สถาบันดาราศาสตร์ทั่วโลกต่างเฝ้ามองและติดตามศึกษาความเป็นไปในจักรวาล เหล่านักดาราศาสตร์จึงพยายามพัฒนาอุปกรณ์เพื่อที่จะใช้ในการศึกษาดาวน้อยใหญ่ในจักรภพ โดยมีดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งที่มีชื่อว่า 130 Elektra ซึ่งในครั้งแรกที่ได้ทำการศึกษาดาวเคราะห์น้อยดวงนี้นั้น นักดาราศาสตร์ได้พบว่าดาวเคราะห์น้อย 130 Elektra มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารถึง 2 ดวง ซึ่งก็นับว่าเป็นมาตรฐานของดาวเคราะห์น้อยแบบนี้ที่จะพบดวงจันทร์บริวารไม่เกิน 2 ดวง
.
แต่แล้ว ก็ได้มีรายงานล่าสุด ว่าจู่ ๆ นักดาราศาสตร์ได้มีการค้นพบเพิ่มเติม โดยพวกเขาได้เจอสัญญานของดาวบริวารลึกลับที่เพิ่งถูกพบเจอครั้งแรกผ่านอุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ หรือว่านี่ จะเป็นการค้นพบดวงจันทร์ดวงที่ 3 ของดาวเคราะห์น้อย 130 Elektra และนับว่าเป็นครั้งแรกของโลกที่ค้นพบดวงจันทร์ดาวบริวารของดาวเคราะห์น้อยมากถึง 3 ดวง เรื่องราวการค้นพบนี้จะเป็นอย่างไร วันนี้พวกเราชาว eduHUB จะพาเพื่อนๆไปรับชมกัน แต่ก่อนจะไปรับฟังเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนใจดี BEEclean แอปเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ
.
ดาวเคราะห์น้อย 130 Elektra ดาวเคราะห์น้อยรูปร่างเหมือนเมล็ดถั่วได้ถูกค้นพบตั้งแต่หนึ่งร้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งถูกค้นพบจากนักดาราศาสตร์ที่เฝ้ามองผ่านหอดูดาวที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งลักษณะการหมุนของวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย 130 Elektra นี้นั้น ค่อนข้างมีความประหลาดและไม่เสถียรมากนัก ซึ่งน่าจะเป็นเพราะรูปร่างของดาวที่ไม่กลมมนเหมือนกับดาวดวงอื่น ๆ จึงทำให้แกนหมุนของมันทำงานต่างไปจากดาวดวงอื่น
.
ดาวเคราะห์น้อย 130 Elektra มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารอยู่ทั้งหมด 2 ดวงด้วยกัน ซึ่งเป็นดวงจันทร์ขนาดเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแค่ 4 กิโลเมตรและโคจรในระยะทางประมาณ 1170 กิโลเมตร ซึ่งทางนักดาราศาสตร์ได้ตั้งชื่อเอาไว้ว่า S/2003 (130) และอีกดวงมีขนาดเล็กกว่า และอยู่ในวงโคจรที่ใกล้กว่า ถูกตั้งชื่อว่า S/2014 (130) ซึ่งยังถือว่าเป็นปกติของดาวเคราะห์น้อย ที่จะมีการค้นพบดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร
.
โดยทั่วไปนั้นดาวเคราะห์น้อยจะพบดวงจันทร์เป็นดาวบริวารอยู่ 1-2 ดวง ซึ่งเมื่อวันและเวลาผ่านไป เทคโนโลยีการสำรวจดวงดาวก็เริ่มจะมีการพัฒนาขึ้น ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เคยเป็นอุปสรรคในการสำรวจดวงดาวจากบนพื้นโลก ก็จะถูกปรับปรุงขึ้น เช่น เดิมทีแล้วการเฝ้าสำรวจดวงดาวต่างในจักรวาลนั้น จะมีอยู่ 2 แบบ คือการเฝ้าสำรวจจากภาคพื้นโลกและจากการสำรวจบนอวกาศ ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป
.
ข้อดีของการเฝ้ามองบนพื้นผิวโลกนั่นก็คือ นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์สามารถเฝ้าสังเกตและเก็บข้อมูลได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา รวมไปถึงต้นทุนการใช้อุปกรณ์น้อยกว่า แต่ข้อเสียก็คือการเก็บข้อมูลจากบนพื้นโลกนั้น สัญญาณต่าง ๆ ต้องผ่านชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งชั้นบรรยากาศของโลกนั้นทำให้ความหักเหของความเข้มแสงต่าง ๆ อาจจะบิดเบือนไปหรือไม่เสถียร ยิ่งเมื่อใดก็ตาม ที่เกิดความแปรปรวนในชั้นบรรยากาศ ยิ่งทำให้ผลของข้อมูลนั้นมีความไม่แน่นอน
.
แต่การติดตั้งอุปกรณ์บนอวกาศนั้นจะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่า การจะมีอุปสรรคด้านการควบคุมและการส่งข้อมูลรวมไปถึงอุปกรณ์ที่จะมีต้นทุนที่สูงกว่ามาก ๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาของข้อจำกัดในการเฝ้าสังเกตจากบนพื้นโลก ด้วยการปรับแก้มุมของกระจกกล้องโทรทรรศน์ตามสภาพภูมิอากาศ และตามความแปรปรวนของแสงในจักรวาลที่มักจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูล การปรับแก้มุมกระจกนี้เป็นการปรับแก้ผ่านระบบ Adaption Optics จะมีการปรับมุมของกระจกถึง 1,000 ครั้งต่อวินาที ซึ่งจะได้ข้อมูลที่แม่นยำคล้ายกับเก็บข้อมูลบนอวกาศ
.
ด้วยเทคโนโลนีนี้เองนั้น ทำให้ ดร.แอนโทนี แบร์เดอ นักวิจัยทางดาราศาสตร์ได้ประมวลผลกับเทคโนโนโลยีใหม่จากข้อมูลเก่าที่เคยถูกบันทึกเอาไว้ ซึ่งทางเขานั้นได้พบดาวเคราะห์น้อย 130 Elektra ที่มีดวงจันทร์ 2 ดวงเหมือนกับข้อมูลเก่าที่เคยสังเกตการณ์เมื่อปี ค.ศ. 2014 แต่สิ่งที่พิเศษกว่านั้นก็คือ เขาได้สังเกตว่าน่าจะมีดวงจันทร์อีกหนึ่งดวงที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อย 130 Elektra ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ลดความผิดพลาดจากความแปรปรวนของอากาศและแสงในจักรวาล
.
ซึ่งเขาพบว่ามีดวงจันทร์อีกหนึ่งดวงที่ถูกแสงของดาวเคราะห์น้อย 130 Elektra บดบังอยู่ ซึ่งในเทคโนโลยีใหม่นี้สามารถแก้ปัญหาแสงที่บดบังได้ จึงทำให้โลกเราได้ค้นพบดวงจันทร์ที่ 3 ของดาวเคราะห์น้อย 130 Elektra ซึ่งนับว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารถึง 3 ดวงด้วยกัน
.
ดวงจันทร์ดวงใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า S/2014 (130) 2 มีวงโคจรระหว่างดาวเคราะห์น้อยนี้อยู่ที่ 200 กิโลเมตร และใช้เวลาโคจรรอบดาวเคราะห์น้อย 130 Elektra ทุก ๆ 16.3 ชั่วโมง การค้นพบดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวเคราะห์น้อย 130 Elektra นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้เทคโนโลยีระบบ Adaption Optics ที่แก้ปัญหาจุดบกพร่องต่าง ๆ ของการสังเกตการณ์จากพื้นโลก ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถมองเห็นและสำรวจดาวได้มากขึ้นกว่าเดิม และนั่นก็หมายความว่าหลังจากนี้ไปโลกอาจจะได้ข้อมูลใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา และไม่แน่ว่าเราอาจจะพบดาวที่มีสิ่งมีชีวิตที่เคยถูกแสงบดบังจนเราไม่สามารถมองเห็นได้ก็เป็นไปได้
.
สำหรับเรื่องราวสนุก ๆ ในวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ แต่ก่อนจะจากกันไปในวันนี้หากคุณกำลังมองหาแม่บ้านทำความสะอาดอยู่ใช่ไหม ถ้าใช่ ต้องนี่เลย BEEclean แอปเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ