เทคโนโลยีใหม่สร้างยานอวกาศที่เบาที่สุด

การเดินทางในอวกาศแน่นอนว่ามันขึ้นชื่อว่าใช้ระยะเวลานานมากๆ ขนาดการเดินทางไปยังดวงจันทร์ที่มีระยะทางใกล้ๆ มนุษย์ยังใช้เวลาเป็นเดือนๆ กว่าจะไปถึง แล้วจะเป็นอย่างไร ถ้ามีการพัฒนายานอวกาศให้สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น น้ำหนักเบาขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถการเดินทางให้สามารถเดินทางได้ไกลมากยิ่งขึ้น
.

วันนี้พวกเรา eduHUB จะพาเพื่อนๆมาชมวิธีการสร้างยานอวกาศที่สามารถลดการเดินทางจากเดิมได้เกือบร้อยเท่า เรื่องราวของยานอวกาศนี้จะเป็นอย่างไร มารับชมรับฟังกัน แต่ก่อนที่จะไปรับฟังเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนใจดี BEEclean แอพเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ
.

อย่างที่ทราบกันดีกว่าการเดินทางด้วยยานอวกาศเพื่อสำรวจสิ่งต่างๆในจักรวาล มักมีขีดจำกัดในเรื่องของการเดินทาง เพราะอวกาศมีระยะทางที่ยาวนานเกินกว่าที่มนุษย์นั้นจะไปสำรวจถึง ด้วยเทคโนโลยีอวกาศในตอนนี้ ทำให้เราสามารถเดินทางแค่ในบริเวณระยะสั้นๆ เพราะหากยานอวกาศยังคงต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิง และมีอุปกรณ์มากมายที่ต้องใช้ในการสำรวจ
.

ในปัจจุบันจึงเริ่มมีนักวิทยาศาสตร์ที่จะพัฒนายานอวกาศให้สามารถเดินทางได้นานขึ้นและเร็วขึ้น โดยพวกเขาได้นำข้อเสียและอุปสรรคต่างๆของยานอวกาศในปัจจุบันมาวิเคราะห์ และพบว่า หนึ่งสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเดินทางบนอวกาศ  คือขนาดและน้ำหนักของยานอวกาศที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมากในการเคลื่อนที่
.

นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยอวกาศ ประเทศเยอรมัน ชื่อว่า เรเน เฮลาร์ ได้พัฒนาวัสดุที่มีชื่อว่า แอโรกราไฟต์ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นคาร์บอนที่ออกแบบออกมาคล้ายกับโฟม ซึ่งตัวแอโรกราไฟต์นี้เองนั้นมีน้ำหนักเบามากๆ มันเบากว่าอลูมิเนียมถึง 15,000 เท่า และยังมีความสามารถในการทดความร้อนได้สูงอีกด้วย
.

ซึ่งวัสดุนี้สามารถนำมาใช้ในการสร้างเรือใบสุริยะ ซึ่งเป็นยานอวกาศที่สามารถเดินทางได้โดยใช้ความดันโฟตอนในการเคลื่อนที่ ซึ่งกลไกคล้ายกับเรือใบที่ใช้ลมบนโลกของเรา ซึ่งเรือใบสุริยะนี้เองทำให้ลดการใช้พลังงาน เพราะจะใช้โฟตอนจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนแทน
.

ซึ่งการประมาณการค่าใช้จ่ายเรือใบสุริยะที่ทำจากวัสดุแอโรกราไฟต์นั้นคาดว่าน่าจะมีราคาเพียงแค่ 1 ล้านดอลลาร์เพียงเท่านั้น ตัวนักวิจัย เรเน เฮลาร์ ยังได้กล่าวอีกว่า โฟตอนจากดวงอาทิตย์ที่จะใช้เป็นแรงผลักดันให้เรือใบสุริยะขับเคลื่อนได้นั้น เป็นลักษณะของพลังงานที่ไม่มีมวล
.

ในอวกาศนั้น หากใบของเรือใบสุริยะได้พบกับโฟตอน จะทำให้เกิดแรงผลักดันทำให้เรือใบสุริยะได้เคลื่อนที่ ซึ่งการปะทะของโฟตอนจนเกิดแรงดันนี้ ไม่ได้ทำให้เกิดแรงดันน้อยๆอย่างเรือใบที่ได้รับลมบนโลก แต่พลังงานโฟตอนนั้นทำให้เรือใบสุริยะเคลื่อนที่ได้เร็วมากๆ ซึ่งจะสามารถทำให้ยานอวกาศลำนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วโดยไม่ต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงเลยทีเดียว
.

สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ได้มีการทดสอบการนำวัสดุแอโรกราไฟต์ที่มีขนาด 1 มิลลิเมตร มารับแรงผลักดันจากโฟตอนจากดวงอาทิตย์ ซึ่งในการทดลอง แอโรกราไฟต์สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็ว  100 กิโลเมตร ต่อ วินาที ซึ่งความเร็วในระดับนี้ของวัตถุขนาดเท่านี้ ก็พอจะให้คาดเดาได้ว่า มันเป็นความเร็วที่สามารถพาให้ยานอวกาศหลุดออกจากระบบสุริยะไปเลยก็ยังได้
.

ถ้าหากในอนาคตนักดาราศาสตร์ได้นำวัสดุแอโรกราไฟต์มาใช้ในการทำยานอวกาศจริงๆ จะทำให้เราสามารถเดินทางในอวกาศได้อย่างรวดเร็ว เช่นการเดินทางไปยังดาวอังคาร แทนที่จะใช้เวลาเกือบปี แต่หากใช้ยานอวกาศที่ทำด้วยแอโรกราไฟต์ จะใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ 60 วัน และไปดาวพลูโตที่อยู่ไกลสุดในระบบสุริยะได้เพียงระยะเวลา 4 ปีกว่าๆ
.

และหากถ้าเราต้องการจะเดินทางไปยังระบบดาวฤกษ์พรอกซิมา ที่หลายคนคาดว่าน่าจะมีดาวคล้ายโลกอยู่ในระบบดาวฤกษ์นั้น และอาจมีสิ่งมีชีวิตและอารยธรรมต่างดาวอยู่ในระบบดาวฤกษ์นั้น โดยหากเป็นยานอวกาศทั่วไป จะต้องใช้ระยะเวลาเดินทางถึง 75,000 ปี เพื่อเดินทางผ่าน 4.2 ปีแสงไปยังระบบดาวพรอกซิมา แต่หากเป็นยานอวกาศขนาดเล็ก ทำจากแอโรกราไฟต์ และขับเคลื่อนด้วยพลังงานโฟตอน จะทำให้สามารถลดระยะเวลาจาก 75,000 ปี เหลือเพียงแค่ 185 ปี 
.

อย่างไรก็ตามนับว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่มนุษย์ได้ค้นพบวัสดุที่เหมาะสำหรับทำยานอวกาศ ซึ่งมีน้ำหนักเบาและเคลื่อนที่ได้เร็ว เพราะแน่นอนว่าในอนาคตจะต้องมีการพัฒนายานอวกาศจากวัสดุนี้แน่นอน และเมื่อถึงเวลานั้นเราก็จะสามารถสำรวจจักรวาลได้อย่างทั่วถึง และเมื่อถึงเวลานั้นเองเราอาจพบอารยธรรมจากต่างดาวก็เป็นไปได้ สำหรับเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ แต่ก่อนจะจากกันไปในวันนี้ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก Chatbee แอพหาคนรู้ใจใกล้คุณ โหลดเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป