ผลกระทบทางสมอง จากการอยู่ในอวกาศ

ในอวกาศที่ไร้ซึ่งชั้นบรรยากาศที่คอยปกป้องเราจากรังสีแสนอันตรายที่อยู่เต็มห้วงจักรวาล รวมไปถึงประจุธาตุต่าง ๆ ที่เราอาจจะยังไม่เคยได้ศึกษา ดังนั้น การขึ้นไปปฏิบัติภารกิจบนอวกาศ มนุษย์ที่ได้รับมอบหมายในการขึ้นไป จะต้องมีความรู้ในการปกป้องตนเองให้รอดพ้นจากรังสีและสิ่งแปลกปลอมที่แสนจะอันตรายในอวกาศ

.

แล้วตัวนักบินอวกาศเองละ หากขึ้นไปปฏิบัติภารกิจเป็นระยะเวลานานบนห้วงอวกาศ จะถือว่าเสี่ยงอันตรายหรือเปล่า? คำถามนี้นำมาซึ่งการวิจัยเพื่อหาคำตอบว่าห้วงอวกาศนั้นมีอันตรายต่อนักบินอวกาศอย่างไร ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สมองของนักบินอวกาศเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังจากกลับมาจากอวกาศ เรื่องราวการเปลี่ยนแปลงของสมองนักบินอวกาศนั้นจะเป็นอย่างไร วันนี้พวกเราชาว eduHUB จะพาเพื่อน ๆ ไปรับกัน แต่ก่อนจะไปรับฟังเรื่องราวสนุก ๆ ในวันนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนใจดี BEEclean แอปเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ

.

จักรวาลของเรามีดวงดาวและแหล่งพลังงานมากมาย มีการระเบิด มีการเปลี่ยนแปลง มีการดึงดูดเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ในห้วงอวกาศที่แสนลึกลับ มีทั้งรังสีที่เราไม่สามารถมองเห็นได้และรังสีบางชนิดเราก็ยังไม่รู้จักเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้ ยังมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

.

ความอันตรายของอวกาศไม่ได้มีเพียงแค่รังสีหรือพลังงานต่าง ๆ เท่านั้น แต่มันยังมีแรงโน้มถ่วงที่บางเบา อากาศที่เบาบางหรือแทบจะไม่มี ดังนั้นการที่มนุษย์สักคนที่เคยอาศัยบนโลกและร่างกายนั้นมีความเคยชินกับการใช้ชีวิตบนพื้นโลก บนโลกที่มีอากาศเพียงพอ มีแรงโน้มถ่วงที่ยึดเหนี่ยวเราไว้บนพื้นโลก มีรังสีที่ไม่เป็นอันตราย แต่แล้ววันหนึ่ง ถ้ามนุษย์ต้องขึ้นไปอยู่บนอวกาศ ซึ่งสิ่งแวดล้อมรอบตัวนั้นแตกต่างจากโลกโดยสิ้นเชิง ร่างกายมนุษย์ที่ถูกออกแบบมาให้อยู่บนพื้นโลกมาโดยตลอดนั้นจะรับมือได้มากน้อยแค่ไหน?

.

ปกติแล้วเวลานักบินอวกาศจะขึ้นไปยังอวกาศ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายหรือยานพาหนะจะต้องมีสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อย่างเช่น ออกซิเจน อุปกรณ์ปรับความดัน อุปกรณ์รักษาอุณหภูมิและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อรักษาสภาวะบนอวกาศให้คล้ายกับพื้นโลกมากที่สุด แต่อวกาศก็ยังอันตรายมากกว่าที่เราคิด เพราะแม้ว่านักบินอวกาศจะป้องกันตนเองดีแค่ไหน แต่อวกาศก็ยังส่งผลกระทบถึงร่างกายภายในอยู่ดี

.

เพราะจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์วารสาร Frontiers in Neural Circuits ได้ทำการศึกษาเรื่องราวของสมองนักบินอวกาศที่ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจากงานวิจัยนี้ เริ่มต้นโดยองค์กรอวกาศยุโรปหรือ ESA ร่วมมือกับองค์กรอวกาศรัสเซีย ศึกษาสมองของนักบินอวกาศถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของมัดใยประสาทในสมอง ซึ่งเป็นในส่วนของเนื้อสมองสีขาว ปกติแล้วมัดใยประสาทในสมองจะมีเนื้อสีเทา และเนื้อสีขาว โดยเนื้อสีเทาจะดูแลเรื่องร่างกาย ส่วนสีขาวจะดูแลเรื่องการสื่อสารของสมอง ทางผู้วิจัยได้ใช้เทคนิค Fiber Tractography ทดสอบในนักบินอวกาศ 12 ราย ที่เดินทางขึ้นไปปฏิบัติภารกิจบนอวกาศเป็นระยะเวลา 172 วัน มีการสแกนสมองในช่วงก่อนบินและหลังบิน และมีการสแกนต่อเนื้องอีกถึง 8 รอบ

.

ซึ่งจากการวิจัยพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสมองในการเชื่อมต่อระบบประสาท หรือที่ทั่วไปเรียกกันว่า มอเตอร์ในสมอง ที่อาจได้รับผลกระทบมาจากการใช้ชีวิตในสูญญากาศ ไร้น้ำหนัก ทำให้นักบินอวกาศจะต้องปรับเปลี่ยนการเคลื่อนไหวที่แตกต่างไป แต่ผลกระทบระยะยาวของสมองส่วนนี้ยังคงมีผลอย่างต่อเนื่องถึง 7 เดือน เพราะสมองยังคงไม่กลับมาเป็นปกติเหมือนก่อนขึ้นบิน แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ส่งผลรุนแรงต่อการใช้ชีวิตมากเท่าไร แต่หากในอนาคตก็คงต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันให้นักบินอวกาศหรือใครก็ตามที่จะขึ้นไปยังอวกาศเกิดผลกระทบน้อยที่สุด

.

สำหรับเรื่องราวสนุก ๆ ในวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ แต่ก่อนจะจากกันไปในวันนี้ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก chatBEE แอปหาคนรู้ใจ ใกล้คุณ โหลดเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป