รุ้งไร้สี

เมื่อพูดถึง “สายรุ้ง” แล้ว เพื่อนๆ ก็มักจะนึกถึงภาพของเส้นสี 7 สี ทั้งม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ทั้งพาดผ่านเป็นเส้นโค้งข้ามท้องฟ้าใช่มั้ยคะ
.

แต่เมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบรุ้งประหลาดที่แตกต่างจากรุ้งที่เราเคยเห็นกันทั่วไปด้วยนะ เพราะรุ้งอันนี้มันเป็น “รุ้งสีขาว” หรือ “รุ้งไร้สี” นั่นเอง! แต่มันเป็นไปได้ยังไง และรุ้งไร้สีมันเกิดจากอะไร เราจะพาเพื่อนๆ ไปหาคำตอบกันค่ะ
.

ภาพปรากฏการณ์สุดแปลกที่เพื่อนๆ เห็นกันอยู่นี้ถูกถ่ายไว้โดย เมลวิน นิโคลสัน (Melvin Nicholson) ช่างภาพมากฝีมือจากเมืองเพรสตัน (Preston) เขตแลงคาเชียร์ (Lancashire) ประเทศอังกฤษ
.

โดยเขาได้ถ่ายภาพนี้ได้ที่ทุ่งแรนนอค (Rannoch) ประเทศสกอตแลนด์ แล้วเมื่อภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปบนโลกออนไลน์ มันก็สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้คนเป็นจำนวนมาก
.

ปรากฏการณ์นี้เป็นที่รู้จักในหลายชื่อ บางคนก็เรียกมันว่ารุ้งไร้สี บางคนก็เรียกมันว่าเป็นรุ้งสีขาว แต่อันที่จริงแล้วชื่ออย่างเป็นทางการของมันคือ “รุ้งหมอก” หรือ “Fogbow” ที่เป็นการผสมคำระหว่างคำว่า หมอก (Fog) และสายรุ้ง (Rainbow) นั่นเอง
.

และเช่นเดียวกับสายรุ้งทั่วไป รุ้งหมอกเองก็เกิดจากการสะท้อนของแสงอาทิตย์ที่ไปตกกระทบกับละอองน้ำในอากศเช่นเดียวกัน แต่ละอองน้ำที่ว่านั้นต้องเป็นละอองน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า 0.05 มิลลิเมตรเท่านั้นจึงจะทำให้เกิดรุ้งหมอกได้ เพราะถ้าไอน้ำมีขนาดใหญ่กว่านี้มันจะกลายเป็นรุ้งกินน้ำแบบปกติแทน
.

นอกจากนี้ตำแหน่งของแสงและคนที่ยืนดูรุ้งเองก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้มองเห็นรุ้งหมอก โดยด้านหน้าของคนที่ยืนดูรุ้งจะต้องเป็นหมอก (หรือเมฆที่มีละอองน้ำขนาดเล็กอย่างที่เรากล่าวไปข้างต้น)
.

ส่วนด้านหลังก็ต้องมีแสง แล้วคนที่ยืนดูรุ้งจะต้องก้มหน้าลงมองเท่านั้น หรือก็คือต้องยืนอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าหมอกและแหล่งกำเนิดแสง (ยากแท้) ดังนั้นถ้าหากว่าพระอาทิตย์อยู่ต่ำ อย่างช่วงพระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก จะทำให้เรามีโอกาสมองเห็นรุ้งหมอกได้มากกว่าช่วงเวลาอื่นๆ นะคะ
.

ส่วนสาเหตุที่รุ้งหมอกไม่มีสีเหมือนรุ้งกินน้ำทั่วไปนั้นก็เป็นเพราะว่าละอองน้ำที่แสงมาตกกระทบมันมีขนาดเล็กมาก ทำให้แสงสะท้อนออกมาไม่ชัด เราจึงมองไม่เห็นสีและเห็นเป็นรุ้งสีขาวไปแทน
.

ซึ่งถ้าหากเราโชคดี วันนั้นเป็นวันที่มีละอองน้ำในอากาศสม่ำเสมอ เราอาจมีโอกาสได้เห็นรุ้งหมอกเป็นวงซ้อนกันหลายชั้นด้วย แต่วงรุ้งที่อยู่ด้านนอกจะมีสีเข้มกว่าวงรุ้งด้านใน นั่นคือรุ้งวงนอกอาจจะออกเป็นสีแดง ในขณะที่วงรุ้งด้านในมีโอกาสเป็นสีโทนน้ำเงินค่ะ
.

ถ้าเพื่อนๆ คนไหนมีโอกาสได้เห็นหรือถ่ายภาพปรากฏการณ์รุ้งไร้หมอกสุดหายากแบบนี้เอาได้ก็อย่าลืมเอามาแบ่งปันกันที่ใต้คอมเม้นต์นี้ได้เลยนะคะ และถ้าหากใครชื่นชอบบทความสาระดีดีอย่างนี้ ก็อย่าลืมกดไลก์และติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจ eduHUB ไว้ เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความและคลิปใหม่ๆ ของพวกเราด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
.

สนับสนุนโดย BEEclean แอปเรียกแม่บ้าน สำหรับคุณ ดาวโหลดได้แล้ววันนี้ ทั้ง ios เเละ android