบริษัทอเมริกาที่ส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศมากที่สุดในช่วงปีสองปีที่ผ่านมานี้อีกด้วย

.

โดยร็อกเก็ตเเลปมีแผนในการสร้างจรวดคอลเลคชั่นใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า จรวดนิวตรอน ซึ่งรูปร่างของจรวดนิวตรอนนั้นจะมีความสูงถึง 40 เมตร สามารถขึ้นบินบนวงโคจรต่ำ โดยมีระวางการบรรทุกได้ถึง 8,000 กิโลกรัม แต่หากจะเดินทางไกลไปยังดาวอังคารหรือดาวศุกร์ ก็จะมีระวางบรรทุกได้เพียง 1,500 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งในอนาคตร็อกเก็ตเเลปเผยว่า พวกเขาจะพัฒนาให้ตัวยานสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 15,000 กิโลกรัมบนวงโคจรต่ำ

.

ลักษณะของจรวดนิวตรอนจะมีทั้งหมด 2 ตอน แต่จะไม่มีรอยต่อราวกับว่าเป็นจรวดตอนเดียว ปลายจรวดจะมีฝาประกับจำนวนถึง 4 ฝา ซึ่งประกับทั้ง 4 นั้นจะโอบคลุมจรวดส่วนที่ 2 เอาไว้ทั้งลำ ซึ่งจรวดส่วนที่ 2 นั้นจะบรรทุกสัมภาระต่าง ๆ เมื่อจรวดขึ้นสู่อวกาศฝาประกับนั้นจะเปิดออก แล้วจรวดส่วนที่ 2 ที่บรรทุกสัมภาระนั้นจะแยกออกไป เมื่อแยกไปแล้ว จรวดส่วนที่ 1 ฝาประกับจะปิดตัวลงและวนกลับมาจอดลงบนโลก ณ ที่ฐานที่ตั้ง ซึ่งจะสามารถนำกลับมาใช้งานในภารกิจต่อไปได้ได้ ถือเป็นการประหยัดงบประมาณอย่างมหาศาลจากการใช้ซ้ำ

.

ข้อดีของจรวดนิวตรอนคือ ฝาประกับที่ปิดและเปิดได้ ทำให้สามารถนำมาใช้ได้ต่อ ไม่ต้องปล่อยให้กลายเป็นขยะอวกาศ ส่วนตัวเครื่องของจรวดนิวตรอนนั้นจะทำจากคาร์บอน และใช้เชื้อเพลิงจากออกซิไดเซอร์และมีเทน ทำให้มีแรงขับเคลื่อนของจรวดได้ถึง 1 เมกะนิวตัน ความแตกต่างของจรวดนิวตรอนจากจรวดตัวอื่น ๆ ของร็อกเก็ตเเลป หรือของบริษัทอื่น ๆ ก็คือตรงที่หัวจรวดออกแบบมาให้ลงจอดได้พอดีกับฐานโดยไม่ต้องหาฐานใหม่หรือให้ยานอวกาศกางขาในการลงจอด ซึ่งสามารถลงจอดได้อย่างมั่นคง อีกทั้งยังนำมาใช้ซ้ำได้ ซึ่งในอนาคตอาจจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการขนส่งทางอวกาศ แล้วเพื่อน ๆ ละคะ คิดว่าจรวดนิวตรอนของร็อกเก็ตเเลปควรมีอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง และมันมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรอย่าลืมมาคอมเมนท์พูดคุยกันได้เลยนะคะ

.

สำหรับเรื่องราวสนุก ๆ ในวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ แต่ก่อนจะจากกันไปในวันนี้หากคุณกำลังมองหาแม่บ้านทำความสะอาดอยู่ใช่ไหม ถ้าใช่ ต้องนี่เลย BEEclean แอปเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ