ตรวจพบ! ดาวเคราะห์น้อย มุ่งหน้ามายังโลก

ดาวเคราะห์น้อย คือก้อนหินขนาดเล็กซึ่งมีอยู่มากมายในระบบสุริยะ โคจรรอบดวงอาทิตย์คล้ายดาวเคราะห์ทั่วไป อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี บริเวณนี้จะมีชื่อเรียกว่า “แถบดาวเคราะห์น้อย(Asteroid Belt)” ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 2.0 –3.3 au. หน่วยดาราศษสตร์ (1au. เท่ากับ 1.5 พันล้านกิโลเมตร) ดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุดคือ
ดาวเคราะห์น้อยซีเรส(Ceres) มีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ถ่ายภาพไว้ได้โดยยานอวกาศกาลิเลโอ
(Galileo Space Probe)

ดาวเคราะห์น้อย เกิดขึ้นในยุคที่เกิดระบบสุริยะเมื่อ 4,600 ล้านปีที่แล้ว ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ได้พบและตั้งชื่อไว้กว่า 20,000 ดวง มีวัตถุที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 กิโลเมตร อยู่ประมาณ 200 ดวงที่เหลือเป็นอุกกาบาตขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร โดยทั่วไปเเล้วดาวเคราะห์น้อยมีรูปร่างไม่แน่นอน เต็มไปด้วยหลุมบ่อ แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) พบอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดมาพร้อมกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เหตุผลที่ดาวเคราะห์น้อยในบริเวณนี้ไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ เพราะถูกรบกวนโดยแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของดาวพฤหัสบดี และเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ได้มีการเปิดเผยถึงการตรวจพบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ที่กำลังมุ่งหน้ามาสู่โลกด้วย

NEA

ในหมู่ดาวเคราะห์น้อย จะมีบางส่วน ที่ถูกจัดอยู่ในประเภท ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (near earth asteroids , NEA) หรือวัตถุใกล้โลก (Near Earth Objects , NEOs) ดาวเคราะห์น้อยประเภทนี้ จะเเตกต่างจากดาวเคาะห์น้อยปกติทั่วไปคือ จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เเละสามารถสร้างความเสียหายรุนเเรง ถ้าหากพุ่งชนโลก เราจะเห็นตัวอย่างได้จากหลุมอุกกาบาตบาร์ริงเจอร์ (Barringer crater) ที่มีความกว้างของหลุม 1.6 กิโลเมตร เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตที่มีความกว้างเพียง 40 เมตรเท่านั้น ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก ที่นักดาราศาสตร์ศาสตร์ได้ค้นพบ อาจจะมีความเป็นไปได้ที่ว่า วันนึงมันอาจจะพุ่งชนโลกของเราในอนาคต นักดาราศาสตร์จึงได้พยายามค้นหา เเละติดตาม ดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ เพื่อเฝ้าดูว่า จะก่อให้เกิดอันตรายต่อโลกของเราในอนาคตหรือไม่ หากนักดาราศาสตร์สามารถตรวจพบ NEOs ขนาดใหญ่ได้ก่อนที่มันจะเข้าใกล้โลกในช่วงเวลาที่มากเพียงพอ ก็อาจจะสามารถหยุดการพุ่งชนโลกที่จะเกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 17 มกราคม ที่ผ่านมา ได้มีการตรวจพบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ชื่อว่า “2020 AN3” ผู้ค้นพบ คือ นักฟิสิกส์และนักดาราศาสตร์ ดร. เจียนลูกา มาซี (Dr. Gianluca Masi) จากโครงการกล้องโทรทรรศน์เสมือนจริง (The Virtual Telescope Project) ในอิตาลี และจากภาพที่เก็บได้ บ่งบอกให้เราทราบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้กำลังมุ่งหน้าเข้าหาโลกของเรา นักดาราศาสตร์คาดว่าดาวเคราะห์น้อย 2020 AN3 ที่ได้รับการค้นพบดังกล่าว มีเส้นผ่านศูนย์ผ่านกลางประมาณ 230 ถึง 510 เมตร และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 3.1 ล้านกิโลเมตร ในตอนนี้ มันได้ถูกบรรจุลงในบัญชีรายชื่อเฝ้าระวัง ขององค์การอวกาศยุโรป หรือ European Space Agency’ s (ESA’ s) เเละได้ถูกติดตามโดย ศูนย์ศึกษาวัตถุใกล้โลก หรือ NASA’ s Center for Near Earth Object Studies (CNEOS) เพราะมันมีสิทธิ์ที่จะกลายเป็นดาวเคราะห์น้อยที่อาจพุ่งชนโลกของเราได้ในอนาคต

2020 AN3

การค้นพบ 2020 AN3 ในครั้งนี้ใช้วิธีการถ่ายภาพด้วยการเปิดชัตเตอร์กล้องค้างเอาไว้นาน 180 วินาที เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหวของดวงดาว เมื่อภาพถ่ายออกมาเเล้ว พบว่ามีวัตถุหนึ่งที่ไม่ได้เคลื่อนที่เลย ทั้งการไปทางซ้ายเเละทางขวา นั่นหมายความว่าจุด เล็ก ๆ บนภาพดังกล่าว กำลังมุ่งตรงมาหากล้องนั่นเอง ดร. มาซี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในขณะที่กำลังถ่ายภาพ ดาวเคราะห์น้อย 2020 AN3 ได้อยู่ห่างออกไป 3.1 ล้านกิโลเมตรจากโลก และมันก็กำลังมุ่งหน้าเข้ามาหาพวกเรา”

อย่างไรก็ตาม ดาวเคราะห์น้อยดังกล่าว ได้ผ่านโลกเข้าใกล้โลกของเรา ในวันที่ 18 มกราคม ที่ผ่านมาด้วยความเร็วสูงถึง 61,956km/h เเละดูเหมือนว่า มันจะเเค่ผ่านเข้ามาใกล้เฉยๆ ยังไม่ได้ทำอันตราย ร้ายเเรงต่อโลกของเรา โดยดาวเคราะห์น้อย 2020 AN3 ถือเป็นหนึ่งใน วัตถุใกล้โลก หรือ Near-Earth objects (NEO) จาก 88 ชิ้น ที่มีการค้นพบนับตั้งแต่เริ่มปี 2020 เป็นต้นมา แต่เป็นดวงเดียวที่เข้าข่ายว่าอาจจะเป็นอันตรายได้ในอนาคต ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีของโลกเราที่ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ ไม่ได้ตกลงมาบนโลก เพราะถ้าหากมันเกิดขึ้นจริง ด้วยขนาดเเละความเร็วนั้นจะสามารถก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนเเรงต่อโลกของเราได้เเน่นอน นักดาราศาสตร์ต่างก็คอยเฝ้าสังเกตุการณ์ ถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก เพราะถ้าหากมันเข้ามาใกล้โลกหรือมีความเสี่ยงว่าจะพุ่งชนโลก จะได้สามารถป้องกันได้ทันเวลา

ถ้าใครชอบบทความสาระดีดีอย่างนี้ ก็อย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งช่อง eduHUB กันด้วยนะครับ