พบโลกใหม่ในกลุ่มดาวแม่น้ำ

จุดประสงค์หนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศคือการค้นหาดวงดาวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโลก และการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่คล้ายกับมนุษย์ ปลายปีผ่านมานี้เราเจอดาวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโลก แต่ก็ยังมีปัจจัยบางประการที่ทำให้ดาวดวงนั้นอาจจะยังไม่เหมาะต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
.

แต่ถึงอย่างไรก็ตามมนุษย์เราก็ยังคงตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้รู้ข่าวว่ามีการพบเจอดาวที่คล้ายคลึงกับโลกอีกครั้ง และครั้งนี้ได้พบดาวมีลักษณะคล้ายคลึงกับโลก อยู่ในบริเวณกลุ่มดาวแม่น้ำ ดาวดวงนี้จะเป็นอย่างไร และมันจะคล้ายโลกจนขนาดที่มนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หรือไม่ วันนี้พวกเรา eduHUB จะพาเพื่อนๆไปหาคำตอบกัน แต่ก่อนที่จะไปรับฟังเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนใจดี BEEclean แอพเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ 
.

ในจักรวาลมีกลุ่มดาวมากมายที่มนุษย์พยายามจำแนกออกมาตามลักษณะที่มันเกิดขึ้น กลุ่มดาวหนึ่งในท้องฟ้าที่มีขนาดใหญ่พอที่มนุษย์จะสามารถศึกษาและเฝ้ามองได้จากพื้นโลก คือกลุ่มดาวแม่น้ำ กลุ่มดาวแม่น้ำเป็นกลุ่มดาวขนาดใหญ่ โดยใหญ่เป็นขนาดที่ 6 ของกลุ่มดาวที่โลกเคยศึกษามาก่อน
.

กลุ่มดาวแม่น้ำนี้เองประกอบไปด้วยดาวฤกษ์น้อยใหญ่มากมาย กลุ่มดาวแม่น้ำมีลักษณะเหมือนแม่น้ำที่มีการทอดสายน้ำไหลยาวลงมาจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ โดยมีความยาวถึง 1,300 ปีแสง ระหว่างทางที่กลุ่มดาวแม่น้ำพาดผ่านก็จะมีกลุ่มดาวมากมายที่อยู่รายล้อมตามแนวยาวของกลุ่มดาวแม่น้ำ เช่น กลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาวกระต่ายป่า กลุ่มดาววัว กลุ่มดาวซีตัส และกลุ่มดาวอื่นๆอีกมากมาย
.

เมื่อในเร็วๆนี้นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้ศึกษาข้อมูลของดวงดาวจากดาวเทียมไกอาขององค์กรอวกาศยุโรป โดยพวกเราได้มุ่งที่จะศึกษาไปยังกลุ่มดาวปลาคู่ และกลุ่มดาวแม่น้ำ ซึ่งทั้งสองกลุ่มดาวนี้อยู่ในบริเวณที่ติดต่อกับกลุ่มดาวอื่นๆอีกทั้ง 14 กลุ่มดาว
.

จนต่อมาได้มีการศึกษาคล้ายๆกัน แต่เป็นการศึกษาที่ประเทศโคลัมเบีย โดยศึกษาจากดาวเทียมเทสส์ (TESS) ซึ่งได้ศึกษาคล้ายกับนักดาราศาสตร์จากเวียนนา แต่ในการศึกษาค้นพบในครั้งนี้นักดาราศาสตร์ได้พบข้อมูลที่น่าตื่นเต้น ตรงที่ว่า เขาพบว่าดวงดาวที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ดาวดวงที่มีอายุน้อยกว่า จะหมุนเร็วกว่าดาวที่ขนาดเท่ากันแต่อายุมากกว่า
.

นอกจากนี้พวกเขายังพบดวงดาวในกลุ่มดาวแม่น้ำที่มีลักษณะคล้ายโลกอีกด้วย โดยเขาพบดาวเคราะห์ที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ คล้ายๆกับที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยในระบบดาวฤกษ์นี้จะมีดาวเคราะห์ทั้งหมด 3 ดวง ดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงนี้มีขนาดใหญ่กว่าโลก และมีอายุน้อยกว่าโลก
.

ระบบดาวฤกษ์นี้มีดาวฤกษ์ที่ชื่อว่า TOI451 เป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีมวลร้อยละ 95 ของดวงอาทิตย์  แต่มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ TOI451 จะหมุนรอบตัวเองเป็นเวลา 5.1 วัน ดาวเคราะห์ที่อยู่ในระบบดาวฤกษ์นี้มีชื่อว่า TOI451b TOI451c และ TOI451d ดาวทั้ง 3 ดวงนี้โคจรรอบดาวฤกษ์ที่คล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์
.

นักดาราศาสตร์จึงคาดหวังว่าจะให้ดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงน่าจะมีดวงใดดวงหนึ่งที่คล้ายคลึงกับโลกมาก แต่เมื่อศึกษาแล้วจึงพบว่าดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงนี้มีอุณหภูมิที่สูงกว่าโลก และมีฝุ่น หิน ซึ่งอาจจะไม่เหมาะต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และบริเวณรอบๆของระบบดาวฤกษ์นี้ยังมีดาวฤกษ์ 2 ดวงที่โคจรรอบกันข้างๆด้วย
.

ซึ่งมันอาจจะดึงดูดพลังงานทำให้ระบบดาวฤกษ์นี้อาจไม่เสถียรหรือไม่คงทนเหมือนกับโลกของเราในระบบสุริยะก็เป็นไปได้ ดังนั้นการค้นพบดาวเคราะห์และระบบดาวฤกษ์ที่คล้ายคลึงกับระยยสุริยะนี้จากการศึกษาของนักดาราศาสตร์แล้วจึงยืนยันว่าก็ยังคงเป็นดาวเคราะห์ที่มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตยังไม่อาจจะดำรงชีวิตอยู่ได้ ก็คงต้องเป็นหน้าที่ของนักดาราศาสตร์ต่อไปที่จะต้องค้นหา และศึกษาหาดวงดาวที่มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้
.

สำหรับเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ ก่อนจากกันไปในวันนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก Chatbee แอพหาคนรู้ใจใกล้คุณ โหลดเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป