สื่อสารกับผู้คนในความฝัน

เราเชื่อว่าใครหลายๆคนในที่นี้ต้องเคยฝันในขณะที่กำลังหลับ บางคนก็จำความฝันของตัวเองได้ บางคนก็จำไม่ได้ และจะเป็นอย่างไรถ้าคนเราสามารถเจาะเข้าไปในความฝันและสามารถสื่อสารกับผู้ที่กำลังนอนฝันอยู่ได้ คล้ายกับภาพยนต์เรื่อง Inception ที่สามารถเข้าไปในความฝันของผู้อื่นและไปพูดคุยกันในฝันได้
.

วันนี้พวกเรา eduHUB จึงจะพาเพื่อนๆไปเรียนรู้กับความสำเร็จของทีมนักวิจัย ที่สามารถสื่อสารกับผู้ที่กำลังฝันอยู่ได้ ทีมนักวิจัยเขาใช้เทคนิคอย่างไรในการวิจัยครั้งนี้ ไปรับชมกับเรากัน แต่ก่อนที่จะไปรับฟังเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนใจดี BEEclean แอปเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ
.

ทุกคนเคยฝันกันรึเปล่า มีหลายคนที่กำลังพยายามทำความเข้าใจกับความฝัน ซึ่งความฝันนั้นก็คือ ความรู้สึกนึกคิดหรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ต่างๆที่ได้ไปพบเจอมาที่ผ่านเข้ามาในความฝันตอนที่เรากำลังหลับอยู่นั่นเอง คนเราสามารถฝันได้คืนละสองสามครั้ง หรือบางคนอาจจะถึงสี่ครั้งเลยก็ว่าได้ แต่กลับมีเพียงน้อยคนนักที่จะสามารถจำความฝันของตัวเองได้จริงไหม
.

บางครั้งเราอาจจะฝันเรื่องเดิมๆซ้ำไปซ้ำมา อาจจะมีเรื่องที่น่าประทับใจหรืออาจจะเป็นฝันร้ายก็ได้ อาจจะแอบน่ากลัวบ้าง และในบางครั้งความฝันก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียน หรือแม้กระทั่งศิลปิน เช่น นักร้องวง The Beatles โดย Paul McCartney เขาได้เล่าว่าเขาตื่นขึ้นมาพร้อมกับทำนองและเสียงดนตรีที่มันอยู่ในหัวของเขา จึงเกิดเป็นเพลง Yesterday ให้เราได้ฟังกัน
.

ล่าสุดในปี 2021 นี้ ก็ได้มีทีมนักวิจัยที่สามารถสร้างการสนทนาถามตอบกับผู้คนในความฝันขณะที่นอนหลับอยู่ ซึ่งทดลองกับผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มพฤติกรรมการนอนแบบที่สามารถควบคุมความฝันได้ หรือ Lucid dreaming โดยพฤติกรรมการนอนแบบนี้ถูกศึกษาครั้งแรกในปี 1970
.

ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามในการศึกษากับผู้ที่มีการนอนหลับแบบกรอกลูกตาไปมาอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ต้องการที่จะสื่อสารกับผู้ที่มีพฤติกรรมการนอนหลับแบบนี้ แต่ผลที่ได้ไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจซักเท่าไหร่
.

เรากลับมาที่การวิจัยอันล่าสุดของเราดีกว่า ในปี 2021 นี้นำโดยทีมนักวิจัยจากฝรั่งเศส เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา ทั้ง 4 คน ที่พยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีในการเจาะเข้าไปในความฝันที่ค่อนข้างจะซับซ้อน พวกเขาจะใช้ทั้งคำพูดหรือคำถามที่ผู้ทดลองไม่เคยได้ยินมาก่อน
.

โดยจะมีผู้เข้าร่วมทดลองกว่า 36 คน มีทั้งผู้ที่ฝันแบบ Lucid dreaming และผู้ที่ไม่เคยฝันแบบนี้คละกันไป แต่จะต้องเป็นผู้ที่สามารถจำความฝันตัวเองได้มากกว่า 1 ครั้ง ขั้นตอนของการทดลองคือ ในขณะที่ผู้ทดลองกำลังหลับอยู่ ทีมนักวิจัยจะเริ่มทำการเจาะเข้าความฝันโดยตรวจเคลื่อนความถี่ของสมอง การเคลื่อนที่ของลูกตา รวมถึงการหดเกร็งตัวของใบหน้า
.

จากการที่ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองสวมหมวกคลื่นสมอง ผลจากการทดลองทั้งหมด 57 ครั้ง ได้ผลตอบรับว่า มีผู้เข้าร่วมการทดลองถึง 6 คน สามารถตอบสนองกับนักวิจัย จากการตอบคำถามที่ทีมนักวิจัยได้เจาะเข้าไปในความฝันแล้วตอบออกมาในรูปแบบการส่งสัญญาณเช่น การยิ้ม การขมวดคิ้ว หรือ การ แทนรหัสมอร์ส
.

ทีมนักวิจัยได้คำตอบว่าผู้ที่มีความฝันแบบ Lucid dreaming เป็นผู้ที่ฝันแล้วตอบสนองมากที่สุดจาก 158 คำถาม ได้ถูกต้องถึง 18.6 % หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองพบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองบางคนสามารถจำความฝันและจำบทสนทนากับคำถามที่ได้รับได้อยู่เลย การทดลองครั้งนี้ถือว่าเป็นการทดลองที่ประสบผลสำเร็จในการเจาะเข้าไปยังความฝันของมนุษย์ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ในอนาคตข้างหน้า
.

การทดลองนี้เรียกได้ว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของมนุษย์ในการสื่อสารกับคนอื่นในความฝัน รวมถึงการวิจัยในครั้งนี้อาจจะสามารถต่อยอดโดยการเจาะลึกเข้าไปในจิตใจของมนุษย์ และสามารถนำมารักษาอาการภายในจิตใจ ความเครียด หรือแม้กระทั่งโรคซึมเศร้าได้ ก็ต้องรอติดตามกันต่อๆไป แต่ก่อนจะจากกันไปในวันนี้ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก Chatbee แอพหาคนรู้ใจใกล้คุณ โหลดเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป