รวม 5 เหตุการณ์การพบเจอสัญญาณจากมนุษย์ต่างดาว ในปี 2020

ผ่านกันไปแล้วกับอีก 1 ปีของ eduHUB หวังว่าเพื่อนจะเต็มอิ่มกับเรื่องราวทางดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมไปถึงสาระความรู้ต่างๆมากมาย ในปี 2020 ที่ผ่านมานั้น แม้ว่าเราจะเจอกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ทำเอาสั่นสะท้านไปในหลายๆวงการ ไม่เว้นแต่วงการด้านดาราศาสตร์และอวกาศ
.

จะเห็นได้ว่าข่าวสารด้านอวกาศปีที่แล้วนั้น เราจะพบข่าวการนำยานสำรวจขึ้นสู่ฟากฟ้าน้อยมาก นั่นก็เพราะวิกฤตจากโรคติดต่อนั่นเอง แต่ถึงอย่างไร นักดาราศาสตร์ของเราไม่ได้หยุดทำงาน พวกเขาต่างเฝ้ามองความเคลื่อนไหวจากห้วงอวกาศผ่านเครื่องมือต่างๆบนโลกและดาวเทียม
.

ซึ่งพวกเขาก็พบเรื่องราวประหลาดไม่น้อยเลยทีเดียว ที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่คาดว่าน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว วันนี้พวกเรา eduHUB จะพาเพื่อนๆไปย้อนดู  5 เหตุการณ์การพบเจอสัญญาณจากมนุษย์ต่างดาว ในปี 2020 มันจะมีอะไรกันบ้าง จะเป็นเรื่องที่เพื่อนๆเคยอ่านมาบ้างหรือเปล่า ไปชมกันเลย แต่ก่อนที่จะไปรับฟังเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนใจดี BEEclean แอปเรียกแม่บ้านสำหรับคุณ  
.

1.สัญญาณวิทยุประหลาดจากระบบดาวพร็อกซิมา เซนทอรี

เพิ่งได้ยินเรื่องราวนี้กันไปหมาดๆ เกี่ยวกับเรื่องราวการพบเจอสัญญาณวิทยาประหลาดที่ถูกส่งมาจากบริเวณระบบดาวฤกษ์พร็อกซิมา เซนทอรี เมื่ออยู่ๆ นักดาราศาสตร์ก็ได้พบสัญญาณที่พิสูจน์แล้วว่าไม่ใช่สัญญาณรบกวนจากวัตถุทางอวกาศ ยานอวกาศ หรือดาวเทียม ที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่มันเป็นสัญญาณวิทยุที่ถูกส่งมาจากระบบดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับระบบสุริยะของเรา
.

มันจะไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นเท่าไรถ้าหากระบบดาวฤกษ์นั้นไม่ใช่ระบบดาวฤกษ์พร็อกซิมา เซนทอรี เพราะว่าระบบดาวฤกษ์พร็อกซิมา เซนทอรี มีดาวเคราะห์บริวารอยู่ดวงหนึ่งที่น่าสนใจ ชื่อว่า พร็อกซิมา บี เป็นดาวเคราะห์หินที่มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
.

ดังนั้นแน่นอนว่านักดาราศาสตร์ต่างให้ความสนใจเป็นพิเศษว่ามันจะเป็นสัญญาณจากมนุษย์ต่างดาวหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามสัญญาณนี้เพิ่งพบมาหมาดๆเมื่อปลายปี 2020 ที่ผ่านมา จึงยังไม่มีการพิสูจน์ซ้ำหรือการหาคำตอบได้อย่างชัดเจน แต่แน่นอนว่า นี่คือภารกิจหนึ่งของนักดาราศาสตร์ที่จะค้นคว้าหาความจริง และเตรียมรอฟังสัญญาณวิทยุนี้อย่างใจจดใจจ่ออีกครั้ง
.

2.อาจมีสิ่งมีชีวิตจากต่างดาวในกาแล็กซีทางช้างเผือกถึง 36 ดวง

ในปีที่แล้วนั้นได้มีนักดาราศาสตร์ที่พยายามคำนวณจำนวนดาวเคราะห์ที่มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ในระบบดาวฤกษ์ต่างๆของกาแล็กซีทางช้างเผือก โดยพวกเขาได้ใช้ระยะเวลาการกำเนิดดาวเคราะห์ที่มีการกำเนิดในช่วงระยะเวลาที่เหมือนกับโลกของเรา ซึ่งนั่นก็คือราวๆ 5 พันล้านปีก่อน
.

ภายในกาแล็กซีทางช้างเผือก ด้วยหลักการที่ว่า ดาวที่มีลักษณะที่คล้ายกับโลกก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตที่คล้ายกับโลก อย่างเช่นมนุษย์ เมื่อเขาได้ทำการคำนวณก็พบว่าภายในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรามีดาวเคราะห์ถึง 36 ดวงที่มีลักษณะการกำเนิดคล้ายกับโลก แต่ดาวเหล่านั้นอยู่ห่างจากโลกของเราถึง 17,000 ปีแสง ซึ่งนับว่าเป็นระยะทางที่ไกลมากๆ ไกลเกินกว่าที่เทคโนโลยีของเราจะสามารถไปสำรวจได้ มันจึงอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เรายังไม่เจอสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาซักที
.

3.อาจมีสิ่งมีชีวิตบนดาวศุกร์

นับว่าเป็นข่าวที่ฮือฮาและทั่วโลกให้ความสนใจเป็นจำนวนมากกับการค้นพบร่องรอยของการมีสิ่งมีชีวิตบนดาวศุกร์ แน่นอนว่าหากใครได้ติดตามจะรู้ว่าปีที่แล้ว นาซ่าได้ออกมาแถลงข่าวถึงการพบก๊าซฟอสฟีน ที่เป็นก๊าซที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตบนดาวศุกร์ โดยพวกเขาได้พบก๊าซชนิดนี้บนชั้นบรรยากาศที่ความสูง 50 กิโลเมตร นับจากพื้นดินของดาวศุกร์
.

ซึ่งนั่นเองทำให้ตอกย้ำข้อมูลในอดีตที่เคยกล่าวว่า ดาวศุกร์เมื่อก่อนนั้นอาจมีสภาพเหมือนกับโลกของเรา และแน่นอนว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตมาก่อน จนกระทั่งเกิดภาวะเรือนกระจกที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น จนทำให้ดาวศุกร์มีสภาพที่เหมือนปัจจุบัน ในการค้นพบก๊าซฟอสฟีนบนชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ครั้งนี้ มันมีความเข้มข้นถึง 20 ต่อ พันล้านส่วนของชั้นบรรยากาศ จึงทำให้นักดาราศาสตร์วิเคราะห์ว่า สิ่งมีชีวิตที่อยู่บนดาวศุกร์ตอนนี้นั้น น่าจะเป็นพวกจุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ 
.

4.สิ่งมีชีวิตจากต่างดาวอาจอาศัยอยู่ใกล้หลุมดำ

อีกหนึ่งเรื่องราวการหาข้อมูลเพิ่มเติมของนักดาราศาสตร์ที่ทำให้เราทราบว่า ดาวที่เป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต ไม่จำเป็นต้องอยู่ในระบบดาวฤกษ์เหมือนระบบสุริยะ แต่มันสามารถอยู่ในบริเวณที่ใกล้ๆหลุมดำได้ เพราะว่านักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีแนวคิดว่า หลุมดำที่อยู่ใจกลางกลุ่มดาราจักรต่างๆนั้นก็สามารถกำเนิดสิ่งมีชีวิตได้
.

ดังนั้นเมื่อดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ใกล้ๆหลุมดำนั้น จะไม่โดนรังสีมาทำลายชั้นบรรยากาศ และพลังงานจากหลุมดำนั้นยังสามารถทำให้โมเลกุลที่เป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตสามารถรวมตัวกันได้กลายเป็นสารประกอบหรือสิ่งมีชีวิตขึ้นมา
.

5.เป็นไปได้ที่มนุษย์ต่างดาวจะหายใจโดยใช้ไฮโดรเจน

นับว่าเป็นระยะเวลาหลายปีที่นักดาราศาสตร์เฝ้ามองและค้นหาดาวเคราะห์ที่มีออกซิเจนอยู่ในบรรยากาศ เพราะเขาเชื่อว่า ออกซิเจน คือส่วนประกอบหลักของการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต แต่ก็ต้องกลับมาคิดทบทวนใหม่อีกครั้ง
.

เมื่อปีที่ผ่านมานักชีวดาราศาสตร์จากสถาบัน MIT ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบว่า มีสิ่งมีชีวิตบางจำพวกอย่างเช่น จุลินทรีย์อีโคไล ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมจำลองที่มีแต่ก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซฮีเลียม ซึ่งนับว่าเป็นสภาะที่ไร้ออกซิเจน แต่สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
.

ดังนั้น พวกเขาจึงเริ่มได้แนวคิดใหม่ที่ว่า แท้จริงแล้วมนุษย์ต่างดาวหรือสิ่งมีชีวิตต่างดาว อาจไม่ได้หายใจได้ใช้ออกซิเจนเสมอไป และสิ่งมีชีวิตจากต่างดาวอาจอยู่ในดวงดาวดวงไหนซักดวงที่เราไม่เคยให้ความสำคัญ และมองข้ามมันไปเพียงเพราะว่ามันไม่มีออกซิเจน แล้วเพื่อนๆละคะ คิดว่าดาวดวงไหน น่าจะมีสิ่งมีชีวิตบ้าง
.

และนี่ก็คือเรื่องราวการค้นพบของนักดาราศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว ในปี 2020 ถึงแม้ว่าปีที่ผ่านมา เราจะไม่ได้มีโครงการที่ทะยานขึ้นฟ้าไปสำรวจห้วงอวกาศกันมากนัก แต่นักดาราศาสตร์ของแต่ละประเทศก็ยังไม่หยุดพัฒนาและยังไม่หยุดการสำรวจ ทั้ง 5 เรื่องราวที่เล่ามานี้เพื่อนๆชอบหรือประทับใจเรื่องไหนบ้าง อย่าลืมมาคอมเมนต์พูดคุยกันนะคะ สำหรับเรื่องราวสนุกๆในวันนี้ ก็มีเพียงเท่านี้ ก่อนจะจากกันไป ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก Chatbee แอพหาคนรู้ใจใกล้คุณ โหลดเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป