เกือบ 50 ปีผ่านมาหลังจากภารกิจอพอลโล ในช่วงทศตวรรษ 1960 – 1970 ที่ได้มีการเก็บหินจากพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลก แต่ปัจจุบัน NASA เพิ่งจะเริ่มทำการเปิดหลอดเก็บตัวอย่างเหล่านั้นออกมาทำการศึกษา ตลอดเวลาที่ผ่านมา หลอดเก็บตัวอย่างถูกปิดผนึกไว้เพื่อให้สามารถทำการศึกษาได้อีกหลายปีต่อมา ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
.
วันนี้พวกเราชาว EduHub จะพาเพื่อน ๆ ไปพบกับการที่ NASA เปิดหลอดเก็บตัวอย่างก๊าซดวงจันทร์และดินของดวงจันทร์อายุที่ถูกปิดผนึกสูญญากาศไว้ 50 ปี แต่ก่อนจะไปฟังเรื่องราวสนุก ๆ ในวันนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนใจดี BEEclean แอพเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ
.
ภารกิจอพอลโล ที่ไปยังดวงจันทร์กว่า 17 ครั้ง ได้นำตัวอย่างหินทั้งหมด 2,196 ตัวอย่างกลับมายังโลก แต่ในปีนี้ NASA เพิ่งจะเริ่มเปิดออกมาทำการศึกษา หลังจากผ่านมา 50 ปี ตลอดเวลานั้น หลอดบางหลอดถูกปิดผนึกไว้เพื่อให้สามารถศึกษาได้อีกหลายปีต่อมา ด้วยความช่วยเหลือจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี NASA ทราบดีว่า “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมีวิวัฒนาการและทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาเนื้อหาในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อตอบคำถามใหม่ ๆ ในอนาคต” หน่วยงานทราบดีว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้าจะมีเทคนิคต่าง ๆ ในการศึกษาวิเคราะห์หินได้ละเอียดมากกว่า ที่นักวิทยาศาสตร์ในยุค 70 ไม่สามารถทำได้
.
นักวิทยาศาสตร์เปิดผนึกตัวอย่างที่มีชื่อว่า Apollo Next Generation Sample Analysis Program (ANGSA) 73001 ที่ Johnson Space Center ของ NASA ในเมืองฮูสตัน นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามทำความเข้าใจถึงพื้นผิวดวงจันทร์ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจ Artemis ที่วางแผนไว้ใกล้กับขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ หลอดเก็บตัวอย่างแรกที่เขาได้ทำการเปิดออกมา เรียกว่า 73001 เป็นตัวอย่างที่เก็บรวบรวมโดยนักบินอวกาศ Eugene Cernan และ Harrison Schmitt ในเดือนธันวาคม ปี 1972 ระหว่างภารกิจ Apollo 17 ครั้งสุดท้าย
.
หลอดเก็บนี้มีความยาว 35 ซม. และกว้าง 4 ซม. (13.8 นิ้วคูณ 1.6 นิ้ว) โดยได้เก็บตัวอย่างในบริเวณพื้นที่หุบเขา Taurus-Littrow ของดวงจันทร์ ซึ่งอาจจะมีก๊าซหรือสารระเหย (น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ) ที่ติดมาในขณะทำการเก็บตัวอย่าง และจุดมุ่งหมายในการศึกษาครั้งนี้เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์แร่ธาตุที่พบบนดวงจันทร์ โดยเฉพาะตัวอย่างนี้ ที่มีโมเลกุลน้ำและก๊าซบางชนิดที่ปะปนอยู่น้อยมาก จึงต้องใช้เทคโนโลยีสเปกโตรเมทรีที่มีความแม่นยำสูงสุดที่เพิ่งถูกพัฒนาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคนิคนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถดูมวลของ “โมเลกุลที่ไม่รู้จัก” (หรือส่วนประกอบของสสาร) ได้
.
จากนั้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ นักวิทยาศาสตร์เริ่มกระบวนการเจาะท่อหลักและเก็บเกี่ยวก๊าซที่บรรจุอยู่ภายในโดยใช้เวลานานกว่าหลายสัปดาห์ ต่อมาในฤดูใบไม้ผลิ มีการสกัดหินและแยกออกอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ สามารถแยกกันไปศึกษาได้ เพราะพื้นที่ที่ทำการเก็บตัวอย่างมามีความน่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นบริเวณที่เกิดดินถล่ม ทั้งที่บนดวงจันทร์นั้นไม่มีทั้งฝนและลม พวกเขาจึงไม่อาจจะเข้าใจได้ว่าทำไมถึงเกิดเหตุดินถล่มได้ นี่จึงเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่พวกเขาจะไขปริศนานี้ได้ จูเลียน กรอส รองภัณฑารักษ์ของอพอลโลได้กล่าวว่า นักวิจัยหวังว่าจะศึกษาตัวอย่าง เพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดดินถล่ม
.
เธอกล่าวว่าหลังจากการเปิดตัวอย่าง 73001 ในครั้งนี้ เราคงจะต้องรอไปอีก 50 ปีในการการเปิดตัวอย่างตัวต่อไปมาศึกษา เนื่องจากพวกเขาจะต้องรอตัวอย่างใหม่จากภารกิจอาร์ทิมิส ซึ่งภารกิจอาร์ทิมิสคือภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ของ NASA โดยต้องการที่จะส่งมนุษย์ขึ้นสู่ดวงจันทร์ในปี 2025 หากได้ตัวอย่างจากภารกิจอาร์ทิมิส อาจจะเป็นเรื่องที่ดีที่พวกเขาจะได้ทำการเปรียบเทียบตัวอย่างทั้งสองภารกิจเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์และไขปริศนาต่าง ๆ ที่เราอาจะยังไม่รู้เกี่ยวกับดวงจันทร์
สำหรับเรื่องราวสนุก ๆ ในวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ แต่ก่อนจะจากกันไปในวันนี้หากคุณกำลังมองหาแม่บ้านทำความสะอาดอยู่ใช่ไหม ถ้าใช่ ต้องนี่เลย BEEclean แอปเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ