ในปัจจุบันนั้นเทคโนโลยีต่างๆ ได้มีการพัฒนาและทันสมัยเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างความสะดวกกับมนุษย์ หนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง คือการ โคลนนิ่ง ที่สามารถผลิตหรือเพิ่มจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตได้ตามความต้องการของมนุษย์
.
วันนี้พวกเรา eduHUB จึงจะพาเพื่อนๆไปรู้กับเรื่องราวของการทำโคลนนิ่งสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์อย่าง เฟอเรตเท้าดำ โดยใช้ เซลล์สัตว์ที่ตายไปแล้วเมื่อ 30 ปีก่อน และถูกแช่แข็งไว้ แต่ก่อนที่จะไปรับฟังเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนใจดี BEEclean แอปเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ
.
เมื่อพูดถึงการโคลนนิ่ง พวกเราก็จะเข้าใจกันดีว่ามันคือกระบวนการด้านพันธุกรรมที่สร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยจะเลียนแบบลักษณะพันธุกรรมเดิมของสิ่งมีชีวิตต้นแบบ อันที่จริงแล้วการโคลนนิ่งนั้นมีมานานแล้ว คือการทำโคลนนิ่งกับพืชนั่นเอง
.
หลังจากนั้นมีการทดลองทำโคลนนิ่งกับสัตว์ครั้งแรกในปี พ.ศ.2495 โดย ดร.ทอมัส คิง ได้ทำการโคลนนิ่งกบ นำไปสู่การวิจัยและพัฒนาต่อในปี พ.ศ.2540 โดยดร.เอียน วิลมุต ได้ทำการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างแกะเป็นตัวแรก และสร้างความฮือฮาเป็นอย่างมาก
.
ส่วนในประเทศไทยเองก็ได้มีการทดลองทำโคลนนิ่งเหมือนกัน ในปี พ.ศ. 2543 โดย ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ ซึ่งเริ่มทดลองตั้งแต่การถ่ายฝากตัวอ่อน การผสมเทียม การผลิตตัวอ่อนในหลอดแก้ว จนสามารถโคลนนิ่งวัวตัวแรก ตั้งชื่อว่า อิง เป็นลูกวัวสีดำ
.
ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2543 จากผลการทดลองที่ประสบผลสำเร็จมาขนาดนี้ ทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์เห็นถึงประโยขน์ที่จะนำเอาเทคโนโลยีการโคลนนิ่งมาใช้กับมนุษย์ เพื่อหวังจะให้ใช้สำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะทดแทน และช่วยทางด้านการแพทย์
.
แต่ถึงอย่างไรก็ตามความหวังนี้กลับถูกต่อต้านจากบุลคลหลายกลุ่มจากทั่วโลก เพราะถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ผิดจริยธรรม ทำให้การพัฒนาโคลนนิ่งค่อยๆซบเซาลงไปช่วงหนึ่ง และหลังจากนั้นไม่นานจีน ก็สามารถทำโคลนนิ่ง ลิงได้ ที่ชื่อว่า จงจง และ หัวหัว ทำให้เกิดเป็นกระแสอย่างมาก เนื่องจากลิงเป็นสัตว์ที่มีความคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด
.
ซึ่งพวกเขาหวังว่ามันจะเป็นผลดีต่อการวิจัยเกี่ยวกับโรคของมนุษย์ แต่ก็เช่นเคยที่ยังมีกลุ่มคนออกมาต่อต้านและยังคงไม่เห็นด้วยโดยมองว่าผิดต่อจริยธรรมและยังทารุณกรรมสัตว์อีกด้วย
.
และล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2020 ได้มีการทดลองโคลนนิ่งที่อาจเป็นประโยชน์มากที่สุดเท่าที่เคยมีการโคลนนิ่งมา นั่นก็คือ การโคลนนิ่ง เฟอเรตเท้าดำ ที่เป็นสัตว์กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ในแถบอเมริกาเหนือ เนื่องจากที่อยู่อาศัยถูกคุกคามอย่างหนัก และอาหารหลักของมันอย่าง แพรรี่ด๊อก ก็ลดจำนวนไปอย่างมาก เพราะถูกวางยาพิษเพื่อลดผบกระทบต่อพื้นที่ทำเกษตรกรรม
.
และก่อนหน้านี้เจ้าเฟอเรตเท้าดำเคยได้ถูกประกาศสูญพันธุ์ไปแล้วในปี 1979 หลังจากนั้น 2 ปี ได้มีการพบเห็นพวกมันอีกครั้ง จึงเกิดโครงการเพาะพันธุ์และปล่อยคืนสู่ป่าเพื่อหวังเพิ่มจำนวน
.
ซึ่งการทดลองทำโคลนนิ่งครั้งนี้ ได้ใช้เซลล์ของเฟอเรตที่ตายไปเมื่อปี 1988 หรือราวๆ 30 ปี ที่ถูกแช่แข็งไว้ และสามารถโคลนนิ่งออกมาเป็นเจ้าเฟอเรตเท้าดำที่มีชื่อว่า Elizabeth Ann เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2020 และอยู่ในการดูแลของ Fish and Wildlife Service ที่ศูนย์เพาะพันธุ์เฟอเรตเท้าดำในโคโลราโดทางตอนกลางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนี่อาจจะเป็นความหวังในการรักษาและคงอยู่สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์
.
และนี่ก็อาจจะเป็นคำตอบได้ว่าเทคโนโลยีการโคลนนิ่งนี้จะสร้างประโยชน์แก่มนุษย์ได้อย่างมากมายไม้เพียงแต่ช่วยในการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือการรักษาอย่างอื่นทางการแพทย์แล้ว ยังช่วยเพิ่มจำนวนของพืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์อีกด้วย
.
แต่ในอีกแง่หนึ่งก็อาจจะทำให้การพัฒนาของสายพันธุ์ที่ดีมีน้อยลง และบางสายพันธุ์อาจจะหยุดวิวัฒนาการไป ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการโคลนนิ่งอาจจะยังไม่เป็นที่ยอมรับมากเท่าไหร่ แต่นักวิทยาศาสตร์ยังคงหวังว่าจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีในการโคลนนิ่งนี้ไปสู่การโคลนนิ่งมนุษย์ได้ในที่สุดสำหรับเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ ก่อนจากกันไปในวันนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก Chatbee แอพหาคนรู้ใจใกล้คุณ โหลดเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป